การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
ชื่อบทความ : การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา: Development of School Administration Skills for Phrapariyattidhamma School Administrators, General Education Section
เจ้าของผลงาน : พระวรธนกร กิตฺติญาโณ แก้วพิลา, สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์ และ ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาด้านทักษะการบริหาร ๒) เพื่อพัฒนาทักษะการบริหาร ๓) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๕๕๖ รูป/คน สถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และแบบตรวจสอบกลุ่มตัวอย่าง ๒๐๑ รูป/คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพปัจจุบันปัญหาด้านทักษะการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่ามีการขาดการบริหารอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงแต่การมอบอำนาจในการตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีลำดับชั้นสูงกว่า การจัดการบริหารในภาพรวมไม่เด่นชัดรวมทั้งการบริหารจัดกิจการคณะสงฆ์ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับดี การสั่งการจากบนลงล่างการศึกษาของวัดและของคณะสงฆ์ขาดการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการที่ดี
๒. การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา สำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า ความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
๓. กระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย ๕ ส่วน ดังนี้ ๑) องค์ประกอบของทักษะผู้บริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน
๒) กระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน ๓) ประเภทการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน ๔) องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา ๖ ด้าน และ ๕) กิจกรรมการพัฒนาทักษะ ๕ กิจกรรม อีกทั้งยังพบหลักปาปณิกธรรม ๓ ที่ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บริหารที่ตรงตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ผู้มองการณ์ไกลในการทำงาน (จักขุมา) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน (วิธูโร) และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (นิสฺสยสัมปันโน)
คำสำคัญ : การพัฒนา, ทักษะการบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
Publication : วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2561
Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU Vol.5 No.3 September-December 2018
Link to Publication: http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/edmcu/issue/archive
Download PDF : https://tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/163594
Bibliography : พระวรธนกร กิตฺติญาโณ แก้วพิลา, สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์ และ สมหมาย จันทร์เรือง. (2554). การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 66-76.
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็งชนิดอ่อนเสริมด้วยผงโปรตีนมะพร้าวเข้มข้น (2563)
Title : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็งชนิดอ่อนเสริมด้วยผงโปรตีนมะพร้าวเข้มข้น (Development of Soft Cheese-Like Product Enriched with Coconut Protein Concentrate)
Researcher : สมฤดี ไทพาณิชย์
Department : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : somruedee.tha@siam.edu
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม: https://e-research.siam.edu/kb/development-of-soft-cheese-like-product/
Link to article: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | Thai Science and Technology Journal, Vol.28 No.12 (2020), 2173-2184. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/201210
Journal : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | Thai Science and Technology Journal / in TCI กลุ่มที่ 1
Bibliography : สมฤดี ไทพาณิชย์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็งชนิดอ่อน เสริมด้วยผงโปรตีนมะพร้าวเข้มข้น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(12), 2173-2184.
การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน
ชื่อเรื่อง : การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน: The Development of Mortar Mixed with Rubber Latex for Irrigation Canal Maintenance
เจ้าของผลงาน : ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน
เจ้าของผลงานร่วม: อาจารย์สมศักดิ์ ชินวิกกัย และ ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์
หน่วยงาน : ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
บทคัดย่อ : การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสมบัติของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์สำหรับใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองส่งน้ำชลประทาน ทั้งนี้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราโดยกำหนดอัตราส่วนปริมาณเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบมอร์ต้าร์ไม่ผสมน้ำยางพาราด้วยสำหรับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) แปรเปลี่ยนที่ 0.4, 0.5 และ 0.6 ผลการวิจัยพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน มีสมบัติทางกลและการดูดซึมน้ำดีที่สุด ดังนี้ กำลังรับแรงอัด 310 กก./ซม2 กำลังรับแรงดัด 70 กก./ซม2 กำลังรับแรงดึง 46 กก./ซม2 การดูดซึมน้ำร้อยละ 5.35 และ การรั่วซึมน้ำ 13.64 มม./วัน ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ถูกน้ำไปประยุกต์ใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองชลประทานที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี จากการติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคลองส่งนน้ำชลประทาน พบว่าปริมาณน้ำไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาไหลได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมได้ดีและทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบชลประทาน
คำสำคัญ : มอร์ต้าร์, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สมบัติทางกลของมอร์ต้าร์, คลองชลประทาน
Website : วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2561 http://www.kmutt.ac.th/rippc/v41n2.htm
Download PDF : การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน
Bibliography : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สมศักดิ์ ชินวิกกัย และ ชวน จันทวาลย์. (2561). การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 41(2), 211-223.
การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เคเคฟู๊ด จำกัด
Title : การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เคเคฟู๊ด จำกัด : The Development of Inventory Management System: A Case Study of KK Food Co., Ltd
Researcher : วีนา โชติช่วง, ณิชากร โรจนวัชร และ ชนสรณ์ อุทัยเภตรา
Veena Chotchuang, Nichakorn Rojanawat and Chonsorn Uthaipetra
Department : ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : veena.cho@siam.edu, nic_roj@siam.edu, cha_uth@siam.edu
บทคัดย่อ : บริษัทเคเคฟู๊ดจำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าบริโภค อาหารสดและอาหารแปรรูปต่างๆ การบันทึกสินค้าเป็นการจดลงกระดาษ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่ การบันทึกมีการผิดพลาด เกิดความไม่สะดวกในการสั่งสินค้าจากผู้ขายต้องนำข้อมูลที่เป็นลายมือที่จดบันทึกมาพิมพ์เป็นรายงาน เพื่อส่งแฟกซ์รายการสั่งซื้อสินค้ากับผู้แทนจำหน่าย ทำให้เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเสียเวลา
ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัทเคเคฟู๊ดจ ากัดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก จัดการข้อมูลต่างๆให้เป็นระบบ ช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน มีการออกรายงานที่ถูกต้อง ระบบนี้พัฒนาตามกรอบแนวคิด SDLC (System Development Life Cycle) โดยใช้ waterfall model ในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน ทำให้สามารถตรวจสอบ และกลับมาแก้ไขในขั้นตอนก่อนหน้าได้ ระบบถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP บนใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL รวมถึงการนำทฤษฎี Operation Research มาจัดการในเรื่องการจัดการสินค้าคงเหลือ และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่ดีที่สุด ทั้งนี้เป็นการลดต้นทุนการขนส่งสินค้ากับธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องกับระบบจะประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นลูกค้า, เจ้าของร้าน, ผู้แทนจำหน่าย และ พนักงานในร้าน โดยมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบอยู่ในระดับดี คือ 4.43 จากผลการดำเนินงานสรุปได้ว่า ระบบช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าได้อย่างถูกต้อง สามารถลดปริมาณสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวส่งผลให้ต้นทุนสินค้าค้างสต๊อกลดลง มีการจัดสำรองสินค้าไว้ในระบบได้อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นการลดปัญหาสินค้าไม่พอจัดจำหน่ายซึ่งอาจทำให้ธุรกิจขาดรายได้ ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ลดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินงาน และฟังก์ชันการใช้งานต่างๆในระบบตรงไปตามความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์
คําสําคัญ : ระบบบริหารจัดการสินค้า, จัดการสินค้า, บริษัทเคเคฟู๊ดจำกัด
Abstract : KK Food Co., Ltd. is a distributor in the food industry. The company provides both fresh and processed products, and it has experienced some difficulties in its inventory management system. Formally, a paper-based system was used; as a result, mistakes were found in the records. Also, the process of placing orders was inconvenient and redundant as the information that was originally written in a paper needed to be entered on a computer before being faxed to manufacturers. This redundancy has wasted valuable time of the company. Therefore, researchers have developed an inventory management system based on the case study of KK Food Co., Ltd. in order to facilitate work process, systemize the data, reduce task redundancy, and enhance data accuracy. This system, written with PHP script on MySQL database system, was developed based on the framework of SDLC (System Development Life Cycle), and the Waterfall Model was used for software development so that revision and verification can be conducted. The Operation Research theory was applied in the inventory management and order quantity adjustment as it will reduce logistics cost when distributing products to customers, shop owners, distributors, and shop staff. The level of user satisfaction was high, with the score at 4.43. The results of system evaluation indicated that this system enhanced the efficiency and accuracy of inventory management. Also, this program helped to reduce excessive stock and inventory cost, and maximized distribution efficiency. The system operated perfectly in terms of what it was designed for; making the work process more convenient, reducing errors and mistakes, and meeting user requirements.
Keywords : inventory management system, inventory management, KK Food Co., Ltd
Proceeding : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Link to Proceeding: https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content
Bibliography : วีนา โชติช่วง, ณิชากร โรจนวัชร และ ชนสรณ์ อุทัยเภตรา. (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เคเคฟู๊ด จำกัด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 236-IT 243). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
การพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Title : การพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : Development of Teaching Evaluation System of Siam University via Internet Network
Researcher : จักรพันธุ์ รักธรรมนูญ Raktamnoon J.
Department : สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : jackrapan02@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามที่ทํางานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์สําหรับเป็นเครื่องมือในการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์แทนระบบเดิมที่มีความล่าช้า ไม่สามารถให้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยพัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชั่น แบ่งการทํางานออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 สําหรับผู้ดูแลระบบในการสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินการสอน ส่วนที่2 สําหรับนักศึกษาในการทําการประเมินอาจารย์ผู้สอนผ่านหน้าเว็บไซต์ และส่วนที่3 สําหรับอธิการบดี คณบดี หัวหน้าภาค และอาจารย์ ในการเข้าถึง ผลการประเมินการสอนผ่านหน้าเว็บไซต์โดยแสดงผลได้ทั้งรูปแบบของตารางและกราฟเปรียบเทียบตามประเภทรายวิชาและระดับความยากง่าย ภาษาที่ใช้ในการพัณนา ได้แก่ ภาษา PHP, JavaScript, HTML5, CSS จัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล MySQL และบริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา SQL สร้างกราฟด้วย HighCharts API ผลการดําเนินงานเมื่อทําการติดตั้งและทดลองใช้งานจริง พบว่า ระบบสามารถทํางานได้ตามฟังก์ชันการทํางานที่กําหนดไว้ สามารถแสดงผลการประเมินการสอนได้ถูกต้องทั้งในรูปแบบของตารางและกราฟ และจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาและอาจารย์จํานวน 20 คนด้วยแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบในส่วนของแบบสอบถามประเมินการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และประสิทธิภาพของระบบในส่วนการแสดงผลการประเมินการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีระดับความพีงพอใจอยู่ในระดับดี ทั้ง 2 ส่วน ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และ 4.02 ตามลําดับกล่าวได้ว่าระบบที่พัฒนานี้สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดีสามารถให้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการได้
คําสําคัญ : ประเมินการสอนออนไลน์, มหาวิทยาลัยสยาม
Abstract : This research is the development of a Teaching Evaluation System of Siam University via Internet Network. This is a tool for assessing and improving the teacher’s teaching effectiveness to replace the old system with the delay and cannot provide the information for user needs. It has been developed as a web application consists of three parts: Part one for the administrator to create and manage the questionnaire used in the assessment, Part two for students to assess the teacher and Part three for president, dean, director and teacher for accessing the teaching evaluation results displayed in forms of table and graph comparison by subject type and difficulty level. The system has been developed by PHP, JavaScript, HTML5, CSS, and SQL as programming, use MySQL as a database management system and create graphs by HighCharts API. After installation and trail run, the result is the system can operate by defining functionality and can display accurate assessment results. In the evaluation process, the questionnaire is applied to 20 subjects. The results show that the level of satisfaction of the users is good. The systemdeveloped can be applied to the organization and can provide the information that the user needs.
Keywords : online teaching evaluation, Siam University
Proceeding : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
Link to Proceeding: https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content
Bibliography : จักรพันธุ์ รักธรรมนูญ. (2560). การพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 1317-1326). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (2562)
Title : การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร : Development of Mental Health Promotion Model in Community by Participatory Action Research Process: Case Study of a Community in Bangkok
Researcher : Susaree Prakhinkit, Jarusdaw Renold, Orntipa Songsiri
สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์, อรทิพา ส่องศิริ
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน มีผู้เกี่ยวข้องจำนวน 38 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขอาจารย์พยาบาลสมาชิกในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเวทีประชาคม เสวนากลุ่มย่อย การสังเกต และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย4องค์ประกอบ ได้แก่ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน อิทธิพลระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านตัวบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์สอดคล้องกับแบบส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) ภายหลังสิ้นสุดโครงการ สมาชิกในชุมชนมีความสุขในระดับปกติมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีสมาชิกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดเห็นความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสามารถเผชิญกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
คําสําคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพจิต กระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชน กรุงเทพมหานคร
Abstract : The research was participatory actionresearch.Theobjective was to develop a model of mental health promotion in community. The thirty-eight participants including nurses of public health service center, nursing instructor, village health volunteers and members community joined this study. This research was conducted during June 2015 to May 2016. Theresearchinstruments werein-depthinterviews, civil society forum, small group discussion,
observation, and lesson learned visualizing. Content Analysis was used to analyze qualitative data, while descriptive statistics were performed for quantitative data. The results found that the model mental health promoting was composed of four factors; community leader factors, interpersonal influence, personal factors and situational influence. These 4 factors corresponded well with the model of Pander (2002). At the end of the research members community reported having improved happiness and qualityof life. They were interested and participated inrelaxationactivities. They were awareof good family relationship. Patients with mental disorder took medicine as prescribed by the doctor and dealt with stress effectively.
Keywords : Mental Health Promotion, Participatory Process, Community, Bangkok
Link to Publication : วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์ และ อรทิพา ส่องศิริ . (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 8(1), 7-17.
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน ในบริบทการเรียนรวมระหว่างนักเรียนไทยและนักเรียนข้ามชาติ
[mfn]เสริตา เจือศรีกุล อภิชาติ พลประเสริฐ และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน ในบริบทการเรียนรวมระหว่างนักเรียนไทยและนักเรียนข้ามชาติ. วารสารครุศาสตร์, 46(4), 419-438.[/mfn] การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน ในบริบทการเรียนรวมระหว่างนักเรียนไทยและนักเรียนข้ามชาติ
เสริตา เจือศรีกุล อภิชาติ พลประเสริฐ และ ชนิตา รักษ์พลเมือง
Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์
[mfn]เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์. วารสารครุศาสตร์, 44(3), 160-175[/mfn] การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์
เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ
Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (2562)
ชื่อบทความ : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : The Training Curriculum Development for Section Chief Vocational Education Institutes based on the Concept of Routine to Research
เจ้าของผลงาน : เบญจวรรณ บวรกุลภา รวีวรรณ ชินะตระกูล และมนต์ชัย เทียนทอง
หน่วยงาน : ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : varaporn.lim@siam.edu
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พัฒนาหลักสูตรและ หาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม มีขั้นตอนวิจัย 9 ขั้นคือ ศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม สังเคราะห์หัวข้อ ร่างรูปแบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พัฒนาหลักสูตร ประเมินหลักสูตร นำหลักสูตรไปทดลอง นำไปใช้จริง และติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมายในขั้นทดลองจำนวน 25 คนและ ขั้นนำไปใช้ มีจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบฝึกหัด แบบทดสอบ และแบบสอบถามขั้นสำรวจมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 108 แห่งทั่วประเทศและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 788 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรได้รูปแบบของพิสิฐ เมธาภัทร หลักสูตรประกอบด้วย เนื้อหา การประเมิน สื่อ กิจกรรมขั้นตอนภายใต้วงจรเดมมิ่ง การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมประยุกต์ใช้รูปแบบซิป ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหัวข้อหลักสูตรประกอบด้วย 5 หัวข้อ 1) การกำหนดปัญหาในการวิจัย 2) การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การออกแบบการวิจัย 4) การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการวิจัย 5) รายงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยผลการนำไปทดลองมีประสิทธิภาพ 84.21/82.05 และนำไปใช้ เท่ากับ 82.76/81.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 การประเมินผล หลักสูตร พบว่า ความพึงพอใจหลังฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ผลติดตามวิทยาลัย 4 แห่งอยู่ในระดับดี
คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
Abstract : This research intended to Develop a Models, the training program and Efficiency evaluation for Section Chief vocational education Institutes based on the concept routine to research, was conducted through 9 research steps, i.e. situation and needs analysis, synthesis of routine to research, development of draft model, evaluation of the model appropriateness, development of the program, evaluation of the program, trial of the program, implementation with the target group, and evaluation. The target group in the trial step consisted of 20 persons while that of the implementation was 25 persons with the qualification according to the set criteria. The questionnaire was used to survey 108 vocational institutes on 788 subjects. Research statistics included frequency, percentage, arithmetic mean, and SD with the results as follows. Model of the training curriculum development for Section Chief vocational education colleges based on the concept routine to research according to Pisit Methapatara Model revealed that the program consisted of analysis steps, synthesis of the topic, modification of the topic, and objectives, developed program consisting of content, evaluation, teaching media, and activities under the Deming Cycle, the developed program was evaluated through CIPP Model. The development of this training program consisted of 5 topics, i.e. 1) define the research problem, 2) review literature and related researches, 3) design the research, 4) collect data, and statistics 5) report the routine to research and results research to apply. It was found that the developed research reached the efficiency of try out was 84.21/ 82.05 and the efficiency of implementation was 82.76/ 81.50 higher than the set criteria at 80/80.The results of the program evaluation by CIPP Model showed that the trainees reported high satisfaction and the follow-up study evaluated by the specialists on 4 colleges was at high level.
Keywords : Training program development, routine to research
Publication : วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 31 ฉบับที่ 110 เม.ย.-มิ.ย. 2562 Journal of Technical Education Development Vol.31 No.110 Aprril-June 2019
Link to Publication: http://www.ited.kmutnb.ac.th/ejournal/
Bibliography : เบญจวรรณ บวรกุลภา, รวีวรรณ ชินะตระกูล และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(110), 72-79.
การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานผู้เรียนอย่างรอบด้านในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
[mfn]เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อวยพร เรืองตระกูล, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล, โสมฉาย บุญญานันต์ และ มิ่งขวัญ ศิริโชติ. (2559). การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานผู้เรียนอย่างรอบด้านในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(1), 1-14.[/mfn] การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานผู้เรียนอย่างรอบด้านในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อวยพร เรืองตระกูล, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล, โสมฉาย บุญญานันต์ และ มิ่งขวัญ ศิริโชติ