การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน (2557)


[mfn]วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล. (2557). การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน. สยามวิชาการ, 15(1), 72-86.[/mfn]   การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน

วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล


 

วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 15 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 24 ก.ค. 2557 – ต.ค. 2557 Siam Academic Review Vol. 15 No.1 Issue 24 Jul 2014 -Oct 2014

Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม

การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

 

[mfn]สมหมาย จันทร์เรือง. (2555). การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. กระแสวัฒนธรรม, 13(23), 3-17.[/mfn]    การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา  THE CONSTRUCTION OF A HARMONIOUS SOCIETY BY MULTIDISCIPLINE : A CASE STUDY ON MISUNDERSTANDING BETWEEN CITIZENS AND THE STATE OFFICERS IN RAMAN DISTRICT, YALA PROVINCE 

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร. สมหมาย จันทร์เรือง

บทคัดย่อ                :  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จากปัจจัยด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางรัฐศาสตร์เกิดมาจากการเป็นรัฐอิสระที่รุ่งเรืองในอดีต มีความเชื่อพระเจ้าของศาสนาอิสลาม การปกครองยึดถือคำสอนของศาสนาอิสลามเป็นหลัก ด้านเศรษฐศาสตร์ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและการทำประมง อาศัยป่าและทะเล หรือแหล่งน้ำในการดำรงชีวิตที่พอเพียงเลี้ยงชีพได้ด้านสังคมวิทยาพบว่า ประชาชนในอำเภอรามัน จังหวัดยะลาส่วนใหญ่เป็นอิสลามมาเลย์ใช้ภาษายาวี การศึกษาได้ช่วยการหล่อหลอมความเชื่อทางศาสนา การที่รัฐมีนโยบายที่เอื้อต่อคนส่วนน้อยที่เป็นไทยพุทธและคนจีนทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนส่วนใหญ่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนวทางแก้ไขจึงควรสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกัน โดยการจัดระบบการศึกษาของกระทรวงศึกษาอย่างเหมาะสม

คำสำคัญ                : สมานฉันท์ สหศาสตร์ รามัน ยะลา

Abstract              :  The Construction of Harmonious Society by Multidiscipline : The research entitled “A Case Study on Misunderstanding between Citizens and the State Officers in Raman District, Yala” is aimed to study misunderstanding between citizens and the state officers with to factors in relation to political science, economics, and sociology, and to study means to build a harmony community in Raman district, Yala province. The research employed both quantitative and qualitative approaches. This study reveals misunderstanding with regard to factors in political science – since the inhabitants built their first homes in Pattani, this township was an independent city state and ruled by a monarchy system still lingers. Its rulers were Islamic and had their faith in the power of God, i.e. Allah. In the matter of economy, most of them had careers in agriculture, raised livestock and fishery. Upon the geographical factors, they had forests, mountains and water supplies from rivers, ponds and lagoons in addition to the sea. Their resources thus were plentiful and wel supportive to plant farming. They relied on sufficiency way of life; and relied on nature. The people’s livelihood in the three southern most provinces was a truly integration among people of al ethnic origins. However, the majority of them have been Islamic Malays. Their faith is Islam and their spoken language is Yawee which is the local Malay dialect. Their education has put a stress on religious studies, and they have their mosque as centre of their religious practices. The minority of the residents have been Buddhist Thais and Chinese. They have their monasteries and shrines as their religious and are educated according to the system provided by the Ministry of Education.

Keywords           :  Harmonious, Multidiscipline, Raman Yala

Download PDF  :  การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา


Publication        :  กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 13 ฉบับที่ 23 ม.ค.-มิ.ย. 2555   Cultural Approach  Vol.13 No.23 Jan-Jun 2012

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/journal-of-cultural-approach-2012-vol13-no23-jan-jun/

Bibliography     :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2555). การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. กระแสวัฒนธรรม, 13(23), 3-17.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข. (2560). การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 23-34.[/mfn]   การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร  Communication of Lines to Indicates the Goodness and Badness of Selected Cartoon Characters

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข

บทคัดย่อ                :  การวิจัยนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการสื่อความหมายเชิงสัญญะ ความหมายอันเกิดจากลักษณะการใช้ลายเส้นที่ประกอบสร้างกันจนเกิดความหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในการสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนในบริบทที่ต่างกัน โดยมุ่งเน้นการศึกษาการใช้ลายเส้นในการออกแบบ เพื่อสื่อความหมายในตัวการ์ตูนดีและร้าย ที่มีบริบท (Context) ต่างกัน เป็นการ์ตูนจาก 4 ประเทศคือ ประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการคัดสรรค์ตัวการ์ตูน ดีและร้าย มาวิเคราะห์ในเชิงสัญญะ ผู้วิจัยนำตัวการ์ตูนทั้งสองฝ่ายมาถอดแบบวิเคราะห์เพื่อหาข้อเปรียบเทียบกันว่ามีการใช้ลักษณะลายเส้นอย่างไร  ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ลายเส้นจากตัวการ์ตูนทั้ง 5 เรื่อง โดยนำตัวการ์ตูนมากรื้อสร้าง (deconstruction) จากรูปร่าง มาเป็นรูปทรง จนถึงลายเส้น เพื่อสืบค้นหา สัญญะ (Sign) ลักษณะของลายเส้น (Line) ในการออกแบบตัวการ์ตูน เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเนื้อเรื่อง (Text) สืบหาถึงมายาติ (Myth) ของการ์ตูนแต่ละประเทศ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรในบริบท (Context) ของเนื้อเรื่องการ์ตูน และ บริบทของประเทศนั้น ๆ การสื่อความหมายของลายเส้นในการ์ตูนไทย การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่งเศส นั้นมีการใช้ลักษณะลายเส้น (Line) และภาพฝังใจ (Stereotyping) ที่คล้ายกันคือตัวการ์ตูนที่ดีจะใช้เส้นโค้งมากส่วนตัวการ์ตูนร้ายจะใช้เส้นตรงแนวตั้ง เส้นตรงแนวเฉียง เป็นส่วนมาก ไม่แตกต่าง ตัวการ์ตูนดีจะตัวเล็กกว่าตัวที่ร้าย จะแตกต่างก็เพียงในเรื่องของการวางเนื้อเรื่องที่มีผลตัวตัวการ์ตูนนั้น ๆ นั่นเป็นเพราะการ์ตูนทั้งสองเรื่องมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมีบริบท (Context) ที่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อการสื่อความหมายของการ์ตูน

Abstract               : The study samples herein are good and evil characters chosen from 5 comic books from 4 different countries of origin; Thailand, Japan, France and USA. The drawing of each character is deconstructed to investigate the sign and the characteristic of lines used in character design. The deconstruction of the line drawing and the text narration are analyzed by researcher to investigate the myth behind the comic from each country in order to understand the background
of the myth in the Context of the comic and the culture in which it is created.

Download PDF :  การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร 


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 20 ปี 2560   Siam Communication Review Vol.16 N20 2017

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-2017-vol16-no20/

Bibliography     :ศิริชัย  ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข. (2560). การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 23-34.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Quick View
The 41st Electrical Engineering Conference

การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส ซึ่งใช้ชุดสวิทซ์สองทิศทาง 4 ชุด ประกอบด้วย ไอจีบีทีไดโอดกำลัง เป็นสวิทซ์ตัดต่อในวงจรกำลังหลัก วงจรเมตริกซ์คอนเวอรืเตอร์นี้สามารถแปลงค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแบบไซน์นูซอยดอลหนึ่งเฟสไปเป็นค่าแรงดันไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นพีดับบลิวเอ็มที่สามารถปรับค่าได้ โดยการปรับค่าความถี่การสวิทซ์ที่สัญญาณควบคุมและอัตราการม็อดได้ที่ค่า 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, และ 1.0 ความถี่เอาท์พุทสามารถปรับค่าได้ที่ค่า 12.5Hz, 25Hz, 50Hz, และ 100Hz ที่จำนวนพัลส์ 3 และ 5 พัลส์ต่อครึ่งไซเคิล โดยทำการทดสอบกับโหลดตัวต้านทานต่ออนุกรมกับตัวเหนี่ยวนำ ผลการทดสอบได้ทำการวัดรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าด้านอินพุธและเอาท์พุทด้วยการจำลองโดยใช้โปรแกรม MATTLAB/Simulink และการทดลองจริง รวมทั้งการทำการวัดค่าประสิทธิภาพของวงจรด้วย

คำสำคัญ: เมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์ เอซีทูเอซี คอนเวอร์เตอร์ พีดับบลิวเอ็ม คอนเวอร์เตอร์.


Abstract

This paper presents the design and testing of a single phase matrix converter using 4-unit of bidirectional IGBT-power Diodes as main power switching devices. The converter can directly convert the utility I-phase sinusoidal supply voltage into a variable voltage of variable voltage of variable PWM pattern by adjusting the switching frequency of the control signal and modulation index of the PWM control signal. The modulation indexes are 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, and 1.0. The numbers of the pulse are 3 and 5 per half cycle. Waveforms of input and output voltages and currents of the matrix converter for a given simulation with MATLAB/Simulink program and experimental are observed. moreover. the efficiency is measured.

Keyword: Matrix Converter, AC to AC converter, PWM converter.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ประสพโชค โห้ทองคำ และสุดาพร อร่ามรุณ. (2561). การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 41. (หน้า 217-220). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.


Prasopshok  Hothongkham, & Sudaporn Aramroon. (2018). Design and Tested of Single-Phase Matrix Converter. The 41st Electrical Engineering Conference (EECON-41) (pp.217-220). Ubon Ratchathani University and Sripatum University.

 

Quick View
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟาเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมคโครคอนโทรลเลอร์ การแสดงผลใช้หลอดแอลอีดีสีแดงและสีเขียวขนาด 22 มิลลิเมตร ตรวจจับการเต็มของวัตถุในชั้นวางโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ ควบคุมการทำงานทั้งหมดโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์เพียงตัวเดียว โดยชุดแสดงผลนี้ 1 ชุด ประกอบด้วย หลอดแอลอีดีสีแดง หลอดแอลอีดีสีเขียว และอินฟราเรดเซนเซอร์อย่างละ 10 ตัว ใช้แสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางได้ 10 ชั้น ชุดแสดงผลที่นำเสนอนี้ได้ถูกสร้างขึ้นและนำไปใช้จริงที่โรงงานอุตสาหกรรม ผลการใช้งานจริงแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของชุดแสดงผลนี้

 

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวาง, อินฟราเรดเซนเซอร์.


Abstract

This article presents the design and construction of full raw material in rack display with infrared sensor controlled by a microcontroller. The display used red LED and green LED size 22 mm. and the sensor of full raw material in a rack used an infrared sensor. All system is controlled by only one microcontroller. The display one set consists of 10 red LEDs, 10 green LEDs and 10 infrared sensors used for display of full raw material in rack amount 10 stairs. This proposed display is constructed and used in one factory and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword: Microcontroller, Full Raw Material in Rack Display, Infrared Sensor.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

สันติสุข สว่างกล้า และ ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 172-179). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Santisuk Sawangkla., & Vvapote Supabowornsathian. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by a microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 172-179). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

Quick View
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน-ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์โดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอรืเป็นตัวควบคุมการทำงานของป้ายแสดงเวลาการทำงาน ที่ใช้แอลอีดี 2 สี ต่อแบบเมตริกซ์ ขนาด 16×32 ใช้ไอซีอาร์ทีซีเป็นตัวสร้างฐานเวลาจริงให้กับระบบควบคุม การรับข้อมูลการตั้งเวลาและการเลือกติดต่ออาจารย์ผ่านทางรีโหมด 16 คีย์ ป้ายแสดงเวลาการทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำเสนอได้ถูกสร้างขึ้นและทำการทดสอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของป้ายแสดงผลนี้

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ป้ายแสดงเวลา, รีโหมด, 16 คีย์.


This paper presents the design and construction of a time schedule display board for contact teacher. The microcontroller is controlled the time schedule display board that uses 2 colors LED by the dot matrix display circuit size 16 X 32. IC RTC is used for generating real-time for controlling the system. The setting time and selection of teacher for contact via the 16 keys remote control is achieved. This proposed machine is constructed and tested and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword : Microcontroller, Time Schedule Display Board, 16 Keys Remote Control.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร และ สันติสุข สว่างกล้า. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 164-171). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Vvapote Supabowornsathian., & Santisuk Sawangkla. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 164-171). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

 

Quick View
วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 17 ฉบับที่22 พ.ศ.2561

การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2561). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.[/mfn]   การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล  The Usage of Codes LINE Stickers for Interpersonal Communication

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร

บทคัดย่อ                : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการใช้รหัสในการประกอบสร้างความหมายของสติกเกอร์ไลน์เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากสติกเกอร์ไลน์ยอดนิยมจำนวน 5 ชุดควบคู่การสัมภาษณ์จากผู้สร้างผลการศึกษาพบว่า ความหมายของสติกเกอร์ไลน์ทั้ง 5 ชุดถูกสร้างขึ้นจากสื่อภาพที่นำเอาสัญรูปและดัชนีมาประกอบเป็นตัวคาแรคเตอร์การ์ตูนให้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกผ่านสีหน้าและกิริยาท่าทาง ควบคู่กับสัญลักษณ์ในรูปแบบสื่อตัวเขียนประกอบสร้างเป็นข้อความแบบไม่เป็นทางการเพื่อใช้โต้ตอบแต่ละสถานการณ์ เนื้อหาหลักของสติกเกอร์ไลน์เป็นการสานต่อและถนอมรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่แตกต่างไปตามระดับของความสัมพันธ์ นอกจากนี้บริบท
ทางสังคมและวัฒนธรรมยังเข้ามามีอิทธิพลต่อการประกอบสร้างสติกเกอร์ไลน์ร่วมด้วย ทั้งนี้ผลการศึกษายังพบอีกว่าเนื้อหาในสติกเกอร์ไลน์สามารถทับซ้อนและแปรเปลี่ยนไปได้อย่างหลากหลายในเวลาเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ทำการสื่อสารรวมถึงบริบทที่ครอบงำการสื่อสารในขณะนั้น

คำสำคัญ                :  รหัส, สติกเกอร์ไลน์, การสื่อสารระหว่างบุคคล

Abstract              :  The objective of this study is to find the use of code in the construction of meaning of LINE Stickers which was used in interpersonal communication. The data were collected by qualitative method through analyzing the top five popular LINE Stickers series along with interviewing from the creators. The study found that the meaning of all five line stickers series were constructed by visual media which applied iconic and index signs to constitute the cartoon characters for facial expressions and gestures, and symbolic signs in the form of text media to constitute the informal language for communicating in each situation. The main content of LINE Stickers is maintaining and repairing personal relationships which are various depending on relations. Moreover, social and cultural contexts, also, had effects on LINE Stickers creation. The study also found that the content of LINE Stickers overlap and alter in different ways relating to interpretation of communicators and contexts which predominated that communication.

Keywords           :  Code, Line Sticker, Interpersonal Communication

Download PDF  :  การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 22 ปี 2561   Siam Communication Review Vol.17 N0.22 2018

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-vol17-no22-2018/

Bibliography     :  ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2561). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2560). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 171-183.[/mfn]    การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร  Using the Code of Line Stickers for Communication

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร

บทคัดย่อ                :  บทความนี้มีจุดประสงค์ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา เรื่องการใช้รหัสต่าง ๆ ที่ปรากฏในตัวคาแรกเตอร์ ของสติกเกอร์ไลน์สำ หรับใช้ในการสื่อสารโดยทำการรวบรวมข้อมูลสติกเกอร์ไลน์ในกลุ่ม Creator Market อันดับขายดี (TOP 5) โดย LINE Official Website ประเทศไทยระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2558 – 2559 เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งได้จำ นวนทั้งหมด 14 แบบ รวม 544 ตัว จากผลของการศึกษาพบว่าสติกเกอร์ไลน์แต่ละตัวถูกสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบของการ์ตูน ซึ่งใช้รหัสการ์ตูน ในการสร้างสรรค์ และรหัสการ์ตูนนั้นจะมีรหัสแยกย่อยอีก 2 รหัสคือ รหัสนำ เสนอ และ รหัสภาพแทน ซึ่งแต่ละรหัสจะมีรหัสแยกย่อยลงไปอีก อาทิ รหัสของการแสดงสีหน้า รหัสของการแสดงท่าทาง รหัสเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รหัสของมุกตลก รหัสภาษา รหัสเชิงสังคม และสัญญะอันเป็นส่วนหลักในการจัดการกับเครื่องหมายต่าง ๆ ให้เกิดความหมายจนส่งก่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารผ่านไลน์ทั้งทั้งความหมายตรง ความหมายแฝง ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใจในการเข้ารหัสและถอดรหัสจากรหัสแบบเดียวกัน ความหมายจึงจะเกิดขึ้นและไม่หนีไปจากที่ควรจะเป็น และความหมายของสติกเกอร์ไลน์แต่ละตัวสามารถผันแปรไปตามบริบทของเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างการสนทนาของส่วนบุคคลส่วนท้ายผู้วิจัยได้นำ เรื่องวัจนกรรมเข้ามาผูกโยงกับสติกเกอร์ไลน์เพราะข้อความที่ปรากฏพร้อมคาแรกเตอร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำ ให้ความหมายเกิด แต่ข้อความเหล่านี้ได้แฝงวัตถุประสงค์ เจตนา หรือวัตถุประสงค์จากฝั่งผู้ส่งที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่แฝงเจตนาให้ผู้รับกระทำตาม หรือแฝงการขอร้อง รวมถึงการแฝงคำสั่งที่แทรกอยู่ในรหัสภาษาเหล่านั้น

คำสำคัญ                :  รหัส, สติกเกอร์ไลน์, การสื่อสาร

Abstract              :  This article aims to study the code that present in the Line Stickers for communication. Line Stickers were collected by Top 5 Creator Market by Link Official Website from July, 2015 – December, 2016 there are 14 sets and 544 characters. From the study, Line Stickers were presented in cartoon form which using cartoon code to create which compose of two code which are presentational code and representational code—these two sub codes were separated into other codes such as facial code, body language code, clothing code, humorous code, language code, social code and signs which are the main component to conduct the meaning including connotation and denotation. Therefore, the user must have the same encoding and decoding to interpret the same meaning. Also, the meaning of each Line Stickers can be flexible depends on the context . Finally, Speech Acts is related to the Line Stickers because both text and character is main component to conduct the meaning that hidden the purpose and intention such as message that hidden the purpose to expect the receiver to follow, or hidden some requests and including the order that hidden in the text.

Keywords           :  Code, Line Sticker, Communication

Download PDF :  การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 21 ปี 2560   Siam Communication Review Vol.16 N21 2017

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-vol16-no21-2017/

Bibliography     : ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2560). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 171-183.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

 

[mfn]กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.[/mfn]   ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง


บทคัดย่อ:  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน
400 คน ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56 และ 44 ตามลําดับ มีอายุมากกว่า 50 ปีมากที่สุด คือร้อยละ 19.8 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดที่มากกว่า 2000 ยูโร คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีสถานภาพสมรสมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54.5 มีอาชีพทําธุรกิจส่วนตัวมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.3 และเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25.8 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ และสถานภาพ มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
คําสําคัญ: ความพึงพอใจในการซื้อ, นักท่องเที่ยวชาวยุโรป, เครื่องประดับเงิน

Abstract :  This research aims at examining silver jewellery buying satisfaction of European tourists in Bangkok. The study tool is a questionnaire for 400 samplings. The research findings indicated that the respondents are female more than male with 56 percent and 44 percent. The respondents are aged above 50 years (19.8 percent). Most have their average income per a month at 2000 EURO (45.5 percent). In the context of status, most are married (54.5 percent). Most have their own-business at 23.3 percent and most respondents are English tourists at 25.8 percent. The hypothesis finding indicated that the personal data in term of income and status is impacted on buying satisfaction of European tourists with positively significant at p = 0.05.
Keywords: Buying Satisfaction, European Tourists, Silver Jewellery


Bibliography:  กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.


สยามวิชาการ ปีที่ 17 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 28 มี.ค. 2559 – ก.ค. 2559 Siam Academic Review Vol. 17 No.1 Issue 28 Mar 2016 – Jul 2016

 

Quick View
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของอาการความสามารถในการรับรู้และเข้าใจโรคความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (2561)

 

Title              : ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของอาการความสามารถในการรับรู้และเข้าใจโรคความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: The Relationship among Perceive Severity of Symptom, Cognitive Capacity, Uncertainty in Illness and Depression in Persons with Heart Failure
Researcher       สุธิดา ดีหนู, พย.ม (การพยาบาลผู้ใหญ่), มุกดา เดชประพนธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ปร.ด.(การพยาบาล), อรสา พันธ์ภักดี, รองศาสตราจารย์, พย.ด. 

Department     :  Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : sutida.dee@gmail.com


Bibliography    :  สุธิดา ดีหนู, มุกดา เดชประพนธ์ และ อรสา พันธ์ภักดี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของอาการความสามารถในการรับรู้และเข้าใจโรคความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว.  วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(36), 66-77.

Quick View