การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ
Title : การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ : Analysis and Design Techniques of Charge Pump Circuits
Researcher : ปิติกันต์ รักราชการ
Department : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140
E-mail : pitikan@siam.edu
บทคัดย่อ : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กลงและต้องประหยัดพลังงานมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งจ่ายพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วงจรอัดประจุเป็นวงจรหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากวงจรดังกล่าวสามารถเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้แหล่งจ่ายแรงดันระดับต่ำได้ ทั้งยังมีการสูญเสียต่ำ บทความนี้ได้กล่าวถึง หลักการทำงานเบื้องต้นของวงจรอัดประจุ คุณสมบัติและพฤติกรรมของวงจร พารามิเตอร์และแบบจำลอง เทคนิคและกลยุทธ์ในการออกแบบวงจร และการหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม วงจรแบบดิกสัน รวมถึงแนะนำเทคนิคในการออกแบบวงจรอัดประจุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
คําสําคัญ : การประหยัดพลังงาน แหล่งจ่ายพลังงาน วงจรอัดประจุ
Abstract : The technological advances in electronics and communication today. The consumer electronics today required smaller and more energy saving. These are the reason for the need of development of power supply to even higher levels of efficiency. Charge pump is a circuit that is used widely. Since such circuits can be increased by using high voltage as low voltage source and lossless. This article has discussed on basic operation of the pump charge circuit, the properties and behavior of the circuit, parameters and models, techniques and strategies in the design cycle and searching the appropriate parameters. Diskson Circuits and tricks of the design is applied in the present.
Keywords : Energy savings, Power supply, Charge Pump
Download PDF: การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ
Publication : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.1 Jan-Jun 2016
Link to Publication: http://apheit.bu.ac.th/index.php/read-science?id=156
Bibliography : ปิติกันต์ รักราชการ. (2559). การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(1), 112-125.
การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ (2558)
Title : การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ : The Study of the Expectations and Perceptions of Medical Service Quality
Researcher : ภัทรภร จิรมหาโภคา¹ และ พัทรียา หลักเพ็ชร
Pattaraporn Jiramahapoka & Patthareeya Lakpeth
Department : ¹Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : ¹ติดต่อได้ที่: bonjour.fai.ja@gmail.com
บทคัดย่อ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ที่เป็นชาวต่างชาติ โดยใช้ทฤษฎี resource-based view (RBV) กับการใช้ทรัพยากรขององค์กรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีคุณค่า (valuable) ด้านความหายาก (rare) ด้านความยากที่จะเลียนแบบ (inimitable) และด้านการไม่สามารถทดแทนได้ (non-substiutable) และตรวจสอบความสัมพันธ์ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังก่อนรับบริการกับการรับรู้หลังรับบริการของผู้ใข้บริการทางการแพทย์ วิธีการศึกษาแบ่งออกป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน สำหรับด้านอุปสงค์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ชาวต่างชาติจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สำหรับด้านอุปทานเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาศักยภาพของการบริการทางการแพทย์ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานประกอบการทางการแพทย์ จำนวน 3 คน และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้ง 2 ด้านมาสรุปเพื่อเป็นการศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีระดับความคาดหวังก่อนรับบริการมากกว่าระดับการรับรู้หลังรับบริการในทุกด้านหลัก ได้แก่ 1) ด้านความมีคุณค่า (valuable) 2) ด้านความหายาก (rare) 3) ด้านความยากที่จะเลียนแบบได้ (inimitable) และ 4) ด้านการไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ (non-substitutable) และในรายด้านความหายาก ข้อย่อยที่มีระดับการรับรู้มากกว่าระดับความคาดหวัง มีเพียงด้านเดียว คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานพยาบาลมีความพร้อมใช้งาน และด้านที่มีอันดับค่าเฉลี่ยความคาดหวังมากที่สุดเรียงอันดับ ได้แก่ 1) ด้านการไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ 2) ด้านความหายาก 3) ด้านความมีคุณค่า และ 4) ด้านความยากที่จะเลียนแบบได้ ตามลำดับ
คำสำคัญ : คุณภาพการบริการทางการแพทย์; ความคาดหวังและการรับรู้
Abstract : This research aimed to study the expectations and perceptions of medical service quality of foreign users. This research was based on the theoretical frameworks of resource-based view (RBV) and creating competitive advantages through four factors as follows: 1) valuable 2) rare 3) inimitable and 4) non-substitutable. The study also examined the relationship between the expectations of services provided and the final perception of actual services. This research aimed to study the demand and supply perspectives. Investigation of the demand side was conducted by using a quantitative approache to study the expectations and the perceptions of 400 foreigners who travelled to Thailand for medical purposes. The research instruments were questionnaires and semi-structured interviews. In terms of the supply side, qualitative approaches were implemented to study the potentials of medical establishments through in-depth interviews with three experts associated with medical institutions. Content analysis and secondary data were synthesized to derive the expectations and perceptions of medical service quality. It was found that the expectations of the medical tourists were higher than the perceptions after receiving services in all four aspects: 1) valuable 2) rare 3) inimitable and 4) non-substitutable. Of the four aspects, only one point in the rare aspect was exceptional in that the tourists’ perceptions were greater than their expectations; this was in conveninences available in medical facilities. The highest average expectations were ranked from greatest to least as follows: 1) non-substitutable 2) rare 3) valuable and 4) inimitable.
Keywords : medical service quality; expectation and perception
Download PDF : การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์
Publication : วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)
Link to Publication: https://www.tci-thaijo.org/index.php/abc/issue/view/5065
Bibliography : ภัทรภร จิรมหาโภคา และ พัทรียา หลักเพ็ชร. (2558). การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์. วารสารมนุษยศาสตร์, 22(2), 185-208.
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2
Title : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2: A Study of the Relationship Between the Participative Managementin Academic Task and the Achievement of Students in Basic Education Institutions Under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2
Researcher : กนกรัตน์ ทำจะดี¹ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์²
Department : ¹นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
²อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : love_mom_dad333@hotmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูฝ่ายวิชาการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกเจาะจงสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนละ 1 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายสำหรับครูผู้สอน โรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนละ 1 คน โรงเรียนขนาดกลางโรงเรียนละ 2 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : การบริหารแบบมีส่วนร่วม งานวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
Abstract : The objective of this research was to 1) study the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. 2) study the relationship between the participative management in academic task and the achievement of students in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. Representative sample groups were 86 schools which consisted of the administrators and the teachers in Academic departure by Purposive sampling for the administrators in each school and Simple random sampling for the teachers which were calculated by the proportion were 293 teachers. Data was gathered by questionnaires about Participative Management of Cohen and Uphoff and analyzed by descriptive statistic methods which were frequency distribution, percentage, mean and standard deviation and Pearson‘s Correlation Coefficient.
The study could be concluded as follow 1) the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 were of a high level in overall: Participation in involvement benefits, Participation in evaluation, Participation in decision and Participation in operation. 2) the relationship between the participative management and the achievement of students in Basic Education Institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 had the relationship and a statistically significant level at .01
Keywords : Participative management , Academic task , the achievement of students
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : กนกรัตน์ ทำจะดี และ สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 748-756). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.