๓๑ มีนาคม วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

[box type=”note”]๓๑ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ถือเป็นวันสำคัญของชาติเพื่อประกอบงานรัฐพิธีถวายราช สักการะ โดยมิต้องถือเป็นวันหยุด ราชการ และเห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า ” แปลว่า “ พระเจ้า แผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ”[/box]

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงปกครอง บ้าน เมืองและเหล่าพสกนิกรของพระองค์ ตลอดจนพระชนม์ชีพทำให้ประเทศชาติมั่นคง และมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นอเนกประการนั้น ประชาชนชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เป็นอย่างสูง

[quote arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote]
รัชกาลที่3-kingrama 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของราชวงศ์จักรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าชายทับ ประสูติเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม ตรงกับ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๓๓๐ ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๔  รวมพระชนมายุ ๖๓ พรรษา กับ ๑๑ วัน  เสด็จดำรงในสิริราชสมบัติ ๒๕ ปี ๗ เดือน ๒๓ วัน

[quote arrow=”yes”]พระราชกรณียกิจ[/quote]

วัดอรุณ-รัชกาลที่3-Arunratchawararam Temple King Rama VIII

  • ด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลราษฎร์ของพระองค์ โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกลอง “วินิจฉัยเภรี” ขึ้นในวัง หากราษฎรผู้ใดได้รับความเดือนร้อนจะกราบบังคมทูล ก็ให้ไปตีกลองนั้น ตำรวจเวรที่เฝ้าอยู่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป ซึ่งในการชำระความนั้น พระองค์จะทรงคอยไต่ถามอยู่เนื่อง ๆ ทำให้ผู้ที่เป็นตุลาการทำหน้าที่พิพากษาคดีความมิอาจพลิกแพลงคดีให้เป็นอื่นได้ และในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการปราบปรามการค้าฝิ่น ปราบปรามโจรผู้ร้ายที่เกิดจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเป็นจำนวนมากโดยส่วนมากมาจากตอนใต้ของจีนทำได้เกิดสมาคมลับที่เรียกว่า กฎบตั้วเหี่ย (อั้งยี่)[divide icon=”circle” width=”medium”]

  • ด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสงครามระหว่างไทยกับพม่าได้เบาบางและสิ้นสุดลง เพราะพม่าติดพันการทำสงครามอยู่กับอังกฤษ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีสงครามเกิดขึ้นหลายครั้งในหลายรัชกาลนี้ โดยสงครามที่สำคัญได้แก่

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]พ.ศ.๒๓๖๙ สงครามกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเมืองเวียงจันทน์ เดิมทีเมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี แต่ในขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์เริ่มมีอำนาจมากขึ้น จึงถือโอกาสช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน ก่อกบฏยกกองทัพเข้ามาตีไทยเพื่อประกาศตนเป็นอิสระที่ว่าถูกกองทัพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขับไล่ออกไปได้หมดสิ้น ดินแดนแคว้นลาวจึงยังคงอยู่ในอำนาจของไทยต่อไปจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]พ.ศ.๒๓๗๖–พ.ศ.๒๓๙๐ สงครามกับญวน สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง ๑๕ ปี เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ญวนที่เมืองไซง่อนก่อกบฏขึ้น พระเจ้าเวียดนามมินมาง  จึงต้องทำสงครามปราบปรามกบฏพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเป็นโอกาสที่จะแย่งชิงเขมรกลับคืน และปราบญวนให้หายกำเริบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร  หัวเมืองญวนไปจนถึงไซ่ง่อน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล สงครามยืดเยื้อมาเป็นเวลานานจนเป็นอันเลิกรบ แต่ไทยก็ได้เขมรมาอยู่ในปกครองอีกครั้ง[divide icon=”circle” width=”medium”]
  • ด้านการต่างประเทศ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]สัมพันธไมตรีกับอังกฤษ ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๖๙ ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและพาณิชย์กับอังกฤษ ชื่อว่า สนธิสัญญาเบอร์นี เนื่องจากมีนายเฮนรี่ เบอร์นี เป็นผู้ทำการเจรจากับรัฐบาลไทยเกี่ยวกับปัญหาการค้าและการเมืองในมลายู ใช้ระยะเวลา ๕ เดือน ประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี ๑๔ ข้อ และสนธิสัญญาทางการพาณิชย์แยกอีกฉบับรวม ๖ ข้อ สนธิสัญญาเบอร์นี ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]สัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มจากการทำการค้าและมีการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน โดยลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ มีนายเอ็ดมันส์ โรเบิร์ต เป็นทูตเจรจาใช้ระยะเวลาในการเจรจา ๒๒ วัน โดยมีข้อตกลงทางการเมืองและการค้าอยู่ในฉบับเดียวกัน ๑๐ ข้อ สำหรับบรรดาประเทศต่างๆ ในเอเชียนั้น ประเทศจีนนับเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ทั้งทางด้านการทูตและการค้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไทยได้จัดส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีนใน พ.ศ. ๒๓๖๘ การค้าระหว่างไทยกับจีนดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓[divide icon=”circle” width=”medium”]

 

  • ด้านเศรษฐกิจและการค้า

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของไทยไม่ใคร่มั่นคงมากนัก ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเสวยราชสมบัติ พระองค์จึงทรงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นหลายอย่างเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง เช่น จังกอบ อากร ฤชา ส่วย ภาษีเงินค่าราชการจากไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นต้น
การเก็บภาษีอากรนี้ทรงตั้งระบบการเก็บภาษีโดยให้เอกชนประมูลรับเหมาผูกขาดไปเรียกเก็บภาษีจากราษฎรเอง เรียกว่า เจ้าภาษีหรือนายอากร ซึ่งส่วนใหญ่ชาวจีนจะเป็นผู้ประมูลได้ การเก็บภาษีด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดผลดีหลายประการ กล่าวคือนอกจากจะสามารถเก็บเงินเข้าพระคลังได้สูงแล้วยังส่งผลดีด้านการเมือง คือทำให้ชาวจีนที่เป็นเจ้าภาษีนายอากรนั้น มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และมีความผูกพันกับแผ่นดินไทยมากขึ้น

เรือสำเภาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลที่3
นอกจากนี้รายได้ของรัฐอีกส่วนหนึ่งยังได้มาจากการค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยไทยได้ส่งเรือสินค้าเข้าไปค้าขายในประเทศต่างๆ มากมาย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญการส่งเรือสินค้าออกไปค้าขายมาตั้งแต่ครั้งดำรงยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ จนสมเด็จพระบรมชนกนาถตรัสเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว” และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติก็ได้ทรงสนับสนุนการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นเพื่อใช้ในการค้าจำนวนมาก รายได้จากการค้าสำเภานี้นับเป็นรายได้สำคัญของประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์นี้ที่ไทยอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายภายในประเทศอย่างเสรี ยกเว้นสินค้าประเภทข้าว อาวุธปืน และฝิ่น

 

เงินถุงแดง เงินสำรองของแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 3
เงินถุงแดง เงินสำรองของแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 3

เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงและรัฐมีรายได้มากขึ้น รายได้ของแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้จึงสูงขึ้นมาก โดยบางปีมีจำนวนมากถึง ๒๕ ล้านบาททีเดียว เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เงินในท้องพระคลังหลวงซึ่งรวมถึงเงินค่าสำเภาที่เหลือจากการจับจ่ายของแผ่นดินมี ๔๐,๐๐๐ ชั่ง และด้วยความที่พระองค์มีพระราชหฤทัยห่วงใยในด้านการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต จึงทรงมีพระราชปรารภให้แบ่งเงินส่วนนี้ไปทำนุบำรุงรักษาวัดที่ชำรุดเสียหาย และวัดที่สร้างค้างอยู่ ๑๐,๐๐๐ ชั่ง ส่วนที่เหลืออีก ๓๐,๐๐๐ ชั่ง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแผ่นดินต่อไป
เงินจำนวนนี้ กล่าวกันว่าพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใส่ถุงแดงเอาไว้ ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) จะเห็นได้ว่าแม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ก็ยังทรงมีส่วนช่วยเหลือประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ด้วยเงินถุงแดงที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้[divide icon=”circle” width=”medium”]

ร.3-พรบ-ห้ามค้าฝิ่น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชบัญญัติ ทรงประกาศยกเลิกค้าฝิ่นเมื่อ พ.ศ. 2382 จำนวน 9,๐๐๐ แผ่น ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารราชการไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์
  • ด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ให้ความสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือ ราษฎร พระองค์ทรงเห็นว่าแบบเรียนแบบเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ยากเกินไปแก่การเข้าใจสำหรับเด็กที่จะเริ่มต้นเรียน พระองค์จึงทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมหลวงวงศาฯ แต่งตำราแบบเรียนภาษาไทยขึ้นใหม่ชื่อ “หนังสือจินดามณี” เป็นแบบเรียนที่ใช้มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำราในแขนงต่าง ๆ มากมาย อาทิ อักษรศาสตร์ พุทธศาสตร์ แพทยศาสตร์ และโบราณคดี เป็นต้น ให้นำมาจารึกลงในศิลาตามศาลารายรอบพระอารามต่าง ๆ เช่น วัดราชโอรสาราม วัดสุทัศนเทพวราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม”


สำนักข่าวเจ้าพระยา.  (2561).  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓).  เข้าถึงได้จาก http://www.chaoprayanews.com/2009/03/15/พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า/

ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.  (2542).  พระราชธรรม พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.  กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: