การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (2562)
Title : การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร : Development of Mental Health Promotion Model in Community by Participatory Action Research Process: Case Study of a Community in Bangkok
Researcher : Susaree Prakhinkit, Jarusdaw Renold, Orntipa Songsiri
สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์, อรทิพา ส่องศิริ
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน มีผู้เกี่ยวข้องจำนวน 38 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขอาจารย์พยาบาลสมาชิกในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเวทีประชาคม เสวนากลุ่มย่อย การสังเกต และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย4องค์ประกอบ ได้แก่ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน อิทธิพลระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านตัวบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์สอดคล้องกับแบบส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) ภายหลังสิ้นสุดโครงการ สมาชิกในชุมชนมีความสุขในระดับปกติมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีสมาชิกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดเห็นความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสามารถเผชิญกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
คําสําคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพจิต กระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชน กรุงเทพมหานคร
Abstract : The research was participatory actionresearch.Theobjective was to develop a model of mental health promotion in community. The thirty-eight participants including nurses of public health service center, nursing instructor, village health volunteers and members community joined this study. This research was conducted during June 2015 to May 2016. Theresearchinstruments werein-depthinterviews, civil society forum, small group discussion,
observation, and lesson learned visualizing. Content Analysis was used to analyze qualitative data, while descriptive statistics were performed for quantitative data. The results found that the model mental health promoting was composed of four factors; community leader factors, interpersonal influence, personal factors and situational influence. These 4 factors corresponded well with the model of Pander (2002). At the end of the research members community reported having improved happiness and qualityof life. They were interested and participated inrelaxationactivities. They were awareof good family relationship. Patients with mental disorder took medicine as prescribed by the doctor and dealt with stress effectively.
Keywords : Mental Health Promotion, Participatory Process, Community, Bangkok
Link to Publication : วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์ และ อรทิพา ส่องศิริ . (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 8(1), 7-17.
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (2562)
ชื่อบทความ : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : The Training Curriculum Development for Section Chief Vocational Education Institutes based on the Concept of Routine to Research
เจ้าของผลงาน : เบญจวรรณ บวรกุลภา รวีวรรณ ชินะตระกูล และมนต์ชัย เทียนทอง
หน่วยงาน : ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : varaporn.lim@siam.edu
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พัฒนาหลักสูตรและ หาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม มีขั้นตอนวิจัย 9 ขั้นคือ ศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม สังเคราะห์หัวข้อ ร่างรูปแบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พัฒนาหลักสูตร ประเมินหลักสูตร นำหลักสูตรไปทดลอง นำไปใช้จริง และติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมายในขั้นทดลองจำนวน 25 คนและ ขั้นนำไปใช้ มีจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบฝึกหัด แบบทดสอบ และแบบสอบถามขั้นสำรวจมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 108 แห่งทั่วประเทศและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 788 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรได้รูปแบบของพิสิฐ เมธาภัทร หลักสูตรประกอบด้วย เนื้อหา การประเมิน สื่อ กิจกรรมขั้นตอนภายใต้วงจรเดมมิ่ง การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมประยุกต์ใช้รูปแบบซิป ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหัวข้อหลักสูตรประกอบด้วย 5 หัวข้อ 1) การกำหนดปัญหาในการวิจัย 2) การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การออกแบบการวิจัย 4) การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการวิจัย 5) รายงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยผลการนำไปทดลองมีประสิทธิภาพ 84.21/82.05 และนำไปใช้ เท่ากับ 82.76/81.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 การประเมินผล หลักสูตร พบว่า ความพึงพอใจหลังฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ผลติดตามวิทยาลัย 4 แห่งอยู่ในระดับดี
คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
Abstract : This research intended to Develop a Models, the training program and Efficiency evaluation for Section Chief vocational education Institutes based on the concept routine to research, was conducted through 9 research steps, i.e. situation and needs analysis, synthesis of routine to research, development of draft model, evaluation of the model appropriateness, development of the program, evaluation of the program, trial of the program, implementation with the target group, and evaluation. The target group in the trial step consisted of 20 persons while that of the implementation was 25 persons with the qualification according to the set criteria. The questionnaire was used to survey 108 vocational institutes on 788 subjects. Research statistics included frequency, percentage, arithmetic mean, and SD with the results as follows. Model of the training curriculum development for Section Chief vocational education colleges based on the concept routine to research according to Pisit Methapatara Model revealed that the program consisted of analysis steps, synthesis of the topic, modification of the topic, and objectives, developed program consisting of content, evaluation, teaching media, and activities under the Deming Cycle, the developed program was evaluated through CIPP Model. The development of this training program consisted of 5 topics, i.e. 1) define the research problem, 2) review literature and related researches, 3) design the research, 4) collect data, and statistics 5) report the routine to research and results research to apply. It was found that the developed research reached the efficiency of try out was 84.21/ 82.05 and the efficiency of implementation was 82.76/ 81.50 higher than the set criteria at 80/80.The results of the program evaluation by CIPP Model showed that the trainees reported high satisfaction and the follow-up study evaluated by the specialists on 4 colleges was at high level.
Keywords : Training program development, routine to research
Publication : วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 31 ฉบับที่ 110 เม.ย.-มิ.ย. 2562 Journal of Technical Education Development Vol.31 No.110 Aprril-June 2019
Link to Publication: http://www.ited.kmutnb.ac.th/ejournal/
Bibliography : เบญจวรรณ บวรกุลภา, รวีวรรณ ชินะตระกูล และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(110), 72-79.
การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (2562)
Title : การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University)
Researcher : เสถียร พูลผล (Sathian Phunpon) นฤมล โพธิ์ศรีทอง (Narumol Phosritong) อรวรรณ จิตรวาณิช (Orawan Chitvanich) และ รักษ์จินดา วัฒนาลัย (Ruxjinda Wattanalai)
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม : –
Link to article : Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts) Vol. 12 No. 1 : January – February 2019
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147798
Journal : Veridian E-Journal Silpakorn University / TCI กลุ่มที่ : none หยุดตีพิมพ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
Citation : เสถียร พูลผล, นฤมล โพธิ์ศรีทอง, อรวรรณ จิตรวาณิช, และ รักษ์จินดา วัฒนาลัย. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University). Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 12(1), 1107-1124.
ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)
ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)
ผู้เขียนบทความ: ผศ.ดร.ภญ. อรวรรณ จิตรวาณิช
บทคัดย่อ:
เภสัชกรในโรงพยาบาลโดยเฉพาะของรัฐ มักจะได้รับใบสั่งแพทย์ให้เตรียมยาหรือต้องจ่ายยาเฉพาะคราว (extemporaneous preparation) หรือยาเตรียมเฉพาะรายในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากในท้องตลาด ไม่มีรูปแบบที่ต้องการ ยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ ที่เภสัชกรเตรียมขึ้นนั้นมักขาดข้อมูลของสูตรตำรับและความคงสภาพที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ยาเตรียมนั้นยังคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา บทความนี้จึงรวบรวมความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวพร้อมสูตรตำรับจากงานวรรณกรรมแหล่งต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดวันหมดอายุ หรือวันที่ไม่ควรใช้เภสัชภัณฑ์นั้นอีกต่อไป (beyond-use date, BUD) ซึ่งพบว่า นอกจากการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเกิด oxidation, hydrolysis, photolysis หรือ thermolysis ยังมีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยากับส่วนประกอบทั้งในสูตรของรูปแบบที่นำมาเตรียม และที่นำมาช่วยในตำรับยาเตรียมเฉพาะคราว
คำสำคัญ: ยาเตรียมเฉพาะคราว ความคงสภาพ รูปแบบยา
Link to Academic article: ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ
ความรู้ทั่วไปสำหรับเภสัชกรเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในเด็ก (2562)
บทคัดย่อ
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (hematopoietic stem cell transplantation: HSCT) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดแทนเซลล์ที่ผิดปกติในไขกระดูกหรือเพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคร้ายชนิดต่าง ๆ ในเด็กให้มีโอกาสหายขาด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งชนิดก้อน โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียระดับรุนแรง โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง และกลุ่มโรคทางภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่ กำเนิด ก่อนการทำ HSCT เซลล์ต้นกำเนิดดั้งเดิมในไขกระดูกของผู้ป่วยจำเป็นจะต้องถูกทำลายเสียก่อนโดยการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง (อาจใช้ร่วมกับการฉายรังสี) ที่เรียกว่า preparative regimens โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 วันแล้วแต่สูตรการรักษา เซลล์ ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่ปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยมีแหล่งที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ไขกระดูก กระแสเลือด หรือสายสะดือของผู้บริจาค จากนั้นจะนำมาบริหารให้แก่ผู้ป่วยหลังจากได้รับสูตรยา preparative regimens เสร็จสิ้นแล้ว กระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้น กำเนิดอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันในผู้ป่วยเด็กแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค สภาพความพร้อมทางร่างกาย ชนิดของการปลูกถ่าย แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด ชนิดของสูตรยา preparative regimens และยาที่ใช้ในการป้องกันภาวะเซลล์ต้น กำเนิดใหม่ต่อต้านร่างกาย (graft-versus-host disease: GVHD) เภสัชกรมีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่ง ยา ผสมยาเคมีบำบัด และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากยา preparative regimens ได้เช่น การใช้ยา ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด การป้องกันเยื่อบุในช่องปากอักเสบ การใช้ยาป้องกันการชักจากยา busulfan การ ใช้ mesna ในการป้องกันการอักเสบและมีเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะจากยา cyclophosphamide การช่วยติดตามและปรับระดับยาในเลือดของยา busulfan หรือยากดภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรกิริยา ระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา คำสำคัญ: เภสัชกร มะเร็งในเด็ก การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ยาเคมีบำบัดขนาดสูงก่อนปลูกถ่าย
งานที่อ้างถึง
ทักษิณ จันทร์สิงห์. (2562). ความรู้ทั่วไปสำหรับเภสัชกรเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในเด็ก. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 194-214.
บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายของชีวิต (2562)
ชื่อบทความ : บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายของชีวิต
Title : The nurse’s role in end-of-life care in newborn infants
ผู้เขียน/Author : พุทธวรรณ ชูเชิด, เฟื่องสุข ไพศาลกอบฤทธิ์ และ นิสาพร สลางสิงห์
Researcher : Puthawan Choocherd PhD*, Fueangsuk Paisankobrit MS*, Nisaporn Salangsing MS*
Department : *Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail :
Abstract : Introduction: The prematurity newborn infants have the highest death rate in the pediatric population. The death pattern of the newborn infants up to 45 percent to 90 percent is due to withdrawing or withholding life sustaining treatment. The professional nurses should be provided the best possible quality of life for the newborn infants to die peacefully including providing an appropriate family support during that time.
Objective: This article aim to present the newborn infants in the end of life with a life-limiting condition. Nurseûs role in neonatal palliative care and family support in accordance with laws and biomedical ethics.
Methodology: Review articles
Results: The professional nurses are the key players in the provision of neonatal palliative care because most newborn infants die in the hospitals. Neonatal palliative care should be tailored to the different needs and desires of each family as well as to preserve the dignity and humanity of the newborn infants until death. The Nursing roles are using the simple and direct communication, encouraging families to decide to accept or reject palliative care, accepting the families to take off the ventilators and funeral arrangements. Including taking care
of the familyûs grief from the loss after the newborn has passed away.
Conclusion: Neonatal nurses should have a positive attitude towards caring for newborn infants in the end of life and also remains legally and ethically working.
Keywords : newborn infants, end-of-life care, neonatal palliative care, nurseûs role
Link to Published: วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.2562
Bibliography : พุทธวรรณ ชูเชิด, เฟื่องสุข ไพศาลกอบฤทธิ์ และ นิสาพร สลางสิงห์. (2562). บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายของชีวิต. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 15(2), 69-81.
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม (2562)
Researcher : ขวัญเรือน ก๋าวิตู และ ชนิดา มัททวางกูร
E-mail : Corresponding author: sarangaeyo19@gmail.com
Bibliography : ขวัญเรือน ก๋าวิตู และ ชนิดา มัททวางกูร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 82-95.
วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 20 ฉบับที่ 38 ม.ค.-มิ.ย. 2562
Journal of Nursing, Siam University Vol. 20 No. 38 Jan-Jun 2019
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ (2562)
Researcher : Sutida Deenoo, Lecturer, Chanida Mattavangkul, Lecture (Ph.D), Kwanruen Kawitu, Lecturer, Sirinat Sinwannakool, Lecturer
E-mail :Corresponding author: sutida.dee@gmail.com
Bibliography : ชนิดา มัททวางกูร, ขวัญเรือน ก๋าวิต, สุธิดา ดีหนู และ สิริณัฐ สินวรรณกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 99-109.
วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 20 ฉบับที่ 39 ก.ค.-ธ.ค. 2562 Journal of Nursing, Siam University Vol. 20 No. 39 Jul-Dec 2019
ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (2562)
Title : ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ : Effects of mind and body exercise five happiness program for lipid profile percent fat bone mineral density and blood pressure in elderly club
Researcher : สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, กาญจนา งามจันทราทิพย์
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
Abstract : This study was an experimental research with a two-group, pre-post test design carried out to determine the potential effects of the five-happiness, mind-and-body exercise program on lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), bone mineral density (BMD), and blood pressure in members of the elderly club. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n = 25), and exercise groups (n = 25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. Blood samples were collected and laboratory assessments were performed for lipid profile, body fat percentage (BFP), bone mineral density (BMD), and blood pressure pre-post program. Pre and post-intervention, intra-group data analysis was performed using paired t-test and inter-group data was analyzed using independent t-test. The results showed that lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure had decreased while body mineral density (BMD) had increased significantly among participants in the exercise group (p<0.05). However, there was no significant change from baseline for lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), and blood pressure in the control group. It was found that there was a statistically significant decrease in lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while there was a statistically significant increase in bone mineral density (BMD) in the intervention group, when compared with the control group (p<0.05). We concluded the five-happiness, mind-and-body exercise program was effective in reducing lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while increasing bone mineral density (BMD), in members of the elderly club.
Keywords : he five-happiness, mind-and-body exercise program, ipid profile, blood pressure
Link to Publication : วารสารควบคุมโรค ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2562
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์ และ กาญจนา งามจันทราทิพย์. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ. วารสารควบคุมโรค, 45(2), 180-190.
ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง (2562)
Title : ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง : The effectiveness created happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) to stress happiness and quality of life for caregiver of schizophrenia inurban community
Researcher : สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก, พาจนา ดวงจันทร์
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทผ่านแอพพลิเคชันต่อระดับความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเขตเมือง โดยพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดแอปพลิเคชัน บนหลักการการจัดการความเครียด ด้วยวิธีการสร้างภาพตามจินตนาการ (Guided Imagery) สมาธิแบบการเคลื่อนไหว ( Dynamic meditation) เสียง ดนตรีบําบัด (Music therapy) ภายใต้ชื่อ GDM application และ ทดสอบโปรแกรมในผู้ดูแลจํานวน 30 คนสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มควบคุมจํานวน 15 คนกลุ่มทดลอง 15 คนใช้โปรแกรม 6 วัน/สัปดาห์เป็นระยะ 4 สัปดาห์ ประเมินความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต เปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้ สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอยางเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพ ่
ชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ในกลุ่มทดลอง แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหวางกลุ่ม พบว่าความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 สรุปได้ว่า โปรแกรมสร้างสุข จัดการความเครียดผ่านจีดีเอ็มแอปพลิเคชันสามารถช่วยลดความเครียดเพิ่มความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมืองได้
คําสําคัญ : โปรแกรมสร้างสุข ผอนคลายความเครียดผ่านแอปพลิเคชั่น ความสุข ความเครียด
Abstract : This study was quasi-experimental research with two groups pre-post test design carried out to development happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) and determine the effects of the happiness relaxation stress program through GDM application for stress, happiness and quality of in caregiver of schizophrenia in urban community. This research methodology was developed happiness relaxation stress program through GDM application approach relaxation stress by guided Imagery, dynamic meditation, music therapy and used name GDM application and determine the effects of program. A total of 3 0 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=15), and experimental groups (n=15). happiness relaxation stress program through GDM application was designed using for 6 times/ week for 4 weeks. The stress, happiness, quality of life were assessed pre-post program. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that stress was less, increasing happiness and quality of life were higher in the experimental group (p<0 .0 5 ). However, there were no significant difference for stress, happiness, quality of life in control group. Experimental group was a significantly happiness and quality of life higher and stress lower than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the happiness relaxation stress program through GDM application program was effective in decreasing stress, increasing happiness quality of life in caregiver of schizophrenia in urban community.
Keywords : The happiness relaxation stress program through GDM application program, stress, happiness
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก และ พาจนา ดวงจันทร์. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง, ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3: การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล (หน้า 225-236). นนทบุรี: กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.