การจัดการทางการสื่อสารในองค์กรในช่วงการทำงานที่บ้าน (2563)

Title              : การจัดการทางการสื่อสารในองค์กรในช่วงการทำงานที่บ้าน (Communication management in organization during work from home)

Researcher       :  ดร.ธีติมา ปิยะศิริศิลป์
Department     :  MBA, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  teetima_p@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากบุคลากรในมหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured or the general
interview guide approach) และมีการนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์ด้วยการเขียนเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการทางการสื่อสารในองค์กรในช่วงการทำงานที่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยสยามมีการสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication) ในลักษณะการสื่อสารแบบบนลงล่าง (Downward Communication) การสื่อสารแบบล่างขึ้นบน (Upward Communication) การสื่อสารแบบแนวทแยง (Diagonal Communication) การสื่อสารแบบแนวราบ (Lateral or Horizontal Communication) และการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) รวมทั้งมีการสื่อสารในรูปแบบการสื่อสารสองทา ง (Two-way communication) การสื่อสารยังเป็นแบบเห็นหน้าค่าตา (Face to face communication) และสื่อสารแบบข้อมูลป้นกลับ (Feedback) นอกจากนี้การจัดการทางการสื่อสารมีความสำคัญมากและส่งผลต่อการเรียนการสอน การทำงาน การติดต่อ และการประสานงานในองค์กร

คำสำคัญ             : การจัดการทางการสื่อสาร, การสื่อสารในองค์กร, การทำงานที่บ้าน

Abstract            :  This research is a qualitative research. Data was collected by in-depth Interview from employees in Siam University and participatory observation. The researcher was employed purposive sampling, semi-structured or the general interview guide approach, and the research result was presented into descriptive analysis. This research aimed to investigate the management communication in Organization during work from home. The results reveal that
personnel of Siam University have been using formal communication and informal communication in form of downward communication, upward communication, diagonal communication and lateral or horizontal Communication. Including two-way communication, face to face communication, and feedback. Moreover, communication in management plays an important role and effects to learning, working, and coordinating in organization.

Keywords         : Management Communication, Communication in Organization, Work from Home.


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ National and International Academic Conference Innovation and Management for Sustainability 9-10 July 2020 Eastin Grand Hotel Sathorn Bangkok                             

Link to Proceeding SECTION 1 : Link Download (compressed 8 MB)   |   Link Download  (39.9 MB )


Bibliography    :  ธีติมา ปิยะศิริศิลป์ และ ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ. (2563). การจัดการทางการสื่อสารในองค์กรในช่วงการทำงานที่บ้าน (Communication management in organization during work from home). ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ National and International Academic Conference Innovation and Management for Sustainability 9-10 July 2020 (หน้า 510-525). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Quick View

การติดตามผลการพัฒนาอาจารย์พยาบาลด้านการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (2566)

ชื่อบทความ       : การติดตามผลการพัฒนาอาจารย์พยาบาลด้านการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

Title              : A Follow up study of the development of nurse educators for rational drug use instruction in the Bachelor of Nursing Science Program

ผู้เขียน/Author  : ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์, ศุกร์ใจ เจริญสุข, กนกเลขา สุวรรณพงษ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, นฤมล อังศิริศักดิ์* , กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ

Researcher       : Laddawon Vaisurasingha, Sukjai Charoensuk, Kanoklekha Suwannapong, Ladda Leungratanamart, Naruemol Angsirisak* , Kamolrat Turner and Suntharawadee Theinpichelts

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม    :  https://e-research.siam.edu/kb/a-follow-up-study/

Link to article : วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2566 | Bcnnon Health Science Research Journal Volume 17 No.3: September – December 2023 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265518/180224 


Link to Published: วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดนนทบุรี / TCI 1


Bibliography     :  ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์, ศุกร์ใจ เจริญสุข, กนกเลขา สุวรรณพงษ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, นฤมล อังศิริศักดิ์, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ. (2566). การติดตามผลการพัฒนาอาจารย์พยาบาลด้านการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 17(3), 54-64.


 

Quick View

การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ (2558)

 

[mfn]อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2558). การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ. สยามวิชาการ, 16(1), 74-88.[/mfn]    การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ

อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ  :  งานศึกษาวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพแบบ Granger ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง โดยเป็นความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียว กล่าวคือ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสามารถในการทำนายราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง แต่ในทางกลับกันเราไม่สามารถนำราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่งไปใช้ทำนายราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพในทิศทางใดๆ ระหว่างราคาน้ำมันดีเซลกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง

คำสำคัญ  : ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพ

Abstract:  We have studied Granger causality between the prices of oil and gold or gold products. The major finding is that there is one-way Granger causality between the prices of Gasohol 95 and gold. The change in prices of Gasohol 95 can predict change in prices of gold or gold products. On the other hand, the change in prices of gold or gold products cannot predict change in prices of Gasohol 95. However, we do not find Granger causality between the prices of Gasoline and gold or gold products in any directions.

Keyword  : Granger causality


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 16 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 26 ก.ค.-ต.ค. 2558 Siam Academic Review Vol. 16 No.1 Issue 26 Jul-Oct 2015

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่19ฉบับที่32-มีนาคม-กรกฎาคม-2561

การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน (2561)

[mfn]สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2561). การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน. สยามวิชาการ, 19(1), 1-18.[/mfn]    การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน
สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ     :  บทความนี้สนใจทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน ระเบียบวิธีการศึกษาจะเริ่มต้นจากทดสอบความนิ่ง (Stationary) ของข้อมูลอนุกรมเวลา จากนั้นสร้าง แบบจําลอง Autoregressive Model (AR(p)) โดยใช้ Akaike Information Criterion (AIC) กําหนดค่า p ที่เหมาะสมที่สุด สุดท้ายจึงทดสอบโดยใช้ F-test with n restriction ผล
การศึกษาเชิงเศรษฐมิติสามารถสรุปได้ว่า สมมติฐานนี้เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดรองเท้า หมวดเครื่องใช้และการบํารุงรักษาครัวเรือน และหมวดอุปกรณ์การประมวลผลข้อมูลภาพและเสียง อย่างไร
ตาม สมมติฐานข้างต้นไม่เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดเสื้อผ้า หมวดเครื่องเรือน และหมวดยานพาหนะ

คําสําคัญ    : การทดสอบสมมติฐาน, สินค้าคงทน

Abstract  :  This paper tests the hypothesis “high past durable goods spending leads low present durable goods spending”. We use econometric methods such as the unit root test, selecting
autoregressive model (AR (p)) with Akaike information criterion (AIC), and F-test with n restriction. The hypothesis is accepted for (a) footwear, (b) household equipment and maintenance of the house, and (c) audio-visual, photographic and information processing equipment. The hypothesis is rejected for (d) clothing, (e) furniture, and (f) purchase of vehicles.

Keywords  :  Hypothesis Testing, Durable Goods


 

Quick View

การประเมินนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสมรรถนะ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาจารย์พยาบาล (2563)

ชื่อบทความ       : การประเมินนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสมรรถนะ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาจารย์พยาบาล

Title              : An Evaluation of the Policy of Integrating RDU Curriculum into the Bachelor of Nursing Science Program and RDU Competency of Nurse Instructors

ผู้เขียน/Author  : ภาวิดา พุทธิขันธ์, กนกเลขา สุวรรณพงษ์, นฤมล อังศิริศักดิ์, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ 

Researcher       : Phawida Putthikhan, Kanoklekha Suwannapong, Naruemol Angsirisak *, Kamolrat Turner & Suntharawadee Theinpichet

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม    : https://e-research.siam.edu/kb/an-evaluation-of-the-policy/

Link to article : วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 63 | Thai Red Cross Nursing Journal Vol. 13 No. 1 January – June (2020) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/243833


Link to Published: วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย / TCI 1


Bibliography     :  ภาวิดา พุทธิขันธ์, กนกเลขา สุวรรณพงษ์, นฤมล อังศิริศักดิ์, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ. (2563). การประเมินนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสมรรถนะ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาจารย์พยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 282-301.


 

Quick View
IE Network Conference 2018

การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้

บทคัดย่อ

ในกรณีศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ในกระบวนการฉีดพลาสติกเพื่อยกระดับประสิทธิผลสูงสุด จากการสำรวจสภาพปัจจุบันพบว่ากระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้มีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร 28.6 เปอร์เซ็นท์ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด 76.6 เปอร์เซ็นท์ จากการวิเคราะสาเหตุปัญหาด้วยการวิเคราะห์ Why – Why พบว่าสามาจากการหยุดเพื่อซ่อมบำรุงและการปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อการลดปริมาณของเสียในกระบวนการฉีกพลาสติก จากการศึกษาพบว่าสาเหตุงรากเหง้าของปัญหามาจากความเสียหายชิ้นส่วนโอริงในแหล่งจ่ายน้ำมันไฮดรอลิคที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ผลจากการปรับปรุงพบว่าสามารถเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรจาก 28.6 เปอร์เซ็นท์เป็น 82.4% รวมทั้งสามารถลดความสูญเสียให้สถานประกอบการ 415,200 บาท/เดือน

คำหลัก : ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กระบวนการฉีดพลาสติก การวิเคราะห์ Why – Why


Abstract

In this case study is orchid packaging process improvement to get the maximum of effectiveness on plastic injection molding. At the current process status, the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 28.6 % which is lower than 78.6 % target from machine downtime and quality improvement. The root cause of phenomena is the hydraulic pump oil seal which is deterioration. After corrective action found that the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 82.4% and cost saving 415,200 Bath per month.

Keywords:  Overall Equipment Effectiveness, Plastic Injection Molding, Why – Why Analysis.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และจุมพล บารุงวงศ์. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 1092-1096). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong. (2018). The Overall Equipment Effectiveness Improvement for Plastic Injection Molding Process in Case of the Orchid Packaging. IE Network Conference 2018 (pp. 1092-1096). Ubonratchathani: Department of Industrial Engineering Ubon Ratchathani University.

Quick View

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (2562)

Title              :  การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม The Community Health Nursing Competencies Indicators Development among Nursing Students in Faculty of Nursing, Siam University

Researcher       : Sanikan Seemanee, Lecturer (Ph.D), Chanida Mattavangkul, Lecturer (Ph.D), Penrung Nualcham, Lecturer, 

Department     :  Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : Corresponding author: san_seemanee@siam.edu


Bibliography    : ศนิกานต์ ศรีมณี, ชนิดา มัททวางกูร และ เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 20-35.


[dflip id="7736"][/dflip]

วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 20 ฉบับที่ 39 ก.ค.-ธ.ค. 2562 Journal of Nursing, Siam University Vol. 20 No. 39 Jul-Dec 2019


Quick View

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็งชนิดอ่อนเสริมด้วยผงโปรตีนมะพร้าวเข้มข้น (2563)

Title              : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็งชนิดอ่อนเสริมด้วยผงโปรตีนมะพร้าวเข้มข้น (Development of Soft Cheese-Like Product Enriched with Coconut Protein Concentrate)

Researcher       : สมฤดี ไทพาณิชย์

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : somruedee.tha@siam.edu

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม: https://e-research.siam.edu/kb/development-of-soft-cheese-like-product/


Link to article: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | Thai Science and Technology Journal, Vol.28 No.12 (2020), 2173-2184. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/201210


Journal : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | Thai Science and Technology Journal / in TCI กลุ่มที่ 1


Bibliography     :  สมฤดี ไทพาณิชย์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็งชนิดอ่อน เสริมด้วยผงโปรตีนมะพร้าวเข้มข้น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(12), 2173-2184.


 

Quick View

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษารายวิชาการพยาบาลผดุงครรภ์ (2562)

Title              :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษารายวิชาการพยาบาลผดุงครรภ์ Development of instructional management model through self-learning skills of nursing students: case study of midwifery subjects.

Researcher       Wiwanna Klayklueng, Lecturer, Warunee Parai, Asst.Prof., Pattaraporn Arunyaphark, Asst.Prof., Amporn Khongjeera, Lecturer

Department     :  Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  Corresponding author: wiwannaph@gmail.com


Bibliography    : วิวรรณา คล้ายคลึง, วารุณี เพไร, ภัทรพร อรัณยภาค และ อัมพร คงจีระ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษารายวิชาการพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 45-59.


[dflip id="7736"][/dflip]

วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 20 ฉบับที่ 39 ก.ค.-ธ.ค. 2562 Journal of Nursing, Siam University Vol. 20 No. 39 Jul-Dec 2019


Quick View
IE Network Conference 2018

การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยอุตสาหกรรมการผลิตในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก และเป็นผลมาจากกลไกของตลาดที่มีการแข่งขันสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่สูงขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด อาทิเช่น ต้นทุนและเวลาในการผลิต เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรลงจากเดิมคือใช้เวลาโดยเฉลี่ย 96 นาทีต่อครั้ง โดยมีเป้าหมายคือต่ำกว่า 50 นาทีต่อครั้ง จากการวิเคราะห์การทำงานโดยการใช้แผนภูมิกระบวนการไหล แล้วใช้เทคนิค SMED เพื่อเปลี่ยนกิจกรรมภายในให้เป็นกิจกรรมภายนอก จากนั้นจึงทำการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานด้วยเทคนิค ECRS นอกจากนี้ทีมวิจัยยังกำหนดวิธีการ ทำงานดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานในการทำงาน (Work instruction) โดยผลของการปรับปรุงงานดังกล่าวทำให้เวลาในการทำงานลดลงโดยเฉลี่ยจาก 96 นาที เหลือเพียง 46 นาที ซึ่งทำได้ดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 50 นาที ผลการปรับปรุงดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ Machine utilization เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยก่อนปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 84.76 และหลังปรับปรุงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 92.70 อีกทั้งยังทำให้ค่า Manpower utilization ของพนักงานประจำเครื่องเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อันส่งผลให้ภาพรวมของผลผลิต เพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 37,380 ชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 40,880 ชิ้นต่อวัน ในการปรับปรุงดังกล่าวนี้มีการลงทุนซื้ออุปกรณ์เพื่อลดเวลาการทำงาน จากการหาจุดคุ้มทุน (BE.) คืออยู่ที่ 814 ชิ้น การปรับปรุงนี้สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น

คำหลัก: การเพิ่มประสิทธิภาพ, จุดคุ้มทุน, เทคนิคการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักร, มาตรฐานการทำงาน.


Abstract

At present, situation of manufacturing industry has more competitive, and affected from supporting the customer requirements in the market with limited resources such as cost and production time. The objective of this research was decreased machine setup time by avg. from 96 min./time, so the target was 50 min./time. From operations analysis by using Flow process chart and using SMED technique to convert Internal setup to be External setup. Then, improved operations by using ECRS technique. Furthermore, the research team has created the standardization by Work instruction. The result after improve was decreased machine setup time by avg. from 96 min./time to be 46 min./time. It was better that the target as 50 min./time. Machine utilization was increased from 84.76% to be 92.70%. Manpower utilization was improved also. Finally, increased production rate from 37,380 pcs./day to be 40,880 pcs./day. They have some investment to order the equipment to support this work, and they calculated BE. was only 814 pcs.

Keywords: Increasing Efficiency, Break Even Point, Single Minute Exchange of Die, Work Instruction.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ธนารักษ์ หีบแก้ว และอดิศักดิ์ สมสูตร. (2561). การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 10152-1020). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


Thanarak Heebgaew and Adisak Somsut. (2018). Machine Setup Time Reduction to Increase the Efficiency in Production. IE Network Conference 2018 (pp. 1015-1020). Ubonratchathani: Ubon Ratchathani University.

Quick View