วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม ของทุกปี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระ

[quote arrow=”yes”]ปรีชาสามารถที่ได้ทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทย[/quote]

วันพ่อขุนรามคำแหง-17มกราคม-ห้องสมุด-มหาวิทยาลัยสยาม

 

นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ และทรงพระปรีชาสามารถสมควรเทิดทูนพระเกียรติเป็นพระมหาราชมาทุกยุคทุกสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยสุโขทัยนั้น ประชาชนชาวไทยแทบทุกคนจะรู้จักพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่สมควรเทิดพระเกียรติให้เป็นพระมาหาราชโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทางเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 ของกรุงสุโขทัย ที่ได้ทรงปกครองและจรรโลงประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในสมัยสุโขทัย จะเทียบเทียมได้

17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 

[quote arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote] พ่อขุนรามคำแหง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในพระราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ.1822 ถึงประมาณ พ.ศ.1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการย่อย่องเป็น “มหาราช” เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทย ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี

พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย หรืออีกพระนามที่ไม่ค่อยมีใครทราบ คือ พ่อขุนรามราช ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จเข้าร่วมกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา ไปป้องกันเมืองตากและได้สู้รบกับขุนสามชน จนได้รับชัยชนะ ด้วยความกล้าหาญในครั้งนั้นทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้ว่า รามคำแหง ที่มีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ ภายหลังพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็ได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา

นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถือว่าเป็นช่วงสมัยที่สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม ที่สามารถค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่าง ๆ ได้โดยรอบ และยังยอมเป็นเมืองผ่านทางการค้า โดยอนุญาตให้พ่อค้าเอาสินค้าไปค้าขายได้โดยไม่เก็บภาษี ทำให้มีคนมาค้าขายที่สุโขทัยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี

นอกจากพระราชกรณียกิจดูแลปกป้องบ้านเมือง การค้า และการรวบรวมแคว้นต่าง ๆ แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมา เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของมรดกอันล้ำค่าที่คนไทยทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ และความสละสลวย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในหลาย ๆ ด้าน ดังเช่นที่ได้กล่าวถึง ปวงชนชาวไทยทุกคนจึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็น  มหาราช พระองค์แรกของชาติไทย

ด้านการปกครอง ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1.การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิมอยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างพ่อปกครองลูก หรือปิตุรักษ์ (Paternalism) ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า

“ในปากประตูมีกระดิ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจมักจักกล่าวถึงขุนบ่ไร่ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกมือถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม”

2.การปกครองแบบกระจายอำนาจแบ่งการปกครองเป็น 3 ระดับ คือ ระดับศูนย์กลาง ระดับปฏิบัติตามนโยบาย และระดับส่งเครื่องราชบรรณาการ ดังนี้
กรุงสุโขทัย เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง โดยให้มีลูกหลวงเป็นเมืองรองจากเมืองหลวง และเป็นเมืองชั้นในตั้งอยู่สีทิศ มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มีความใกล้ชิดกับเมืองหลวงมากที่สุด โดยที่เมืองหลวงเป็นผู้กำกับนโยบายในการบริหาร

เมืองลูกหลวง หมายถึง เมืองชั้นในที่รับนโยบายจากเมืองหลวงไปปฏิบัติ อำนาจเป็นอำนาจของผู้ครองเมือง บทบาทสำคัญของเมืองลูกหลวงคือ การป้องกันการรุกรานจากภายนอก จึงได้กำหนดเมืองในลักษณะนี้ไว้ทั้งสี่ทิศ ผู้ที่จะมาครองเมืองลูกหลวงจะเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยมากที่สุด ทิศทั้งสี่ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย ทิศตะวันออก คือ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) ทิศใต้ คือ เมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทิศตะวันตก คือ  เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)  ผู้ครองเมืองจะมีเชื้อสายราชวงศ์เดิมของเมืองนั้น ๆ  มีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุน”   มีอำนาจในการปกครองตนเองแต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสุโขทัย
เมืองประเทศราช บางครั้งเรียกว่า “เมืองออก” หรือเมืองขึ้น” ได้แก่ เมืองหรือแค้วนต่าง ๆ ที่เข้ามาสวามิภักดิ์เอง หรือเป็นเมืองที่ยกทับไปสู้รบจนยึดครองไว้ได้ เมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลกับสุโขทัยยากแก่การปกครอง จึงมีการมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองหรือผู้นำแคว้น เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเป็นประจำปี เมืองประเทศราชได้แก่ เมืองในภาคกลาง ตลอดไปจนถึงแหลมาลายูทั้งหมด และทางภาคเหนือ เช่น แพร่ น่าน พลั่ว เป็นตัน

ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช การปกครองคล้ายระบบประชาธิปไตย แต่ไม่ถึงกับเป็นรูปแบบนัก เป็นแต่เพียงประชาชนมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเท่านั้น เช่น มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สินบ้านเรือน การเดินทางไปต่างถิ่น การแสงหาความยุติธรรม ดังปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ 1 ว่า

“เมืองสุโขทัยนี้ดี เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้าใครจักใคร่ค่าเงือนค้าทองคำ”

กฎหมายพื้นฐาน ของกรุงสุโขทัยมีอยู่ 2 เรื่อง คือ กฎหมายเกี่ยวกับมรดก และกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งปรากฏอยู่บนศิลาจารึกเขากบ ของพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ.1835 มีสาระถอดความดังนี้

กฎหมายเกี่ยวกับมรดก ได้กล่าวว่า “ทรัพย์สมบัติทุกชนิดของบิดานั้น เมือบิดาเสียชีวิตลงแล้วจะต้องตกเป็นของบุตรทั้งสิ้น” ดังข้อความในศิลาจารึกว่า

“ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดเล้ ล้มตายหายกว่า เย้าเรือนพ่อ เชื้อเสื้อคำมัน ช้างของลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าค่าไท ปลามาปลากู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น”

กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิที่ดิน ได้กล่าวว่า

“หากมีความขันแข็งที่จะขยายที่ดินเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป ก็ให้ที่ดินตกเป็นของผู้นั้น”

นับว่าเป็นนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม และเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจด้วย ดังข้อความในศิลาจารึกดังนี้

“สร้างป่ามา ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าสางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน”

 

การพัฒนาบ้านเมือง พ่อขุนรามคำแหงทางเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมากพระองค์หนึ่ง ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน ดังนี้
[dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]การปกครองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรับปรุงรูปแบบในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]นโยบายทางการเมืองระหว่างอาณาจักรและต่างประเทศ มุ่งเน้นความมั่นคง
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]เศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรีในเมืองสุโขทัย และอาณาจักรอื่น ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]ด้านสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขบนพื้นฐานคำสอนของศาสนา
[dropcap font=”Arial”]5[/dropcap]ด้านความเชื่อ ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]6[/dropcap]ศิลปวัฒนธรรม สุโขทัยมีศิลปวัฒนธรรมหลายอย่างสืบทอดกันจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยในปัจจุบัน

17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ด้านการต่างประเทศกับราชอาณาจักร

[quote arrow=”yes”]อาณาจักรล้านนา[/quote]

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาได้แก่ พญามังราย เป็นพระสหายสนิทกันรวมทั้งพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา ได้ผูกมิตรไมตรีกันอย่างแน่นแฟ้น เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล นอกจากนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพญาง่ำเมือง ยังเสด็จไปช่วย พญามังรายเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมและวางผังเมืองแห่งใหม่ของอาญาจักรล้านนา คือ เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

[quote arrow=”yes”]แค้วนนครศรีธรรมราช[/quote]

แคว้นนครศรีธรรมราช เป็นแคว้นใหญ่ในภาคใต้ได้มีความสัมพันธ์กับอาณาจักร สุโขทัย อย่างใกล้ชิด ทางด้านวัฒนธรรม โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงผูกมิตรไมตรีกับกษัตริย์ เมืองนครศรีธรรมราชาให้ช่วยติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์ จากลังกากลับมา ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย และสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงนิมนต์พระสงฆ์ ลัทธิลังกาวงศ์ มาจากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่กรุงสุโขทัยทุกๆวันธรรมสวนะ

[quote arrow=”yes”]อาณาจักรมอญ[/quote]

ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับหัวเมืองมอญ เป็นความสัมพันธ์ทาง เครือญาติ โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงยกพระนางสุดาสร้อยดาว พระราชธิดาให้เป็นพระมเหสีของเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท) กษัตริย์มอญ ทำให้อาณาจักร สุโขทัยได้รับประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ได้อาศัยเมืองท่าที่เมืองเมาะตะมะ แลก เปลี่ยนสินค้ากับอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ

[quote arrow=”yes”]ความสัมพันธ์กับจีน[/quote]

ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน มีความสัมพันธ์ในลักษณะการค้า ระบบรัฐบรรณาการ โดยเริ่มในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สุโขทัยได้ส่ง คณะทูตพร้อมกับเครื่องราชบรรณาการไปจีน จากการที่สุโขทัยมีความสัมพันธ์ กับจีน ทำให้สุโขทัยได้รับประโยชน์จากจีนหลายอย่าง เช่น ทางการค้า ความรู้เรื่องการเดินทะเล เรียนรู้เรื่องเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผา (การทำสังคโลก) จนสามารถส่งขายเป็นสินค้าออก นอกจากนั้นพ่อค้าจากสุโขทัย ที่ไปค้าขายยังเมืองจีน จะได้รับความสะดวก และสิทธิพิเศษในเรื่อง การซื้อการขาย ทำให้การค้าระหว่างไทยกับจีนระยะต่อมา มีความเจริญเป็นลำดับ

[quote arrow=”yes”]การประดิษฐ์อักษรไทย[/quote]

วันพ่อขุนรามคำแหง-17มกราคม-ห้องสมุด-มหาวิทยาลัยสยามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า

“เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเมื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้” แปลเป็นความได้ว่า “แต่ก่อนนี้อักษรภาษาไทยยังไม่มี เมื่อ พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงได้มีความสนใจ ประดิษฐ์อักษรภาษาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น แล้วพ่อขุนรามคำแหงทรงให้จัดทำอักษรไทย)ใส่ไว้ในศิลาจารึกนี้” (ปัจจุบันศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 นี้ เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ)

17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


[quote arrow=”yes”]

เอกสารอ้างอิง

[/quote]
  • กระทรวงวัฒนธรรม. (2559, 4 มกราคม).  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช.  เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/yong/ewt_new.php?nid=622
  • สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.  (2531).  นวมหาราช.  กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  • สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย การประดิษฐ์อักษรไทย.  (ม.ป.ป.).  เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/xanacakrsukhothay/sangkhm-laea-wathnthrrm-smay-sukhothay/kar-pradisth-xaksr-thiy

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: