วันรักนกเงือก

วันรักนกเงือก ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี “นกเงือก” (Hornbill) เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งแทนคำว่า “รักแท้” เพราะนกเงือกจะมีลักษณะการครองคู่แบบ “รักเดียว ใจเดียว” หรือ “แบบผัวเดียวเมียเดียว”จนแก่จนเฒ่า หรืออยู่ครองคู่กันจนตายจากกัน ตัวผู้จะมีลักษณะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ขยันและซื่อสัตย์ คอยดูแลหาอาหารปกป้องครอบครัวให้ปลอดภัย หากตัวผู้ต้องถูกฆ่าตาย นกเงือกตัวเมียและลูกจะรออยู่ในรัง และรอตลอดไปจนกว่าจะตายตามไปด้วย นี่คือสัญชาตญาณอันน่าทึ่งของนกเงือก

นกเงือก-วันรักนกเงือก

[quote arrow=”yes”]ความสำคัญของนกเงือกต่อระบบนิเวศ[/quote] รักนกเงือกเนื่องจากอาหารของนกเงือกก็คือเมล็ดพืชหลากหลายชนิด จำนวนมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งนกชนิดอื่นๆ ไม่สามารถทำได้เช่นนี้ และจากพฤติกรรมที่บินออกหากินในระยะทางไกล รวมเข้ากับความสามารถในการกินเมล็ดพืชที่หลากหลายสายพันธุ์นี้เองทำให้ พืชพรรณต่างๆ สามารถกระจายเมล็ดพืชที่ถ่ายออกมาพร้อมกับมูลของนกเงือก แพร่กระจายไปในพื้นที่ถิ่นต่างๆ ทั่วผืนป่าได้ เช่น นกเงือกกรามช้างปากเรียบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจะบินไปหาคู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา 2,000 กว่ากิโลเมตร ช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนจะกลับมายังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ระหว่างทางบินก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยงความหลากหลายของป่าด้วยการทิ้งมูลเมล็ดพันธุ์ไม้ นกเงือกแต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ ซึ่งนกเงือกมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี หมายความว่า หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง500,000 ต้น อาจกล่าวเปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากบรรพบุรุษของช้างเป็นผู้ที่สร้างแม่น้ำ บรรพบุรุษของนกเงือกก็คือผู้ที่สร้างผืนป่านั่นเอง

[divide style=”dots” icon=”circle”]

 

ปัจจุบันนี้ภัยคุกคามหลักของนกเงือกก็คือ มนุษย์ ที่ล่าและพรากครอบครัวของมันในป่าเอามาเลี้ยงในเมือง เพราะการขาดการศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบนิเวศที่มีความเชื่อมโยงกัน และคนแต่ละรุ่นที่สืบทอดกันมานี้ได้ปฎิบัติกับนกเงือกติดต่อกันมาจนนกเงือกบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น นกชนหิน ซึ่งพบได้ที่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย นกชนหินถูกล่าปีละกว่า 1,000 ตัว โดยนำโหนกของนกชนหินไปแกะสลักทำเครื่องประดับ ดังนั้นเมื่อฆ่านกเงือก 1 ตัว ก็เท่ากับทำลายครอบครัวนกเงือกทั้งหมด

 

[quote arrow=”yes”]สายพันธุ์ของนกเงือก[/quote]

นกเงือก (Hornbills) เป็นสัตว์โบราณถือกำเนิดมาเมื่อประมาณ 50-60 ล้านปี และประเทศไทยเองก็มีแหล่งที่สำคัญของนกเงือกหลายชนิด ด้วยพฤติกรรมการครองรักกันแบบผัวเดียวเมียเดียว พวกเราจึงยกย่องนกเงือกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ในประเทศไทย มีนกเงือกอยู่ด้วยกัน 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ได้แก่

[dropcap font=”Arial”color=”#cc0033″]1[/dropcap]- นกกก (Great Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#ff66cc”]2[/dropcap]- นกแก๊ก (Oriental Pied Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]- นกเงือกกรามช้าง (Wreathed Hornbilll)
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]- นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill)
[dropcap font=”Arial”color=”#ff6600″]5[/dropcap]- นกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0099″]6[/dropcap]- นกเงือกดำ (Black Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]- นกเงือกปากดำ (Black Hornbill)
[dropcap font=”Arial”color=”#ff0033″]8[/dropcap]- นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]9[/dropcap]- นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#993399″]10[/dropcap]- นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill)
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]11[/dropcap]- นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill)
[dropcap font=”Arial”color=”#ff0033″]12[/dropcap]- นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill)
[dropcap font=”Arial”color=”#cc0033″]13[/dropcap]- นกชนหิน (Helmeted Hornbill)


มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2559). นกเงือกไทย 13 ชนิด. เข้าถึงได้จาก https://www.seub.or.th/bloging/เกร็ดความรู้/นกเงือกไทย-13-ชนิด/

 

วันรักนกเงือก 13 กุมภาพันธ์