การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน-ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์โดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอรืเป็นตัวควบคุมการทำงานของป้ายแสดงเวลาการทำงาน ที่ใช้แอลอีดี 2 สี ต่อแบบเมตริกซ์ ขนาด 16×32 ใช้ไอซีอาร์ทีซีเป็นตัวสร้างฐานเวลาจริงให้กับระบบควบคุม การรับข้อมูลการตั้งเวลาและการเลือกติดต่ออาจารย์ผ่านทางรีโหมด 16 คีย์ ป้ายแสดงเวลาการทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำเสนอได้ถูกสร้างขึ้นและทำการทดสอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของป้ายแสดงผลนี้

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ป้ายแสดงเวลา, รีโหมด, 16 คีย์.


This paper presents the design and construction of a time schedule display board for contact teacher. The microcontroller is controlled the time schedule display board that uses 2 colors LED by the dot matrix display circuit size 16 X 32. IC RTC is used for generating real-time for controlling the system. The setting time and selection of teacher for contact via the 16 keys remote control is achieved. This proposed machine is constructed and tested and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword : Microcontroller, Time Schedule Display Board, 16 Keys Remote Control.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร และ สันติสุข สว่างกล้า. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 164-171). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Vvapote Supabowornsathian., & Santisuk Sawangkla. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 164-171). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

 

Quick View

การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ (2561)

 

Title              :  การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ  : Foreigners Employed as Hospital Workforce in Thailand

Researcher       : รุ่งฤดี วงค์ชุม* พีรนุช ลาเซอร์* อรทิพา ส่องศิริ† พิชาภรณ์ จันทนกุล† วิชชุดา เจริญกิจการ‡ ชุติมา อรรคลีพันธุ์§

Department     :  *คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ †คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ‡คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล §สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

E-mail                :

Abstract            :  The aims of the present descriptive study of foreigners being employed as hospital workforce in Thailand were to explore the characteristics of foreign hospital employees, factors influencing decision makingof foreigners seekingemployment inThailand, the processof beingemployed as foreignhospital
employees, and problems or obstacles encountered while working in Thailand. One hundred foreign hospital employees in both government and private hospitals inThailand were recruited using snowball sampling. A questionnaire was used for data collection. The data were analyzed using descriptive statis- tics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results revealed that most participants were females with the mean age of 31.23 years. Onethird of foreign hospital employees were the Filipinos. Success factors of being employed in Thailand included level of education (68%), competencies/special skills in needed fields (64%), and ability to communicate in Thai (55%). Factors influencing foreigners making decision to work in Thailand covered both push factors (such as low wages, limited career progression, unfair benefits, and high living expens- es) and pull factors (including gaining new experience, job opportunities, and opportunity to improve career).The processes for being employed as foreignhospital employees included 1) preparation phase: foreigners prepared on language, working knowledge and employment laws, and health check-ups 2) application phase: most foreigners applied for a job themselves after receiving information. A tourist visa was initially granted at first arrival in Thailand and then changed to a non-immigrant visa “B”. The expensesof application phaseincluded a visa, passport, work permit, and travel. Most participants (93%) were working as medical serviceassistants, suchas interpreters and 7% were qualified to work ashealth- care providers as described under the mutual recognition arrangement (MRA). Communication in Thai, adjusting to social and cultural differences, unfair wage, visa and work permit renewal were indicated as problems or obstacles encountered while working in Thailand. The recommendations from the present research were as follows: 1) stakeholders should revise the process of work permit renewal, and MRA; 2) the organization or employer should provide a basic training program in healthcare competencies, and improve workplace culture, including setting up ap- propriate remuneration system as international standard and equity basis.

Keywords        : being employed, foreigners, foreign health workforce, hospital employees, Thailand


Link to Publication : วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข Journal of Health Systems Research  ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2561

Bibliography     :  รุ่งฤดี วงค์ชุม, พีรนุช ลาเซอร์, อรทิพา ส่องศิริ, พิชาภรณ์ จันทนกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ และ ชุติมา อรรคลีพันธุ์. (2561). การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(2), 292-305.


Quick View

การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)

การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ. ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์

บทคัดย่อ:

การใช้ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หลายชนิดเป็นสาเหตุที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับ สาเหตุของการเกิดพิษต่อตับมาจากกลไกสองประการคือความเป็นพิษต่อตับโดยตรง (direct hepatotoxicity) และแบบ idiosyncratic (idiosyncratic hepatotoxicity) ความเป็นพิษต่อตับโดยตรงเป็นผลมาจากการได้รับยาที่มีความเป็นพิษ (intrinsic toxicity) และความรุนแรงขึ้นกับปริมาณยาที่ได้รับ (dose-dependent) เช่น acetaminophen สำหรับความเป็นพิษต่อตับแบบ idiosyncratic คือความเป็นพิษที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป มีอาการแสดงออกที่หลากหลาย และความรุนแรงไม่ขี้นอยู่กับขนาดยาที่ได้รับ สำหรับอาการทางคลินิก ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา และผลทางห้องปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นจากความเป็นพิษต่อตับ เช่น ภาวะตับอักเสบ (hepatitis) มักไม่มีอาการชัดเจน แต่มีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับภาวะน้ำดีคั่ง (cholestasis) จะมีอาการของโรคดีซ่าน มีอาการคัน มีการเพิ่มขี้นอย่างมากของเอนไซม์แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (alkaline phosphatase, ALP) และการเพิ่มขี้นเล็กน้อยของเอนไซม์อะลานีน อะมิโนทรานสเฟอเรส (alanine aminotransferases, ALT) หรือ แบบภาวะผสม (mixed) โดยเกิดร่วมกันทั้งภาวะตับอักเสบและภาวะน้ำดีคั่ง สำหรับเวลาในการฟื้นตัวจากความเป็นพิษต่อตับ จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของความเป็นพิษ การตรวจหาให้พบ และหยุดใช้ยา สมุนไพร หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพิษต่อตับให้เร็วที่สุดคือขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงในการเกิดพิษต่อตับ

คำสำคัญ: การบาดเจ็บของตับ ความเป็นพิษต่อตับ Drug-induced liver injury

Link to Academic article: การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Quick View
วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 17 ฉบับที่22 พ.ศ.2561

การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2561). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.[/mfn]   การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล  The Usage of Codes LINE Stickers for Interpersonal Communication

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร

บทคัดย่อ                : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการใช้รหัสในการประกอบสร้างความหมายของสติกเกอร์ไลน์เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากสติกเกอร์ไลน์ยอดนิยมจำนวน 5 ชุดควบคู่การสัมภาษณ์จากผู้สร้างผลการศึกษาพบว่า ความหมายของสติกเกอร์ไลน์ทั้ง 5 ชุดถูกสร้างขึ้นจากสื่อภาพที่นำเอาสัญรูปและดัชนีมาประกอบเป็นตัวคาแรคเตอร์การ์ตูนให้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกผ่านสีหน้าและกิริยาท่าทาง ควบคู่กับสัญลักษณ์ในรูปแบบสื่อตัวเขียนประกอบสร้างเป็นข้อความแบบไม่เป็นทางการเพื่อใช้โต้ตอบแต่ละสถานการณ์ เนื้อหาหลักของสติกเกอร์ไลน์เป็นการสานต่อและถนอมรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่แตกต่างไปตามระดับของความสัมพันธ์ นอกจากนี้บริบท
ทางสังคมและวัฒนธรรมยังเข้ามามีอิทธิพลต่อการประกอบสร้างสติกเกอร์ไลน์ร่วมด้วย ทั้งนี้ผลการศึกษายังพบอีกว่าเนื้อหาในสติกเกอร์ไลน์สามารถทับซ้อนและแปรเปลี่ยนไปได้อย่างหลากหลายในเวลาเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ทำการสื่อสารรวมถึงบริบทที่ครอบงำการสื่อสารในขณะนั้น

คำสำคัญ                :  รหัส, สติกเกอร์ไลน์, การสื่อสารระหว่างบุคคล

Abstract              :  The objective of this study is to find the use of code in the construction of meaning of LINE Stickers which was used in interpersonal communication. The data were collected by qualitative method through analyzing the top five popular LINE Stickers series along with interviewing from the creators. The study found that the meaning of all five line stickers series were constructed by visual media which applied iconic and index signs to constitute the cartoon characters for facial expressions and gestures, and symbolic signs in the form of text media to constitute the informal language for communicating in each situation. The main content of LINE Stickers is maintaining and repairing personal relationships which are various depending on relations. Moreover, social and cultural contexts, also, had effects on LINE Stickers creation. The study also found that the content of LINE Stickers overlap and alter in different ways relating to interpretation of communicators and contexts which predominated that communication.

Keywords           :  Code, Line Sticker, Interpersonal Communication

Download PDF  :  การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 22 ปี 2561   Siam Communication Review Vol.17 N0.22 2018

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-vol17-no22-2018/

Bibliography     :  ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2561). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

การใช้โปรแกรม Mathcad เพื่อหาค่าความยาวคลื่นแสงเลเซอร์จากการเลี้ยวเบน

 

Title              :  การใช้โปรแกรม Mathcad เพื่อหาค่าความยาวคลื่นแสงเลเซอร์จากการเลี้ยวเบน : Mathcad-Processing for Laser Wavelength Measurement by Diffraction Technique

Researcher       :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ ศตายุ สุวรรณะโสภณ

Kanit Thongpisisombat and Satayu Suwannasopon
Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  satayu.suw@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการใช้โปรแกรม Mathcad คำนวณค่าความยาวคลื่นแสงเลเซอร์จากภาพถ่ายการทดลองการเกิดปรากฎการณ์การเลี้ยวเบนของแสง ด้วยแหล่งกำเนิดแสดงมาตรฐาน 4 ชนิดคือ แสง laser pointer สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน และ HeNe เลเซอร์ ผ่านช่องเปิดเดี่ยวที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูเปิด 0.08 mm ที่ตำแหน่งห่างจากกล้อง Charge couple device (CCD) 800 mm โดยค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของความยาวคลื่นแสงที่ได้จากการทดลองเทียบกับค่ามาตรฐานจากแหล่งกำเนิด He-Ne เลเซอร์ มีค่าต่ำที่สุด และจากแหล่งกำเนิด laser pointer สีแดง มีค่าสูงที่สุด ได้แก่ 0.47% และ -3.84% ตามลำดับ

คําสําคัญ             :  โปรแกรม Mathcad, การเลี้ยวเบน, สลิตเดี่ยว, การวัดความยาวคลื่น

Abstract            :  Mathcad processing for laser wavelength measurement by diffraction pattern images from Charge couple device (CCD) camera. Four different wavelength standard laser sources were used: red laser pointer, green laser pointer, blue laser pointer and He-Ne laser. The diffraction pattern profile was created by a single slit with 0.08 mm width placed on the optical bench at 800 mm between a CCD camera. The measurement of laser wavelength results from Mathcad calculation are compared between experimental and standard values they show the lowest percentage error is He-Ne laser and the highest is red laser pointer are 0.47% and -3.84% respectively

Keywords        :   Mathcad, diffraction, single slit, wavelength measurement


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ ศตายุ สุวรรณะโสภณ. (2561). การใช้โปรแกรม Mathcad เพื่อหาค่าความยาวคลื่นแสงเลเซอร์จากการเลี้ยวเบน. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า BS 155-BS 159). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)

ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ. ศศิประภา ชิตรัตถา

บทคัดย่อ:

ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์ มีความสำคัญในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ขบวนการผลิต จนถึงสภาวะการเก็บรักษา ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์สื่อความหมายได้หลายอย่าง ความหมายที่ใช้กันมากที่สุดคือ ความคงสภาพทางเคมีของตัวยาสำคัญ อย่างไรก็ตามความคงสภาพของยาไม่ได้ขึ้นกับตัวยาสำคัญเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางเภสัชกรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น สีของเม็ดยา ความแข็งของเม็ดยา การละลายของยา เป็นต้น ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์ถือเป็นประเด็นหลักที่ต้องระมัดระวังสำหรับเภสัชกรที่ต้องทำหน้าที่เตรียมยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย เภสัชกรต้องหลีกเลี่ยงสภาวะการเตรียมยารวมถึงการใช้สารช่วยในตำรับที่อาจทำให้ตัวยาสำคัญเสื่อมสภาพทางกายภาพหรืออาจเกิดการสลายตัวทางเคมีได้ การเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์หรือการเตรียมยาที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลเป็นอย่างมากต่อความคงสภาพและผลการรักษาของยานั้นๆ ดังนั้นเภสัชกรจึงควรกำหนดสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมยาเพื่อผู้ป่วยและทำตามข้อกำหนดนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความคงสภาพของยา ซึ่งสามารถส่งผลถึงผลการรักษาและผลข้างเคียงของยาได้

คำสำคัญ: ความคงสภาพ ยา เภสัชภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ

Link to Academic article: ความคงสภาพของยา (Drug stability) 

Quick View
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของอาการความสามารถในการรับรู้และเข้าใจโรคความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (2561)

 

Title              : ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของอาการความสามารถในการรับรู้และเข้าใจโรคความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: The Relationship among Perceive Severity of Symptom, Cognitive Capacity, Uncertainty in Illness and Depression in Persons with Heart Failure
Researcher       สุธิดา ดีหนู, พย.ม (การพยาบาลผู้ใหญ่), มุกดา เดชประพนธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ปร.ด.(การพยาบาล), อรสา พันธ์ภักดี, รองศาสตราจารย์, พย.ด. 

Department     :  Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : sutida.dee@gmail.com


Bibliography    :  สุธิดา ดีหนู, มุกดา เดชประพนธ์ และ อรสา พันธ์ภักดี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของอาการความสามารถในการรับรู้และเข้าใจโรคความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว.  วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(36), 66-77.

Quick View

คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา

 

ชื่อเรื่อง              :  คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา: Physical and Mechanical Properties of Cement Mortar Modified with Rubber Latex

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์, ร.อ.ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, นนร.กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, นนร.ตรีเพชร์ จาโสด และ นนร.รณภพ ค่ายหนองสวง

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               :  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุซีเมนต์มอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์ โดยทางกายภาพพิจารณา ความข้นเหลวปกติของซีเมนต์เพลส, ระยะการก่อตัวเริ่มต้น, ค่าการดูดซึมน้ำ และโครงสร้างทางจุลภาคของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา โดยใช้จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และชุดเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (EDS) ส่วนคุณสมบัติทางกลพิจารณากำลังอัด กำลังดึง และกำลังอัดของมอร์ต้าร์ทดสอบที่ระยะเวลา 28 วัน โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5%, อัตราส่วนปูนต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.50  โดยการศึกษาพบว่าซีเมนต์เพลสผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5% ได้ค่าระยะการก่อตัวเริ่มต้นเท่ากับ 128 นาที, 123 นาที, 75 นาที และ 35 นาที และค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.85, 3.46, 4.68 และ 5.35 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราพบว่าการผสมน้ำยางพาราในมอร์ต้าร์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้คุณสมบัติการรับแรงต่างๆ ของมอร์ต้าร์สูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่ไม่ผสมน้ำยางพารา (P/C = 0%) ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกลพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตรา P/C เท่ากับ 1% ที่มีค่าคุณสมบัติการรับแรงดีที่สุด ได้ค่ากำลังอัด 375 ksc ก าลังดึง 39 ksc และก าลังดัด 65 ksc จากผลการศึกษาแนะนำใช้อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% ในงานก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้มอร์ต้าร์เป็นวัสดุ เช่น ถังเก็บน้ำเฟอร์ซีเมนต์ และคูส่งน้ำเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นต้น

คำสำคัญ                :   มอร์ต้าร์, น้ำยางพารา, สมบัติทางกล, โครงสร้างจุลภาค


Website               :   การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en

Download PDF :  คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, ตรีเพชร์ จาโสด และ รณภพ ค่ายหนองสวง. (2561). คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.


Quick View

คุณสมบัติและประสิทธิภาพของเพคตินจากเปลือกมะกรูดที่สกัดด้วยกรดซิตริก

 

Title              :  คุณสมบัติและประสิทธิภาพของเพคตินจากเปลือกมะกรูดที่สกัดด้วยกรดซิตริก : Properties and efficacy of pectin from kaffir lime peel extracted with citric acid

Researcher       :  ทิพย์ธิดา หนูทรัพย์, ภัสราภรณ์ ขาวพุ่ม, จิตติประภา พรมดี และ ปิยนุสร์ น้อยด้วง

                                 Tiptida Nusap, Passaraporn Kaopoom, Jittiprapa Promdee and Piyanoot Noiduang
Department     :  หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   piyanoot.noi@siam.edu

บทคัดย่อ             :   ในงานวิจัยนี้ ศึกษาการสกัดเพคตินจากเปลือกมะกรูดด้วยน้ำกลั่น และกรดซิตริก ความเข้มข้นต่างๆ เป็น 4 ระดับ คือ ร้อยละ 5, 10, 20 และ 30 โดยน้ำนักต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรดซิตริกในการสกัดเพคตินมากขึ้น จะทำให้มีร้อยละของผลผลิตที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำกลั่น และสมบัติทางเคมี-กายภาพของเพคตินที่สกัดด้วยน้ำกลั่นและกรดซิตริกที่ความเข้มข้นต่างๆ พบว่ามีค่าน้ำหนักสมมูลร้อยละของเมทอกซิลระดับการเกิดเอสเทอริฟิเคชัน และปริมาณกรดกาแลคทูโรนิก มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งเพคตินที่สกัดด้วยน้ำกลั่น มีค่าน้ำหนักสมมูลและปริมาณกรดกาแลคทูโรนิกสูงสุด และมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรดซิตริก และเพคติน ที่สกัดด้วยน้ำกลั่นและกรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 และ 10เป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลสูง ส่วนเพคตินที่สกัดด้วยกรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 20 เป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลต่ำ และพบว่าเพคตินที่สกัดด้วยน้ำกลั่นจะได้เจลที่มีความคงตัวและมีความแข็งมากที่สุดในขณะที่การเพิ่มความ
เข้มข้นของกรดซิตริกมากขึ้นจะได้เจลที่มีความแข็งน้อยลง

คําสําคัญ             :  เพคติน, เปลือกมะกรูด, กรดซิตริก

Abstract            :  This research studied on extraction of pectin from kaffir lime peel with distilled water and citric acid with four levels of concentration (5, 10, 20 and 30%, w/v) at 90C for 1 hour. The results showed that increasing concentration of citric acid for extraction increased %yields as compared to the extraction by distilled water. The physical and chemical properties of pectin extracted with distilled water and citric acid at different concentrations. The results showed that the equivalent weight, methoxy, the degree of esterification and the amount of galacturonic acid were different. The pectin extracted by distilled water had the highest equivalent weight and galacturonic acid content; however, these values decreased with increasing citric acid concentration. Pectin extracted with distilled water and citric acid at concentrations of 5 and 10% (w/v) was the high methoxyl pectin, while pectin extracted with citric acid at concentration of 20 (w/v) was the low methoxyl pectin.The results indicated that the pectin extracted with distilled water provided highly stable and hardened gel, while increasing citric acid concentration provided a weaker gel.

Keywords        :   pectin, kaffir lime peel, citric acid


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  ทิพย์ธิดา หนูทรัพย์, ภัสราภรณ์ ขาวพุ่ม, จิตติประภา พรมดี และ ปิยนุสร์ น้อยด้วง. (2561). คุณสมบัติและประสิทธิภาพของเพคตินจากเปลือกมะกรูดที่สกัดด้วยกรดซิตริก. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า AS 241-AS 246). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง: Application of Rubber Latex and Soil Cement Develop Drought Relieving Water Pond

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               : งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และน้ำยางพารา โดยทำการทดสอบกับตัวอย่า่งดินลูกรังที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ น้ำ อัตราส่วน 5 : 2 : 1 โดยใช้ปริมาณน้ำยางพารา 5% , 7.5% , 10% และ 12.5% ของปริมาณน้ำ โดยปริมาตรการทดสอบคุณสมบัติทางกลของตัวอย่างชิ้นงานที่ระยะบ่ม 28 วัน ประกอบด้วยกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำ ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของปริมาณน้ำ ที่ใช้ผสมดินซีเมนต์อายุการบ่มที่ 28 วัน ให้คุณสมบัติทางกลดีที่สุด ได้แก่ ด้วยกำลังรับแรงอัด 84 ksc กำลังรับแรงดึง 19 ksc กำลังรับแรงดัด 8.75 ksc และร้อยละการดูดซึมน้ำ 6.23% ตามลำดับ ดังน้ันการปรับปรุงดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของน้ำที่ใช้ผสมดินซีเมนต์ให้ค่าคุณสมบัติด้านวิศวกรรมดีที่สุด ได้นำผลการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการไปทดสอบการใช้งานภาคสนามโดยการก่อสร้างสระน้ำ ดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพาราร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่และหลังจากก่อสร้างสระน้ำแล้วเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากสระน้ำ ในช่วงฤดูแล้งได้

คำสำคัญ                :   คุณสมบัติทางกลดินซีเมนต์, น้ำยางพารา, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สระน้ำ


Publication: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2561  Engineering Journal Chiang Mai University Vol. 25 No.2 May-Aug 2018

Link to Publication:  http://researchs.eng.cmu.ac.th/?name=journal&file=readjournal&id=37

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน. (2561). ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25(2), 170-180.


Quick View