25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เนื่องจากวันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญ และทรงได้กรอบกู้อิสรภาพของไทย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลองจนปกป้องรักษาเอกราชของราชของชาติจนทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาตราบจนถึงปัจจุบันนี้

ยุทธหัตถี พระนเรศวร

ภายหลังจากการยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา ไม่นาน ขณะที่กรีฑาทัพไปตีเมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมก แล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบล เอกราชไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา

พระนเรศวรเสด็ดสวรรคต-ห้องสมุด มหาวิทยาลัยสยาม SU library

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ffcc99″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote]

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ ทรงเป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตริย์  พระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทร์เมื่อ ปีพ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก ขณะที่พระบิดาทรงดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองประเทศราช ครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคิณี คือ พระสุพรรณกัลยา พระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๑๓๓ สิริรวมการครองราชย์สมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ สิริรวมพระชนม์มายุรวม ๕๐ พรรษา

พระนเรศวรเสด็ดสวรรคต-library-suพระนามของ พระนเรศวร นั้นนองจากที่ขานกันว่า พระองค์ดำ แล้วยังปรากฏในเอกสารทั้งของไทย และจดหมายเหตุต่างชาติ เช่น พระนเรศวรราชาธิราช พระนเรส องค์ดำ พระนริศ แต่สรุปไม่ได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิฐานว่ามาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช (พะ-นะ-เหรด วะ-ระ-รา-ชา-ทิ-ราด) เป็น พระนเรศวร ราชาธิราช (พะ-นะ-เร-สวน รา-ชา-ทิ-ราด)
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงกระทำสงคราม ทำให้มีเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ

[box]

สรุปพระราชกรณียกิจ

  • พ.ศ.๒๑๑๓ เสด็จออกร่วมรบกบทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
  • พ.ศ.๒๑๒๔ ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกทับเข้าตีเมืองคังจนได้รับชัยชนะ
  • พ.ศ.๒๑๑๗ เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
  • พ.ศ.๒๑๒๑ ทำทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันทตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
  • พ.ศ.๒๑๒๔ ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกทับเข้าตีเมืองคังจนได้รับชัยชนะ
  • พ.ศ.๒๑๒๗ ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกับพระนคร
  • พ.ศ.๒๑๒๗-๒๑๓๐ พม่ายกทับมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
  • พ.ศ.๒๑๓๓ ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๔ พรรษา
  • พ.ศ.๒๑๓๕ ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
  • พ.ศ.๒๑๓๖ ทรงยกทับไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพีธีปฐมกรรม
  • พ.ศ.๒๑๓๘ และ พ.ศ.๒๑๔๑ ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และ ๒
  • พ.ศ.๒๑๔๘ ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยาไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนาเข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คน เมื่อยกทับหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้งกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน
    และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวงก็ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็งซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
[/box]

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]เกร็ดความรู้[/quote]

[box]

ทักษิโณทก
ทักษิโณทก (อ่านว่า ทัก-สิ-โน-ทก) เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ทกฺษิณา (อ่านว่า ทัก-สิ-นา) แปลว่า ของทำบุญ กับคำว่า อุทก (อ่านว่า ทุ-ทะ-กะ) แปลว่า น้ำ คำว่าทักษิโณทก เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย มีความหมาย ดังนี้

  • ความหมายที่ ๑ หมายถึง น้ำที่หลั่งในเวลาทำบุญเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย
  • ความหมายที่ ๒ หมายถึง น้ำที่ใช้เทเพื่อแสดงว่าให้ ใช้กับสิ่งของที่ใหญ่โต หรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่น วัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น
  • ความหมายที่ ๓ หมายถึง น้ำที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด
[/box] [box]

ยุทธหัตถี
ยุทธหัตถึ หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติดึกดำบรรพ์ว่ายุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของการรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ชนช้าง โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติในการทำสงครามที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติสูงสุดและแม้แต่ผู้ใดแพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้ ในสมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม ๓ ครั้ง คือ

  • ครั้งที่ ๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระอินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอ ได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์
  • ครั้งที่ ๒ ในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัยต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต
  • ครั้งที่ ๓ ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล หลังจากนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานถึง ๑๕๐ ปี
[/box]

ธานัฐ ภัทรภาคว์.  (2544).  เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช.  นนทบุรี: ก้าวไกล.

วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี.  (2561).  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช.  เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช