ห้องสมุด สาระความรู้

สาระความรู้ ด้านเทคโนโลยี-ศิลปวัฒนธรรม-วันสำคัญต่างๆ

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑

 ในวันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ถือเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี หรือหากไม่มีเสื้อสีเหลือง ก็สามารถสวมเสื้อสีอื่นได้ แต่ไม่ควรสวมเสื้อสีดำ จะดูไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ได้มีการไว้ทุกข์แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดให้มีงานพระราชพิธีที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ จัดกิจกรรมบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยยึดแนวปฏิบัติเดิมที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี ๒๕๖๐ เช่น พิธีทำบุญตักบาตร พิธีทางศาสนาของศาสนาต่าง ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ในห้วงก่อนหรือหลังวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ พิธีทำบุญตักบาตร กิจกรรมเจริญพระพุทธมนต์ กิจกรรมตามศาสนาที่ศาสนิกชนนับถือ กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่นใดที่เป็นการน้อมรำลึกในพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวง ที่ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชน ในห้วงก่อนหรือหลังวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ การจัดพิธีถวายพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เชิญชวนให้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ Read More »

วันสุขภาพจิต

วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม  เกิดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ โดยริเริ่มจาก สหพันธ์สุขภาพจิตโลก ( World Federation for Mental Health : WFMH) ร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International  Assosiation for Suiside Prevention : IASP) และองค์กรอื่นๆ ร่วมสนับสนุนโดยองค์กรอนามัยโลก (WHO ) ประวัติความเป็นมา เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม 1992 โดยรองเลขาธิการ (ในขณะนั้น) ริชาร์ด ฮันเตอร์  ( Richard Hunter) ในนามสมาพันธ์ และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ในปี 1994 โดยคำแนะนำของนายยูจีน โบดี้ ( Eugene Brody

วันสุขภาพจิตโลก Read More »

วันที่อยู่อาศัยโลก

วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชากรมนุษย์ ตามแผน 40/202 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1985 เพื่อรณรงค์ให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และร่วมกันแก้ปัญหาให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัย ในอนาคต เป็นการปฏิบัติกันทั่วโลก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1989 (พ.ศ.2529)องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) วันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้ องค์การสหประชาชาติกำหนดหัวข้อหลักในการรณรงค์เรื่อง “การจัดการขยะโดยเทศบาล” (Municipal Solid Waste Management) ซึ่งการขจัดขยะเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นที่ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการจัดการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน จะต้องมีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น สถานะการณ์ที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาติ เป้าหมายที่ 11 เรื่อง “การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัว มีภูมิต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสุขภาวะอย่างครอบคลุมและยั่งยืน” และวาระใหม่ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (New Urban Agenda) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน (Housing

วันที่อยู่อาศัยโลก Read More »

ไปรษณีย์โลก-worldpostday

ก่อนที่จะมี วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม มนุษย์ในอดีต ได้ใช้วิธีการติดต่อส่งสารกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ตีเกาะ เคาะไม้ จุดไฟ หรือส่งสัญญานควันไฟ การพัฒนาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้นจากเดิมที่เคยใช้วิธีท่องจำเสียงเป็นบทสวด เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาบอกต่อกันไปเป็นทอดๆ (Memorized messages) จนเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้แทนเสียงที่พูดจากัน การสื่อสารก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น  คนในยุคปัจจุบันถือสมาร์ตโฟนส่องดูข่าวสารโต้ตอบกันได้ในทันที แต่ในยุคสมัยอารยธรรมโบราณหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช เขาพกพานกพิราบติดตัวเพื่อใช้ในการส่งข้อความติดต่อสื่อสารกัน  ในรัชสมัยพระจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus, 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 14) แห่ง จักรวรรดิโรมัน ได้มีการจัดตั้งระบบติดต่อสื่อสารในกองพลต่างๆ โดยใช้พลม้าเร็วในการส่งข่าวสาร เดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลทรายและพักตามจุดที่ตั้งเฉพาะ เรียกว่า โพซิตัส (Positus) จึงเชื่อว่า นี่คือที่มาของคำว่า “post” (การไปรษณีย์) นั่นเอง ในยุคกลางพบว่ามีการใช้นกพิราบสื่อสาร (Pigeon post) ต่อมาในปี พ.ศ. 1848 อิตาลีและสเปน มีการ จัดตั้งบริษัทรับส่งข่าวสารขึ้นให้บริการตามเมืองสำคัญๆ ในยุโรป ส่วนเมืองที่ไม่มีบริการนี้ จะใช้วิธีการฝากจดหมาย และสิ่งของไปมากับพ่อค้า ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเดินทางทางทะเล การค้าขายเจริญมากขึ้น ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17

วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม Read More »

James Allison, Tasuku Honjo win Nobel

ศ. เจมส์ พี. แอลลิสัน จากมหาวิทยาลัยเทกซัสของสหรัฐฯ และ ศ. ทาซุกุ ฮอนโจ จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น คือสองนักวิจัยด้านวิทยาภูมิคุ้มกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ประจำปีนี้ จากผลงานการค้นพบวิธีรักษามะเร็งแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี 1995 ทั้งคู่ต่างได้มีการค้นพบโปรตีน CTLA-4 และ PD-1 ซึ่งสร้างปัญหาด้วยการทำตัวเป็น “เบรก” หยุดยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ต่อมาก็สามารถค้นพบกลไกที่สามารถปลดปล่อย “เบรก” นี้ได้เป็นผลสำเร็จ ช่วยปลดปล่อยห้เซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่มีอยู่ในตัวของผู้ป่วย สามารถเข้าหยุดยั้งเซลล์มะเร็งได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำมาสู่การคิดค้นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด ซึ่งพบว่าได้ผลดีอย่างยิ่งกับมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงและมะเร็งปอดแม้อยู่ในระยะลุกลาม ศ. แอลลิสันได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับบนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งโมเลกุลของตัวรับชนิดนี้จะยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย ศ. ฮอนโจได้ค้นพบโปรตีน PD-1 ในช่วงเวลาเดียวกัน วิธีรักษาโรคมะเร็งดังกล่าวซึ่งเรียกว่า Immune Checkpoint Therapy นับว่าแตกต่างจากวิธีรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบดั้งเดิมที่มุ่งโจมตีเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่วิธีใหม่นี้มุ่งไปจัดการกับโปรตีนบางอย่าง ที่ทำตัวเป็นเสมือน “เบรก” ยับยั้งไม่ให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของคนไข้เข้าสังหารเซลล์มะเร็งได้อย่างคล่องตัว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) และได้มีการอนุมัติให้แอนติบอดีต้านโปรตีน CTLA-4 และ PD-1 เป็นยาเพื่อการทดลองรักษามะเร็งมาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว

รางวัลโนเบล 2 ผู้ค้นพบโปรตีนวายร้าย “เบรก” ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมะเร็ง Read More »

รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี

E-book รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี The Trees of Siam : Treasures of the Land under the Royal Benevolence of His Majesty the King จัดทำในรูปแบบ e-Book ออนไลน์ ฉบับเต็ม เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ จัดทำโดย กระทรวงวัฒนธรรมร่วม กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ได้รวบรวมข้อมูลต้นไม้ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จากทั่วประเทศ จำนวนกว่า 500 ต้น จากนั้นจึงคัดเลือกเหลือ จำนวน 65 ต้น เพื่อประกาศให้เป็นต้นไม้ที่สำคัญของแผ่นดิน พร้อมทั้งนำข้อมูลไปใช้ในการเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

E-book รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี Read More »

วันสันติภาพสากล 21 กันยายน

วันสันติภาพสากล (International Day of Peace หรือ World Peace Day) ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่ออุทิศแก่สันติภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราศจากสงคราม ความหมายของสันติภาพ สันติภาพ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 กล่าวถึง ความหมายของสันติภาพไว้ดังนี้“สันติภาพ” หมายถึง ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกันรักษาสันติภาพของโลก (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.1206) คําว่า สันติภาพ มีความหมายทั้งในเชิงปฏิเสธ และยืนยันในความหมายปฏิเสธ สันติภาพไม่เพียงแต่หมายถึงสภาวะที่ไม่มีสงครามและความขัดแย้ง แต่ยังหมายถึงสภาวะที่ไม่มีความรุนแรง ในโครงสร้างสังคม เช่น ความอยุติธรรม ความไม่เสมอภาคในสังคมการละเมิดสิทธิมนุษยชนการทําลายความสมดุลย์ทางนิเวศวิทยา ในความหมายเชิงยืนยันสันติภาพหมายถึงสภาวะที่มี ความสามัคคีปรองดองเสรีภาพ และความยุติธรรม ดังนั้นคําว่า สันติภาพ จึงหมายรวมถึงสภาวะที่ไม่มีความขัดแย้งเข้ากับสภาวะที่มีความสามัคคี หากผู้สร้างสันติภาพไม่เห็นพ้องต้องกันในคําจํากัดความอันครอบคลุมทั้งสองประเด็นนี้ พวกเขาจะไม่สามารถร่วมระดมสรรพกําลังเพื่อการเสริมสร้างสันติภาพ ขณะที่ผู้รักสันติภาพจากประเทศพัฒนาแล้ว หมกมุ่นกับภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์ และให้ความสําคัญเป็นอันดับหนึ่งแก่ปัญหาการแข่งขันอาวุธ ผู้รักสันติภาพจากประเทศกําลังพัฒนา กลับให้ความสนใจปัญหาความอดอยากหิวโหย ความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้จะไม่มีจุดเน้นต่างกันเช่นนี้ ผู้สร้างสันติภาพ

วันสันติภาพสากล 21 กันยายน Read More »

วันประมงแห่งชาติ

วันประมงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] วันประมงแห่งชาติ มีที่มาจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาครทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2525  ถึงนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ซึ่งคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีจึงได้คำสั่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบเรื่องต่อให้กับกรมประมง เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้ยังขอให้ราชบัณฑิตยสถาน และกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม จากที่กรมประมงพิจารณาว่า อาชีพการประมงทางทะเลเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละมากมาย อีกทั้งยังต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยแจ้งข่าวสารทางทะเล ที่อาจเป็นภัยอันตรายต่อประเทศ ให้แก่หน่วยงานราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ จึงจัดให้มีวันสำคัญวันนี้ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง โดยจัดตั้งวันประมงขึ้น ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี มติคณะรัฐมนตรี — พุธที่ 7 มิถุนายน 2549

วันประมงแห่งชาติ 21 กันยายน Read More »

อัลไซเมอร์โลก

องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ (Alzheimer’s Disease International : ADI) ประกาศให้ วันที่ 21 กันยายน เป็น “วันอัลไซเมอร์โลก” ตามชื่อผู้ค้นพบโรคอัลไซเมอร์  ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้น โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม คือ การสูญเสียความจำระยะสั้นร่วมกับความผิดปกติของการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ส่วนใหญ่เริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นเวลากว่า 111 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 ที่มีการค้บพบโรคอัลไซเมอร์ โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ซึ่งได้รายงานการรักษาผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปี คนหนึ่งชื่อ ออกุสต์ เด ที่ญาติๆ ของเธอได้ส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโรคจิต เพราะทุกคนได้ ลงความเห็นว่าเธอกำลังเสียสติ เนื่องจากมีอาการความจำเสื่อม และชอบรู้สึกอิจฉาริษยาผู้อื่นอยู่บ่อยๆ นายแพทย์อัลไซเมอร์ได้ทดสอบผู้ป่วยรายนี้

วันอัลไซเมอร์โลก 21 กันยายน Read More »

วันรัฐวิสาหกิจไทย

จากการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 กำหนดให้วันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ 5 คือ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็น วันรัฐวิสาหกิจไทย ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งรัฐวิสาหกิจไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือร่วมใจของพนักงานรัฐวิสาหกิจระหว่าง รัฐกับองค์กร  รวมถึงเพื่อให้พนักงานรัฐวิสาหกิจได้มีกิจกรรมประกอบพิธีเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่านที่ทรงสถาปนาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขึ้นในประเทศไทย ประวัติรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจไทย คือ องค์กรของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ 50 เช่น บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ (สุนทร คุณชัยมัง, 2552 อ้างถึงใน พัชรวีร์ ชั้วทอง, 2554) รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุน (ผู้ถือหุ้น) รวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หน่วยงานใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน หากรัฐถือหุ้นมากกว่าร้อยละห้าสิบแล้วจะถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐวิสาหกิจมีจำนวนขึ้นลงไม่แน่นอนในปีที่รัฐเกิดถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละห้าสิบ (พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502) รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับ หน่วยธุรกิจเอกชน หรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา

วันรัฐวิสาหกิจไทย 20 กันยายน Read More »

หอคองคอเดีย

พิพิธภัณฑสถาน ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ว่า สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรม หรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ พิพิธภัณฑสถาน มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤต “พิพิธ” แปลว่า ต่างๆ กัน “ภัณฑ์” แปลว่า สิ่งของ เครื่องใช้ “สถาน” หมายถึง สถานที่ แหล่ง ที่ตั้ง ดังนั้น คำว่า “พิพิธภัณฑสถาน” จึงแปลว่า “สถานที่สำหรับรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เป็นต้น [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ไทย[/quote] ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 17 ทางด้านซีกโลกตะวันตก ได้มีการตื่นตัวในด้านการเก็บรวบรวม และสะสมทรัพย์สมบัติ และมรดกต่างๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่า สิ่งเก่าแก่ ที่หายาก และแปลกๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่และความมั่งคง ของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาตินั้นๆ ได้มีการรวบรวมหลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ

19 กันยายน วันพิพิธภัณฑ์ไทย Read More »