ห้องสมุด สาระความรู้

สาระความรู้ ด้านเทคโนโลยี-ศิลปวัฒนธรรม-วันสำคัญต่างๆ

วันศิลปินแห่งชาติ

[box type=”note” ]  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์  เพื่อแสดงความระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  จึงได้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ[/box] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง[divide icon=”circle” width=”medium”] ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ บทละครนอก 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย [divide icon=”circle” width=”medium”] ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม  ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม  และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน [quote […]

วันศิลปินแห่งชาติ Read More »

wordcamp bangkok 2018

WordCamp Bangkok 2018 รอบ Conference Day จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ มหาวิทยาลัยสยาม ตึก 19 โดยในปีนี้มีผู้เข้าลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากกว่า 500 คน งานในปีนี้มีการแบ่งออกเป็น 2 วัน ชื่องาน Contributor Day และ Conference Dayโดยในครั้งนี้ห้องสมุดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน ในงาน Conference Day ภายในงานแบ่งเป็น 3 Track  เปิดเวทีคู่ขนานกันไป เริ่มเวลาประมาณ 09.00 น.โดยแต่ละห้องจะมีหัวข้อการสัมนาแตกต่างกันไป ผู้เข้าร่วมงานต้องเลือกเข้าฟังกิจกรรมที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#0066cc” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]รอบเช้า Track 1[/quote] แนวทางการสร้าง Thought Leadership ให้กับแบรนด์ผ่านการเขียน Blog by Jakrapong Kongmalai

งาน WordCamp Bangkok 2018 มหาวิทยาลัยสยาม Read More »

วันตรุษจีน Chinese New Year

[box type=”note”] “ซินเจีย อยู่อี่ ซินนี่ ฮวดใช้” วันตรุษจีน Chinese New Year เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน สำหรับในปี 2561 นี้ วันตรุษจีน ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์   ถือเป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” ในประเทศไทยคนไทยเชื้อสายจีนก็จะเตรียมของไหว้บรรพบุรุษ เป็นวันรวมตัวของญาติๆ ที่จะได้มาพบปะกันด้วย[/box] [quote arrow=”yes”]ที่มาของ วันตรุษจีน (Chinese New Year) [/quote] เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย คือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า “ซุ่ย” มีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ ต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า “เหนียน” หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ และยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันชุงเจ๋” ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้น ตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

วันตรุษจีน Chinese New Year Read More »

Valentine's Day-วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก

[quote arrow=”yes”]ประวัติ วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day)[/quote] ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์ เราคงจะได้รับฟังต่อๆ กันมาว่ามีที่มาจากประวัติของ เซนต์วาเลนไทน์ (Saint Valentine) นักบวช ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าสุดท้ายแล้วชีวิตของเขาจะต้องจบลงด้วยการถูกโทษประหาร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือประมาณหนึ่งพันเจ็ดร้อยกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในยุคนัั้นอยู่ในช่วงของจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ศาสนาคริสต์ยังไม่ปรากฎเป็นที่ยอมรับ และถูกบดขยี้โดยผู้ที่มีอำนาจในยุคนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลากหลายประวัติที่หลายคนก็ยังไม่เคยรู้ สำหรับอีกประวัติที่เป็นที่มาของเทศกาลวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ถูกปฎิเสธโดยคริสตจักรนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อน โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเรียกว่าเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ “Juno Februata” ซึ่งเป็นเทพธิดาองค์หนึ่งในเหล่าทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโรมันบูชาและนับถือ ชาวโรมันรู้เชิดชูเทพธิดาองค์นี้ในฐานะของเทพธิดาแห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก

Valentine’s Day-วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก Read More »

รักนกเงือก-มรดกโลก-hornbill day

วันรักนกเงือก ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี “นกเงือก” (Hornbill) เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งแทนคำว่า “รักแท้” เพราะนกเงือกจะมีลักษณะการครองคู่แบบ “รักเดียว ใจเดียว” หรือ “แบบผัวเดียวเมียเดียว”จนแก่จนเฒ่า หรืออยู่ครองคู่กันจนตายจากกัน ตัวผู้จะมีลักษณะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ขยันและซื่อสัตย์ คอยดูแลหาอาหารปกป้องครอบครัวให้ปลอดภัย หากตัวผู้ต้องถูกฆ่าตาย นกเงือกตัวเมียและลูกจะรออยู่ในรัง และรอตลอดไปจนกว่าจะตายตามไปด้วย นี่คือสัญชาตญาณอันน่าทึ่งของนกเงือก [quote arrow=”yes”]ความสำคัญของนกเงือกต่อระบบนิเวศ[/quote] เนื่องจากอาหารของนกเงือกก็คือเมล็ดพืชหลากหลายชนิด จำนวนมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งนกชนิดอื่นๆ ไม่สามารถทำได้เช่นนี้ และจากพฤติกรรมที่บินออกหากินในระยะทางไกล รวมเข้ากับความสามารถในการกินเมล็ดพืชที่หลากหลายสายพันธุ์นี้เองทำให้ พืชพรรณต่างๆ สามารถกระจายเมล็ดพืชที่ถ่ายออกมาพร้อมกับมูลของนกเงือก แพร่กระจายไปในพื้นที่ถิ่นต่างๆ ทั่วผืนป่าได้ เช่น นกเงือกกรามช้างปากเรียบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจะบินไปหาคู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา 2,000 กว่ากิโลเมตร ช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนจะกลับมายังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ระหว่างทางบินก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยงความหลากหลายของป่าด้วยการทิ้งมูลเมล็ดพันธุ์ไม้ นกเงือกแต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ ซึ่งนกเงือกมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี หมายความว่า หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง500,000 ต้น อาจกล่าวเปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากบรรพบุรุษของช้างเป็นผู้ที่สร้างแม่น้ำ บรรพบุรุษของนกเงือกก็คือผู้ที่สร้างผืนป่านั่นเอง [divide style=”dots”

วันรักนกเงือก Read More »

อาสารักษาดินแดน-รัชกาลที่ 6-วชิราวุธ-ห้องสมุด-มหาวิทยาลัยสยาม

[quote arrow=”yes”]วันอาสารักษาดินแดน Volunteering Day[/quote] เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 ได้มีการออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวัน 10 กุมภาพันธ์ จึงได้มีการกำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี [quote arrow=”yes”]ประวัติวันอาสารักษาดินแดน[/quote]          ความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรม และจัดตั้งหน่วยบังคับบัญชาเตรียมไว้ตั้งแต่เวลาปกติ  เป็นหน้าที่ของประชาชนพลเมืองทุกคน ที่จะต้องร่วมมือช่วยเหลือและจะต้องได้รับการศึกษาอบรมเพื่อให้มีความรู้ในการที่จะป้องกันตนเองและประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นการป้องกันประเทศชาติในสถานการณ์สงครามปัจจุบัน  กองอาสารักษาดินแดน (อส.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งวันอาสารักษาดินแดน 10 กุมภาพันธ์ เกิดขึ้นจากการก่อตั้ง ของชาวบ้านซึ่งไม่ใช่กำลังทหารที่มักออกมารวมตัวกันต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินในยามเกิดศึกสงคราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 จาก เพื่อให้เป็นกองพลอาสาสมัคร และอบรมข้าราชการ ประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ ซึ่งในสมัยก่อน มีประเทศไทยต้องเจอกับเหล่าศัตรู และการสงครามมาอย่างยาวนาน ทำให้ประชาชนผู้รักชาติ และแผ่นดิน ยอมพลีกาย

วันอาสารักษาดินแดน 10 กุมภาพันธ์ Read More »

วันมะเร็งโลก-world cancer day-ห้องสมุด มหาวิทยาลัยสยาม

[quote arrow=”yes”]วันมะเร็งโลก World Cancer Day[/quote] ปัจจุบันนี้ ประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งมากขึ้นและถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรทำความรู้จักเนื่องจากในแต่ละปีมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง รวมถึงรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเอง โดยในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day)  หลังจากพบว่ามะเร็งคือแชมป์อันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปถึงปีละ 8,200,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีคนอายุระหว่าง 30-69 ปี ถึง 4 ล้านคนที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สะท้อนถึงแนวโน้มการเกิดโรคมากขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงาน อันสืบเนื่องมาจากวิถีการดำเนินชีวิตยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต การรณรงค์ให้ประชาชนทั่วทั้งโลกได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็ง และสร้างความร่วมมื่อเพื่อบรรเทาปัญหาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันหลายสิบปี โดยจากข้อมูลล่าสุดพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ถึงปีละกว่า 67,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยราว 120,000 คนต่อปี  นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปกติผู้คนที่รับทราบข่าวสารมักจะได้ยินข่าวพบเพศหญิงป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากกว่าเพศชาย แต่จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งอังกฤษเผยผลการศึกษาอัตราการเสียชีิวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ถึง 70% โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชายคือ  มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด

วันมะเร็งโลก Read More »

Thai Veterans Day-วันทหารผ่านศึก-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

[quote arrow=”yes”] วันทหารผ่านศึก The Thai Veterans Day เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารผ่านศึก อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก [/quote] [quote arrow=”yes”]ประวัติ[/quote] วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day)  ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี  เนื่องจากหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือหลัง สงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดประจำการ จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ทหารเหล่านั้น ในปี พ.ศ.2490 กระทรวงกลาโหมอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง จึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่ กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ  ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก ในปี พ.ศ.2510 องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2538

วันทหารผ่านศึก The Thai Veterans Day Read More »

เกษตรแห่งชาติ-เกษตรแฟร์-2 กุมภาพันธ์

[quote arrow=”yes”] วันเกษตรแห่งชาติ  National Agriculture Day [/quote]   การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายจากพืช สัตว์ ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตร นำไปประกอบอาหารรับประทาน สร้างความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย นำส่วนต่าง ๆ ของพืชเส้นใยไปผลิตสิ่งทอหรือใช้หนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม ปลูกป่าเพื่อนำไม้ไปเป็นอุปกรณ์การก่อสร้าง สร้างที่พักอาศัย อาคารสถานที่ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่าง ๆ และปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ (Kru OR’s Class, ม.ป.ป.)   วันที่ 2 กุมภาพันธ์ วันเกษตรแห่งชาติ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ วันเกษตรแห่งชาติ     ประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม ทำให้มีข้าว และพืชผักสวนครัวมากมายพอที่จะขายในประเทศ และส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย แต่เป็นเพราะมีสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรมากมาย จึงทำให้มีการจัดงานวันเกษตรขึ้นมา ซึ่งในช่วง

2 กุมภาพันธ์ วันเกษตรแห่งชาติ Read More »

วันนักประดิษฐ์-Inverters day-กังหันน้ำชัยพัฒนา-ในหลวงร9

[quote arrow=”yes”]วันนักประดิษฐ์ Inventor’s day[/quote] เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา และได้รับสิทธิบัตรทางปัญญาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้กังหันน้ำชัยพัฒนายังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ศิริวรรณ  คุ้มโห้, 2546) ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาเป็นเวลานาน ทำให้น้ำมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก แต่ในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามจะพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม จึงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย มีการนำทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิตเป็นผลให้มีปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมเริ่มส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหามลพิษของน้ำที่ทำให้แหล่งน้ำต่าง ๆ ของประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมหรือการเน่าเสียจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามจะใช้มาตรการต่าง ๆ มาควบคุมเพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการเน่าเสียของแหล่งน้ำ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำหรือการเกิดเน่าเสียของแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมากและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น เพราะประชาชนขาดแหล่งน้ำที่สะอาดไว้ใช้อุปโภคบริโภค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความเดือดร้อนดังกล่าว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเน่าเสียในหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด พร้อมทั้งได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยในระยะแรกในช่วง พ.ศ.2527 – 2530 ได้ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียและวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาและพืชน้ำต่าง ๆ ซึ่งก็สามารถลดการเน่าเสียของน้ำได้ระดับหนึ่ง ต่อมาในช่วง พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพการเน่าเสียของน้ำมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเน่าเสียของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในวันที่ 24

วันนักประดิษฐ์ Inventor’s day Read More »

360°-ห้องสมุดมารวย มหาวิทยาลัยสยาม ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

  [ipano id=”1″] [ipanorama id=”10617″ width=”100%” height=”500px”] 360° ห้องสมุดสำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม [ipanorama id=”10608″ width=”100%” height=”500px”] 360° ห้องสมุดมารวย มหาวิทยาลัยสยาม

360° ห้องสมุด มหาวิทยาลัยสยาม Read More »

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม ของทุกปี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระ [quote arrow=”yes”]ปรีชาสามารถที่ได้ทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทย[/quote]   นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ และทรงพระปรีชาสามารถสมควรเทิดทูนพระเกียรติเป็นพระมหาราชมาทุกยุคทุกสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยสุโขทัยนั้น ประชาชนชาวไทยแทบทุกคนจะรู้จักพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่สมควรเทิดพระเกียรติให้เป็นพระมาหาราชโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทางเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 ของกรุงสุโขทัย ที่ได้ทรงปกครองและจรรโลงประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในสมัยสุโขทัย จะเทียบเทียมได้ 17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   [quote arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote] พ่อขุนรามคำแหง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในพระราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ.1822 ถึงประมาณ พ.ศ.1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการย่อย่องเป็น “มหาราช” เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทย ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย หรืออีกพระนามที่ไม่ค่อยมีใครทราบ คือ พ่อขุนรามราช ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จเข้าร่วมกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม Read More »