วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-VOL 38 NO 1 (2561)

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป ประกอบด้วย 1) มีความรู้ตรงกับงานที่ทำ 2) มีทักษะในการสังเกต 3) มีการวางแผนธุรกิจได้ดี 4) สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี 5) มีการสื่อสารที่ดี 6) มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม

คำสำคัญ: สมรรถนะ, บัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป


Abstract

The research aimed to study essential professional competencies required of graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration. This study was a qualitative research and used the grounded theory methodology. This methodology was a part of an alternative paradigm. Data were collected, using in-depth interview with semi-structured questions in the interview and non-participant observation. 15 key informants were from 3 groups: 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni. Data analysis based on in-depth interview indicated that professional competencies which were required of the graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration, consisted of 1) knowledge directly relevant to the job, 2) observation skills, 3) efficient business planning, 4) ability to use the software program, 5) effective communication, and 6) honesty and ethics.

KEYWORDS: Essential competencies, Graduates, Department of General Management, Faculty of Business Administration


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 136-154.

Essential professional competencies required of graduates from the department of general management, Faculty of Business Administration

Quick View

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร (2561)

 

Title              :  สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร : Essential Competencies Required of Graduates from the Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking

Researcher       :  ดร. รุ่งโรจน์ สงสระบุญ¹ อาจารย์วิมล ประคัลภ์พงศ์² อาจารย์สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์³

Department     :  ¹อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160
²อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160
³อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160

E-mail                :  ผู้ประสานงานหลัก: rrs101@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ประกอบด้วย 1) ความรู้ด้านการเงิน 2) มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 3) มีการทำงานเป็นทีม 4) มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี และ 5) มีความซื่อสัตย์

คําสําคัญ             :  1. สมรรถนะ 2. บัณฑิต 3.คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร

Abstract            :  The research aimed to study essential competencies required of graduates from The Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking. This research was a qualitative research and establishing the grounded theory methodology. This methodology was a part of alternative paradigm. Data were collected by in-depth interviews semi
structured questions in interview and non-participant observation. The key informants were 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni with totaling 15
informants. The research result was found that performance required for the professional practice of the graduates, Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking consists of 1) knowledge of finance and investment 2) systematic problem solving skills 3) skill of Interpersonal and responsibilities 4) Skills in numerical analysis and 5) moral / ethical skills, honesty

Keywords        :     1. Essential Competencies 2. Graduates 3. Business Administration Department of Finance and Banking

Donwload PDF  :  สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” ศูนย์บริการวิจัย และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อาคาร 6 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :    รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, วิมล ประคัลภ์พงศ์  และ สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” (หน้า 82-92). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


 

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่18ฉบับที่31-สิงหาคม-ธันวาคม-2560

สยามวิชาการ ปีที่19 ฉบับที่31 ปี 2560

ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
กนกวรรณ วุฒิกนกกาญจน์. (2560). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. สยามวิชาการ, 18(2), 1-19.


ทัศนคติ ความคาดหวัง และการรับรู้จริง ที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิ และซาชิมิของร้านในห้าง สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร
นภัสกร วงค์บัวเจริญ. (2560). ทัศนคติ ความคาดหวัง และการรับรู้จริง ที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่น ประเภทซูชิและซาชิมิของร้านในห้าง สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 18(2), 20-45.


การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อรรถกร จัตุกูล. (2560). การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สยามวิชาการ, 18(2), 46-64.


Does It Pay to Hire Engineers Graduated from Top Engineering Schools?: Building Contractors’ Perspectives.
Pichit Eamsopana. (2017). Does It Pay to Hire Engineers Graduated from Top Engineering Schools?: Building Contractors’ Perspectives. Siam Academic Review, 18(2), 65-76.


Dimension and Relationship Between Customer Perspective and Market Perspective: A Case Study of Market Survey of Laptops.
Yishu Liu and Zhimin Tang. (2017). Dimension and Relationship Between Customer Perspective and Market Perspective: A Case Study of Market Survey of Laptops. Siam Academic Review, 18(2), 77-98.

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่19ฉบับที่32-มีนาคม-กรกฎาคม-2561

สยามวิชาการ ปีที่19 ฉบับที่32 มีนาคม-กรกฎาคม 2561

[mfn]สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2561). การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน. สยามวิชาการ, 19(1), 1-18.[/mfn]    การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน
สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


[mfn]รสนันท์ หอสุธารังษี  ฆนัทนันท์ ทวีวัฒน์ และ พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์. (2561). การศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนระบบการผลิตไฟฟ้าใช้เองด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านในประเทศไทย. สยามวิชาการ, 19(1), 19-36.[/mfn]    การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนระบบการผลิตไฟฟ้าใช้เองด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านในประเทศไทย
รสนันท์ หอสุธารังษี, ฆนัทนันท์ ทวีวัฒน์ และ พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์


[mfn]เกษมะณี การินทร์  รวีพรรณ อุตรินทร์  รัชนีกร บวรชาติ และ ณัฐวุฒิ ชูขวัญ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สยามวิชาการ, 19(1), 37-53.[/mfn]    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เกษมะณี การินทร์, รวีพรรณ อุตรินทร์, รัชนีกร บวรชาติ และ ณัฐวุฒิ ชูขวัญ


[mfn]กมลชนก ลิ้มวิจิตสุข. (2561). ความเป็นไปได้ทางการตลาดสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านป้องกันตนจากการก่อการร้าย. สยามวิชาการ, 19(1), 54-64.[/mfn]    ความเป็นไปได้ทางการตลาดสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้านป้องกันตนจากการก่อการร้าย
กมลชนก ลิ้มวิจิตสุข


[mfn]ขวัญใจ อุณหวัฒนไพบูลย์. (2561). การพัฒนารายได้ให้กับนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยสยาม. สยามวิชาการ, 19(1), 65-79.[/mfn]    การพัฒนารายได้ให้กับนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยสยาม
ขวัญใจ อุณหวัฒนไพบูลย์

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่19ฉบับที่33-สิงหาคม-ธันวาคม-2561

สยามวิชาการ ปีที่19 ฉบับที่33 สิงหาคม-ธันวาคม 2561

[dflip id="7298"][/dflip]

สารบัญ

[mfn]ไพรัตน์ พรมชน  พัฒนา สุขประเสริฐ  เฉลิมพล จตุพร  กิตติพงศ์ กิตติวัฒน์โสภณ และ สุวิสา พัฒนเกียรติ. (2561).
ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตองุ่นรับประทานสด:การวิเคราะห์เบื้องต้น. สยามวิชาการ, 19(2), 1-13.[/mfn]  ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตองุ่นรับประทานสด:การวิเคราะห์เบื้องต้น
ไพรัตน์ พรมชน, พัฒนา สุขประเสริฐ, เฉลิมพล จตุพร, กิตติพงศ์ กิตติวัฒน์โสภณ และ สุวิสา พัฒนเกียรติ


[mfn]ธิญาดา พิชญาศุภกุล และ สวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2561). ความเสี่ยงทางบัญชีและการเงินในระบบโซ่อุปทานที่มีต่อผลการดำเนินธุรกิจ. สยามวิชาการ, 19(2), 14-30.[/mfn]  ความเสี่ยงทางบัญชีและการเงินในระบบโซ่อุปทาน ที่มีต่อผลการดำเนินธุรกิจ
ธิญาดา พิชญาศุภกุล และ สวัสดิ์ วรรณรัตน์


[mfn]ประกิต บุญมี และคณะ. (2561). ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์:ศึกษากรณีเขตการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร. สยามวิชาการ, 19(2), 31-50.[/mfn]  ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์:ศึกษากรณีเขตการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร
ประกิต บุญมี และคณะ


[mfn]Vannda Chheang and Netdao Chaiyakhet. (2018). The Readiness of International Financing Reporting Standard (IFRS) in Cambodia. Siam Academic Review, 19(2), 51-78[/mfn]  The Readiness of International Financing Reporting Standard (IFRS) in Cambodia
Vannda Chheang and Netdao Chaiyakhet


[mfn]กุลนัดดา สายสอน. (2561). กระบวนการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การสำหรับธุรกิจก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 19(2), 79-95.[/mfn]  กระบวนการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การ สำหรับธุรกิจก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
กุลนัดดา สายสอน

Quick View
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา-ปีที่26-ฉบับที่51-2561

อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the congruence of structural equation model of readiness to work of retired elderly with empirical data, and 2) to study the direct effect, indirect effect and total effect antecedents on readiness to work of retired elderly. The data were collected from five hundred elders by questionnaire. The data was analyzed in term of structural equation modeling. The results showed as following: the structural equation modeling of readiness to work of retired elderly was congruent with the empirical data (x2 = 646.978, df = 266, p = 0.000, x2/df = 2.432, GFI = 0.903, TLI = 0.925, CFI = 0.933, RMSEA = 0.054, Critical N = 236); work potentiality, social support, self care behaviors and self esteem accounted for the variance of readiness to work of retired elderly by 71 percent. Self care behaviors, self esteem and work potentiality had direct effect on readiness to work of retired elderly respectively. In addition, social support, self care behaviors and work potentiality had indirect effect on readiness to work of retired elderly respectively.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2561). อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51), 46-69.


The Influence of Work Potentiality, Social Support, Self Care Behaviors and Self Esteem on Readiness to Work of Retired Elderly in Bangkok

Quick View

เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย

[mfn]อัคร ธนะศิรังกูล และ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. (2561). เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย, 41(135), 86-96.[/mfn]   เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย

อัคร ธนะศิรังกูล และ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล


ผลงานวิชาการ อ. อัคร ธนะศิรังกูล – Akhara Thanasirangkul

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-VOL 38 NO 1 (2561)

แบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย ด้วยข้อมูลของตัวแปรสังเกตได้หลายๆ ตัวแปร ที่สามารถทำนายที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อตัวแปรแฝง (latent variable) ที่ตัวแปรแฝงนั้นวัดได้จากตัวบ่งชี้ ได้หลายตัวแปร ขั้นตอนการการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ที่เริ่มด้วยการนำข้อมูลจากโปรแกรม Statistical Package for the Social Science for Windows (SPSS) และทำการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL หรือ Analysis of Moment Structure: AMOS ที่ต้องมีขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การเตรียมข้อมูลดิบ การระบุ โมเดลหรือวาดภาพโมเดลจากการวิจัย การกำหนดการแสดงผลการวิเคราะห์ การวิเคราะห์โมเดล และการปรับโมเดล โดยค่าสถิติที่ได้จากการแสดงผลของตัวแปรสังเกตได้ที่มีผลต่อตัวแปรแฝง (latent variable)


Abstract

The objective of this article was to present the structural equation modeling for prediction based on observable variables which can predict or have effects on latent variables. The analysis of the structural equation modeling (SEM) starts from retrieving data from statistical package for the social science for Windows (SPSS), analyzing the structural equation modeling (SEM) using LISREL or Analysis of Moment Structure (AMOS). The necessary steps include preparing raw data, constructing a model or picturing a model based on research, deciding model presentation, analyzing the model, and adjusting the model based on the statistics of observable variables which have effects on latent variables.


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2560). แบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 185-205.

Structural equation modeling for prediction

Quick View

แอปพลิเคชันจำลองการถ่ายรูปแบบกล้องโพลารอยด์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

 

Title              :  แอปพลิเคชันจำลองการถ่ายรูปแบบกล้องโพลารอยด์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : Polaroid Camera Imaging Simulation on Android Operating System

Researcher       :   วีนา โชติช่วง และ ธีระชัย ธาราทิพย์พิทักษ์

Veena Chotchuang and Theerachai Taratippitak

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   veena.cho@siam.edu

บทคัดย่อ             :   ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ด้วยฟังก์ชันการใช้งานต่างๆที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก นอกเหนือจากการโทรศัพท์ การถ่ายภาพที่ไม่จำเป็นต้องพกกล้องที่มีขนาดใหญ่ สามารถนำสมาร์ทโฟนที่มีอยู่บันทึกภาพได้ทันที มีคุณภาพ คมชัด การถ่ายภาพด้วยกล้องโพลารอยด์ภาพที่ได้เป็นภาพโพสิทีฟ แนวคลาสิกย้อนยุค สามารถใส่กรอบและตกแต่งเพื่อถ่ายทอดความทรงจำอีกแนวทางหนึ่ง โดยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เป็นการสร้างแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบแอปพลิเคชันจำลองแบบกล้องโพลารอยด์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว การพัฒนาระบบจากโปรแกรม Visual Studio Code 1.19 ภาษา HTML 5 และ CSS3 ผลการทดสอบแอปพลิเคชันจำลองแบบกล้องโพลารอยด์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พบว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้ โดยภาพที่ได้มีความใกล้เคียงและให้ความรู้สึกเหมือนการถ่ายรูปด้วยกล้องโพลารอยด์จริงๆ นับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโปรแกรมที่ใช้ในการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟน จากผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมของแอปพลิเคชันอยู่ในระดับที่ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05

คําสําคัญ             :  แอปพลิเคชัน, การถ่ายภาพ, โพลารอยด์

Abstract            :  Nowadays, smartphone is one of the influential factors for living. With more multiple functions than making a call—such as taking pictures without using huge cameras, saving pictures immediately with high quality, using smartphones as Polaroid camera to get positive and classic film photos, and even adding frames and other features to convey memories—smartphones make lives comfortably. Thus, the research aims to 1) create ideas to develop and design an imitated Polaroid application for Androids and 2) survey satisfaction in users. The application is improved from Visual Studio Code 1.19, HTML 5, and CSS3. The result of this research shows that the imitated Polaroid application satisfies users because the received pictures look like they were taken by using a real Polaroid camera and this program can be the choice for taking photos in smartphones. Overall, the assessment of satisfaction is in good range at 4.05

Keywords        :    Application, Photo, Polaroid


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  วีนา โชติช่วง และ ธีระชัย ธาราทิพย์พิทักษ์. (2561). แอปพลิเคชันจำลองการถ่ายรูปแบบกล้องโพลารอยด์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 244-IT 251). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View