ห้องสมุด สาระความรู้

สาระความรู้ ด้านเทคโนโลยี-ศิลปวัฒนธรรม-วันสำคัญต่างๆ

นักประพันธ์-johann-sebastian-bach

[box type=”note”]วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของนักประพันธ์ เพราะเป็น “วันกวีนิพนธ์สากล” และผู้ที่มีบทบาทสำคัญทำให้เกิดวันนี้ขึ้น ก็คือ   โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) นักประพันธ์ชื่อดัง และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก[/box] โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น “แพชชั่น” บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และ เบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน […]

วันกวีนิพนธ์สากล 21 มีนาคม Read More »

อาสาสมัครสาธารณสุข

[box type=”note”]อาสาสมัครสาธารณสุข คือ บุคคลที่สมัครใจจะทำงานเพื่อสังคมโดยส่วนรวมในด้านการพัฒนาสุขภาพ ตามแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข  โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน [/box] การสาธารณสุขมูลฐาน หมายถึง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นซึ่งจัดให้อย่างทั่วถึงสำหรับทุกคนและทุกครอบครัวในชุมชน โดยการยอมรับและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของทุกคนด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินกำลังของชุมชนและประเทศจะรับได้ โดยการผสมผสานของระบบบริการสาธารณสุขและระบบการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศไปด้วยกัน (ไพจิตร  ปวะบุตร, 2537) อาสาสมัครสาธารณสุข มีชื่อย่อว่า “อสม.” จำแนกเป็น 4 ประเภท (Guru Snook, 2556) ได้แก่ [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ภูมิภาค หมายความว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง รวมถึงเมืองพัทยา เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร หมายความว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เรียกว่า อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร (อสส.) [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุข ของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ผ่านการอบรมตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (อสม.กฟผ.) และอาสาสมัครสาธารณสุขขนส่งมวลชน (อสม.ขสมก) ฯลฯ

วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ Read More »

วันสิทธิผู้บริโภคสากล-World Consumer Rights Day

15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day  โดยสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 220 องค์กร ใน 115 ประเทศทั่วโลก วันสิทธิผู้บริโภคสากล และความสำคัญ วันสิทธิผู้บริโภคสากล หรือ World Consumer Rights Day ตรงกับวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลก ประวัติความเป็นมา วันสิทธิผู้บริโภคสากลเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เป็นผู้บัญญัติวันสำคัญสากลนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า Consumer Right Day โดยได้รับการรับรองจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ทว่ามาเริ่มจัดกิจกรรมและรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักวันนี้จริง ๆ ก็เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ปี ค.ศ.

วันสิทธิผู้บริโภคสากล Word consumer rights day Read More »

วันช้างไทย-elephant day

[box type=”note”]คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย [/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติของวันช้างไทย[/quote] วันช้างไทยเกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ  มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม  จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

วันช้างไทย Elephant Day Read More »

International Women Day

วันสตรีสากล International Women’s Day  เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (International Working Women’s Day) ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้าง ที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐) และมีการชุมนุมประท้วงอีกในวันเดียว กันในปี ค.ศ.๑๙๐๗ และ ค.ศ. ๑๙๐๘ ต่อมาในวันเดียวกันในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ ตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ และประกาศให้วันที่ ๘ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสตรีสากล” [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา ของ “วันสตรีสากล”[/quote] เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง ๑๑๙ คน ต้องเสียชีวิต  จากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๘

๘ มีนาคม วันสตรีสากล International Women’s Day Read More »

World Kidney day-วันไตโลก

[box type=”note”]วันไตโลก World Kidney day ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี  ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดการตระหนักถึงสุขภาพไต และในปี พ.ศ. 2561 นี้วันไตโลกตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็น วันสตรีสากล ด้วย กิจกรรมวันไตโลกในปี 2561 จึงเน้นการรณรงค์สุขภาพไตในสตรี  ภายใต้  คำขวัญเก๋ ๆ ว่า  สตรีไทย “ไต” Strong[/box] ไต  คือ  อวัยวะสำหรับขับถ่ายสิ่งที่เป็นสารละลายออกจากร่างกาย มี 2 อัน รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังตอนบั้นเอว มีเบาะไขมันเป็นส่วนป้องกัน หลอดไตทั้งสองจะต่อไปที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีท่อปัสสาวะ นำปัสสาวะออกจากร่างกาย (อุทัย สินธุสาร, 2531, น.1603) [quote arrow=”yes”]“โรคไต”[/quote] โรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ  จึงส่งผลให้เกิดของเสีย และ/หรือ สารอาหาร

วันไตโลก World Kidney day Read More »

วันนักข่าว

[box type=”note”]วันนักข่าว การประชุมก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย มีขึ้นที่ศาลานเรศวร สวนลุมพินี วันที่ 5 มีนาคม 2498[/box] ในจุลศักราช 1227 นำความรู้จากซีกโลกตะวันตกมาเผยแพร่ในสยามยุคปลายรัชกาลที่ 3   เป็นจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยาม  และยังเป็นรากฐานงานสื่อสารมวลชนในไทย  โดยเริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงดำริให้ตีพิมพ์ประกาศหลายฉบับสื่อสารกับประชาชน เช่น “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าวิตก”  ให้ข้อเท็จจริงชี้ให้ประชาชนเห็นว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของสื่อสารมวลชนในไทย  เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4  ขณะที่ตอนนั้นสื่อมวลชน  ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และมีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์สำคัญของโลก  การทำหน้าที่ตีแผ่เรื่องราวทำให้สื่อมวลชนกลายเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนสังคม  จากคนนำสาส์นจึงได้รับการขนานนามว่า “ฐานันดรที่ 4” คำๆ นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลก [box type=”note”]”ฐานันดรที่ 4″  หมายถึง นักหนังสือพิมพ์ แต่ใน ปัจจุบัน หมายถึง สื่อโทรทัศน์  วิทยุรวมเป็นสื่อสารมวลชน เข้ามาแทนที่ (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ม.ป.ป., Thai PBS, 2559)[/box] การออกสื่อสมัยนั้นเหมือนการเล่าข่าว คนไทยยังรู้หนังสือไม่มาก มีผู้รู้ไปเล่าต่อ ยังไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นหลักฐานแท้จริง จนมาถึงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 มีเจ้านายออกหนังสือมากขึ้น ก็เป็นที่นิยมอ่าน

วันนักข่าว Read More »

World Wildlife Day-วันคุ้มครองสัตว์ป่า พันธุ์พืช

3 มีนาคม เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ซึ่งแปลมาจากชื่อภาษาอังกฤษ World Wildlife Day กำหนดขึ้นโดยมติที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 หรือ CITES CoP16  ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 3-14 มีนาคม 2556 เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการกำเนิดอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมจึงเสนอขอความเห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 3 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันที่มีการลงนามรับรองอนุสัญญา CITES ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก โดยที่ประชุม CITES CoP16 ได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 68 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรองและประกาศให้วันที่ 3

3 มีนาคม วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก Read More »

วันมาฆบูชา-Makha Bucha Day

[box type=”note”] วันมาฆบูชา Makha Bucha Day เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 สำหรับในปี 2561 นี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม   เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฎิโมกข์ และพระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย[/box] [quote arrow=”yes”]ความหมาย “วันมาฆบูชา”[/quote] มาฆบูชา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง การทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน 3 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ 4 ประการ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น. 901) วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) พระสงฆ์ 1,250 รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก จาตุรงคสันนิบาต จึงหมายความว่า “การประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ” (ราชบัณฑิตยสถาน,

วันมาฆบูชา Makha Bucha Day Read More »

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย

[box type=”note”] “การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะออมทรัพย์ไว้ได้มากหรือน้อยนั้น  ก็ย่อมจะต่างกันตามกำลังทรัพย์กำลังปัญญาของตน  แต่ทุกๆ คนต้องเข้าใจว่า  ถึงจะออมทรัพย์ได้ที่ละเล็กละน้อยก็เป็นประโยชน์แก่ตนและบ้านเมืองทั้งนั้น” พระราชดำรัส พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ [/box] วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สืบเนื่องมาจากสหกรณ์ในประเทศต่างๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ “สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้” ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์(พระองค์แรก) รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมพ.ศ. 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

26 กุมภาพันธ์ วันสหกรณ์แห่งชาติ Read More »

วันวิทยุกระจายเสียง

[quote arrow=”yes”]ที่มาของ คำว่า “วิทยุกระจายเสียง”[/quote] คำว่า “วิทยุกระจายเสียง” นี้เดิมทีเดียว เรายังไม่มีคำใช้เรียกกันเป็นภาษาไทย  จอมพลเรือ กรมพินิจพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงใช้วิธีเรียกทับศัพท์ “Radio Telegraph” ว่า “ราดิโอโทรเลข” ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงบัญญัติใช้คำว่า “วิทยุ” แทนคำว่า “ราดิโอ” ต่อมาราชบัณฑิตยสสถาน จึงได้ให้ใช้คำเต็ม เป็นทางการ “วิทยุกระจายเสียง” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Radio Broadcasting นั่นเอง (จุฑารัตน์  โสดาศรี, ม.ป.ป) วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 อันเป็นรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพอสรุปประวัติโดยย่อดังนี้ (บุญเกื้อ  ควรหาวช, 2545, วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี, ม.ป.ป.) พ.ศ. 2447 เมื่อห้าง บี.กริม ซึ่งเป็นผู้แทนวิทยุและโทรทัศน์เยอรมัน ชื่อ เทเลฟุงเกน ได้นำเครื่องวิทยุโทรเลข เข้ามาตั้งเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขมาสองชุด โดยทดลองในกรุงเทพฯ และเกาะสีชัง หลังจากนั้นทางราชการกองทัพเรือ และกองทัพบกจึงได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขขนาดเล็ก มาใช้ราชการในเรือรบและในงานสนาม ในปี

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ Read More »