คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 42(1), 141-159.[/mfn]   คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)

ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ. ศศิประภา ชิตรัตถา

บทคัดย่อ:

ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์ มีความสำคัญในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ขบวนการผลิต จนถึงสภาวะการเก็บรักษา ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์สื่อความหมายได้หลายอย่าง ความหมายที่ใช้กันมากที่สุดคือ ความคงสภาพทางเคมีของตัวยาสำคัญ อย่างไรก็ตามความคงสภาพของยาไม่ได้ขึ้นกับตัวยาสำคัญเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางเภสัชกรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น สีของเม็ดยา ความแข็งของเม็ดยา การละลายของยา เป็นต้น ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์ถือเป็นประเด็นหลักที่ต้องระมัดระวังสำหรับเภสัชกรที่ต้องทำหน้าที่เตรียมยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย เภสัชกรต้องหลีกเลี่ยงสภาวะการเตรียมยารวมถึงการใช้สารช่วยในตำรับที่อาจทำให้ตัวยาสำคัญเสื่อมสภาพทางกายภาพหรืออาจเกิดการสลายตัวทางเคมีได้ การเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์หรือการเตรียมยาที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลเป็นอย่างมากต่อความคงสภาพและผลการรักษาของยานั้นๆ ดังนั้นเภสัชกรจึงควรกำหนดสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมยาเพื่อผู้ป่วยและทำตามข้อกำหนดนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความคงสภาพของยา ซึ่งสามารถส่งผลถึงผลการรักษาและผลข้างเคียงของยาได้

คำสำคัญ: ความคงสภาพ ยา เภสัชภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ

Link to Academic article: ความคงสภาพของยา (Drug stability) 

Quick View

ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)

ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)

ผู้เขียนบทความ: ผศ.ดร.ภญ. อรวรรณ จิตรวาณิช

บทคัดย่อ:

เภสัชกรในโรงพยาบาลโดยเฉพาะของรัฐ มักจะได้รับใบสั่งแพทย์ให้เตรียมยาหรือต้องจ่ายยาเฉพาะคราว (extemporaneous preparation) หรือยาเตรียมเฉพาะรายในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากในท้องตลาด ไม่มีรูปแบบที่ต้องการ ยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ ที่เภสัชกรเตรียมขึ้นนั้นมักขาดข้อมูลของสูตรตำรับและความคงสภาพที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ยาเตรียมนั้นยังคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา บทความนี้จึงรวบรวมความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวพร้อมสูตรตำรับจากงานวรรณกรรมแหล่งต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดวันหมดอายุ หรือวันที่ไม่ควรใช้เภสัชภัณฑ์นั้นอีกต่อไป (beyond-use date, BUD) ซึ่งพบว่า นอกจากการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเกิด oxidation, hydrolysis, photolysis หรือ thermolysis ยังมีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยากับส่วนประกอบทั้งในสูตรของรูปแบบที่นำมาเตรียม และที่นำมาช่วยในตำรับยาเตรียมเฉพาะคราว

คำสำคัญ: ยาเตรียมเฉพาะคราว ความคงสภาพ รูปแบบยา

Link to Academic article: ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ 

Quick View

ความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบัญชีและการเงินของสํานักงานบัญชีที่มีต่อแนวปฏิบัติ การควบคุมภายใน (2560)

Abstract
This research aims to study and to compare the accounting and financial officers’ opinions of department of internal control practices in Accounting Office. The sample consisted of 134 employees in
Accounting and Financial of Accounting Office and storage in May 2017. The questionnaire was used for data collection. And the data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and Statistic program. The findings revealed that the majority of the samples were females. Their ages were between 26-35 years and they studied in bachelor degree. Moreover, their working experiences were more than 10 years. In addition, their salaries were more than 30,000 baht each month. The opinions on internal controlling practices of the employees in Accounting and Financial Department were level of the most agree which was average at 4.09. With reference to the main point, it is discussed follows.
1. By following and evaluating, the average of main variable is 4.31 which support average of following and evaluating. It provides staff training in the step of work.
2. The average of information and communication is 4.20, the main variable which supports the information and communication is an excellent communication. It is good factor which informs the executive to be able to solve the problem immediately.
3. The average score of on trolling activity is 4.17. The main variable which supports the average of activity is the role of executives in determining of policy and planning of work in order to protect the risk. 4. The average of evaluation of the risk is 4.08. The supporting of main average is accounting and financial department. They have internal controlling in order to be the factor of projection of work.
5. The average of environment of controlling is 3.51. The supporting of main average of environment of controlling is the work assessment which core of modern organizing administration. Additionally, in the case study of comparing in opinion concerned with the solution of internal controlling is the whole view of status of participants who have different opinion.To the individually differences, it is the factor affecting to the different idea such as sex, age, level of study, working period They also have as same as salary with different status but they have contrast opinion.
Keywords: Opinion, Accounting Office, Internal control

Bibliography    : กิตติศักดิ์ สรแพทย์, กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์, เบญจมาศ ปานชัย, วิทยา อรุณศิริเพ็ชร์, พิจักษณ์ จันทวิโรจน์, ไขแสง ขุนพาสน์ และ รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2560). ความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงินของสํานักงานบัญชีที่มีต่อแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 7 (หน้า 106 – 121), นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Link to Research: ความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงินของสํานักงานบัญชีที่มีต่อแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน: Opinion of Accountingand Financial Officers of Accounting Office for the Internal Control Process Practice

Website: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 7 The 7th STOU National Research Conference

Quick View

ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร (2559)

ชื่อบทความวิจัย : ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร

Title                   : HIV Testing Awareness and Behavior in a Men Who Have Sex with Men Group in Bangkok

Researcher       : สินีนาฏ ชาวตระการ, วราภรณ์ คำรศ*

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : wara_aui@hotmail.com

บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 500 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Convenience Sampling ใช้แบบสอบถามโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเอง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน พ.ศ.2558 ได้รับแบบสอบถามคืน 439 ชุด และมีข้อมูลครบถ้วนสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ทั้งหมด 431 ชุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีกับพฤติกรรมการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยใช้สถิติ Chi-Square และ Logistic Regression ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับปานกลาง อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี  โดยบุคคลที่เคยตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีจะเป็นผู้ที่เห็นด้วยว่า จะตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีทุก 1 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดหากมีคู่นอนเพียงคนเดียว และไม่เห็นด้วยว่าสามารถมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ดูแข็งแรงโดยไม่จำเป็นต้องไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงสาธารณสุขควรมีการรณรงค์สร้างความตระหนัก ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยต่อไป

Abstract  : This cross-sectional study aimed to examine awareness and behavior regarding HIV testing in a men who have sex with men (MSM) group in Bangkok. Data were collected from 500 MSM using a self-administered questionnaire from 15th May – 15th June 2015. In all, 439 questionnaires were returned and 431 completed questionnaires were analyzed. Association between the HIV testing awareness and behavior was determined by Chi-square test and Logistic Regression. Results showed that the HIV testing awareness level among participants was moderate. Age, education, occupation, salary and domicile were associated with HIV testing behavior. MSM who agreed having an annual HIV check-up program, believed that having a single partner was safe or realized that having  healthy partners was unsafe from HIV transmission, were likely to receive HIV testing. In conclusion, the Thai MOPH should raise awareness and encourage HIV testing behavior among MSM for early detection and to decrease HIV incidence in Bangkok, Thailand.

Keywords : ความตระหนัก, การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, awareness, HIV testing, men who have sex with men

Donwload PDF  : ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร


Link to Published:  วารสารสาธารณสุขศาสตร์  Journal of Public Health


Bibliography     :สินีนาฏ ชาวตระการ และ วราภรณ์ คำรศ. (2559). ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(3), 211-222.

Quick View

ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (2556)

 

Title              : ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise

Researcher       : อาจารย์พรพิมล ภูมิฤทธิกุล1*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ชนิดา มัททวางกูร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์วราภรณ์ คำรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
ผศ. (พิเศษ) ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์นารี รมย์นุกูล สำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ฐิติมา อุดมศรี ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์สมหญิง เหง้ามูล ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม

Department     : 1* Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :

Abstract            : The objectives of this study are: first, to study needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities and, second, to investigate factors that associate with the needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities of the Pasi Charoen citizen. . 404 people who livein Pasi Charoen district were selected using quota sampling with all sub-district and completed a set of questionnaires regarding exercise needs and expectation, exercise facilities.
Results were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient was considered statistically association. The results were as follows: 1. the level of needs and expectations toward exercise activities is moderate. But, the level of needs and expectation toward exercise facilities is high. 2. There are 3 factors that positive correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.01. There are perceived information about exercise, health status and level of education. There are 2 factors that negative correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.05 which are age and work duration.
This research has a suggestion to require the participation of the community and its partners in health, finding out how to integrated exercise is part of daily life, as well as supplying facilities and places to exercise, in the community, appropriate and conform to the needs and expectations of the people in the community.

Keywords        :   Needs for the exercise. Expectations for the exercise. Exercise

Donwload PDF  : Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise


 

Bibliography     :    พรพิมล ภูมิฤทธิกุลม, ชนิดา มัททวางกูร, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, วราภรณ์ คำรศ, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ,…สมหญิง เหง้ามูล. (2556). ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.


 

Quick View

ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย (2563)

ชื่อบทความ     : ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย: Challenges on Collecting Land and Building Tax in Thailand

เจ้าของผลงาน       :   ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง, อาจารย์ยุทธนา ศรีสวัสดิ์, และอาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์

บทคัดย่อ                : ภาษี คือ หน้าที่หรือภาระหรือความรับผิดชอบที่ประชาชนต้องนําส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมาย กําหนด เพื่อสนับสนุนกิจการของรัฐ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกจ้างนั้นเป็นภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สิน ประเภทหนึ่ง ปัจจุบันพบว่า การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มคนที่มีฐานะร่ํารวย ซึ่งได้มีการถือครองไว้เป็นจํานวนมาก ในขณะที่คนส่วนมากไม่มีที่ดินหรือบ้านเป็นของตนเอง จึงแสดง ให้เห็นว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่มีการจัดเก็บอย่างไม่เป็นธรรมและไม่เป็นจริงตามระบบ การจัดเก็บภาษีที่ควรจะเป็น ทําให้เกิดปัญหาในทางโครงสร้างของการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยจึงแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ และตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยหวังว่าจะทําให้การจัดเก็บอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้กับต่างประเทศพบว่ามีจุดสังเกต ที่น่าสนใจ เช่น ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสใช้เกณฑ์รายได้และเกณฑ์อายุประกอบการพิจารณาเก็บภาษีด้วยประเทศออสเตรเลีย กําหนดให้คนต่างชาติต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มอีก ร้อยละ 2 จากภาษีปกติ ประเทศแคนาดากําหนดให้ผู้เช่าตามสัญญาเช่าระยะยาวเป็นผู้เสียภาษีแทนที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ การบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ยังมีจุดสังเกตบางประการ ซึ่งควรนํามาบูรณาการเพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ของไทยมีประสิทธิภาพและ เป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น

คำสำคัญ    : ภาษี, ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง


Publication        : วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU Journal of Law) ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563   

Link to Publication:   https://lawjournal.stou.ac.th/Page/Home.aspx

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง, ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ และเมธาวี บัวสมบูรณ์. (2563). ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย.วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(2), 95-110.


วารสารฉบับพิมพ์ที่มีในห้องสมุด

Row Hit Heading
1 1 oวารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (Sukhothai Thammathirat Law Journal)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา

 

Title              : ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา THE STUDENTS’ SATISFACTION WITH COOPERATIVE EDUCATION SYSTEM OF WORKING IN THE SERVICE SECTOR

Researcher       : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช 

Department      :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ติดต่อได้ที่:

บทคัดย่อ              :  การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษาทั้งจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามไปสำรวจ นักศึกษาสหกิจศึกษาที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการในขณะนั้น และคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 396 ชุด จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และF-testผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากแทบทุกด้าน ยกเว้น ความเหมาะสมของสวัสดิการ ค่าตอบแทน และการปัจฉิมนิเทศ ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ นักศึกษาสหกิจศึกษา จาก มหาวิทยาลัยเอกชน มีความพึงพอใจ ต่อการปฏิบัติงานสูงกว่านักศึกษาสหกิจศึกษาที่มาจาก มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยนักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจท่องเที่ยวธุรกิจการบิน และธุรกิจโรงแรม มีความพึงพอใจแตกต่างกันในเรื่องการปฐมนิเทศการให้คำปรึกษาการทำโครงงาน ความเหมาะสมของเวลาในการพักรับประทานอาหาร ความเหมาะสมของวันหยุด อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการปัจฉิมนิเทศ โดย นักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจการบิน จะมีความพึงพอใจในเรื่องดังกล่าวข้างต้นสูงกว่า นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ              :  ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา, ธุรกิจบริการ

Abstract            :  This study aims to explore public and private university students’ satisfaction with co-operative education system of working in the service sector. The research compares the different levels of satisfaction in the hotel, tourism, and airline business. The questionnaires were distributed to 420 purposively selected students from private and public universities who register ed in the co-operative education programs. The 396 completed questionnaires were analyzed through SPSS statistical analysis program, using frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test as statistical techniques.

It was found that the students in the co-operative education program were highly satisfied with the overall working except the welfare and/or remuneration and the final orientation. The students from private universities had higher level of satisfaction than those from public universities. The co-operative education students in hotel, tourism, and airline business revealed different levels of satisfaction in the areas of project design consultation, length of lunch time, suitability of the time off, equipment and facilities in operation and the final orientation. The co-operative education students in airline business had significantly higher level of satisfaction than those in hotel and tourism business at p = 0.05.

Keywords         :  students, satisfaction, working cooperative, service sector

Download PDF  :    ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา


Publication        : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.7 No.1 (January-June 2012)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/371


Bibliography     :  ชลลดา มงคลวนิช. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษาวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 7(1), 67-82. 


Quick View

ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

 

[mfn]กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.[/mfn]   ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง


บทคัดย่อ:  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน
400 คน ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56 และ 44 ตามลําดับ มีอายุมากกว่า 50 ปีมากที่สุด คือร้อยละ 19.8 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดที่มากกว่า 2000 ยูโร คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีสถานภาพสมรสมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54.5 มีอาชีพทําธุรกิจส่วนตัวมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.3 และเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25.8 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ และสถานภาพ มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
คําสําคัญ: ความพึงพอใจในการซื้อ, นักท่องเที่ยวชาวยุโรป, เครื่องประดับเงิน

Abstract :  This research aims at examining silver jewellery buying satisfaction of European tourists in Bangkok. The study tool is a questionnaire for 400 samplings. The research findings indicated that the respondents are female more than male with 56 percent and 44 percent. The respondents are aged above 50 years (19.8 percent). Most have their average income per a month at 2000 EURO (45.5 percent). In the context of status, most are married (54.5 percent). Most have their own-business at 23.3 percent and most respondents are English tourists at 25.8 percent. The hypothesis finding indicated that the personal data in term of income and status is impacted on buying satisfaction of European tourists with positively significant at p = 0.05.
Keywords: Buying Satisfaction, European Tourists, Silver Jewellery


Bibliography:  กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.


สยามวิชาการ ปีที่ 17 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 28 มี.ค. 2559 – ก.ค. 2559 Siam Academic Review Vol. 17 No.1 Issue 28 Mar 2016 – Jul 2016

 

Quick View

ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่ (2560)

 

Title              :  ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่: Knowledge Attitude Concept and Factor about Breastfeeding in Sripradu Teenagers

Researcher       : นฤมล อังศิริศักดิ์, ธารทิพย์ จิรกัญจนะ, ภัทรพร อรัณยภาค,วารุณี เพไร
Department     :  Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  nlm_058 @hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นในชุมชนศรีประดู่ อายุระหว่าง 13-19 ปี จ านวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สูตร Chi-square test รวมทั้งน าข้อมูลเชิง คุณภาพมาวิเคราะห์ โดยการทำ Content analysis ผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่นในชุมชนศรีประดู่ มีความรู้ เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 63.63 และมีทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 90.91 โดยที่ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับของความรู้และทัศนคติในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าความรู้และทักษะเป็นสิ่งสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถ้าไม่มีความรู้ก็จะไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดน้อยลง และสมาชิกในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นต้นแบบและแรงผลักดันในการช่วยส่งเสริมให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากการเรียนในสถาบันการศึกษาและสื่ออิเล็กโทรนิกส์ การส่งเสริมความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจึงควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องทั้งในวัยรุ่นและครอบครัว จัดหาแหล่งสนับสนุนคอยให้คำปรึกษาช่วยเหลือ เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้และทัศนคติที่ดี นำไปสู่การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นในอนาคต

คำสำคัญ             :  ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาวัยรุ่น

Abstract            :  The objectives of this research were to study the knowledge attitude concept and factor about Breastfeeding of teenagers in Sripradu community. The sample group was 11 teenagers aged 11-19 years old. Collect information by evaluation form about knowledge and attitude of breastfeeding and interviewing about opinion to breastfeeding. All data analyzed using percentage, frequency distribution, average, standard deviation, Chi-square test and analyze quality data by content analysis. The results showed teenager in Sripradu community had the knowledge about breastfeeding in high level, average 63.63 % and had attitude about breastfeeding in medium level average 90.91 %, respectively. In addition, there was no statistically significant different among personal factor with knowledge and attitude about breastfeeding. They thought knowledge and skill are important for breastfeeding. Moreover, in them opinion family members are prototype and impulsion them to breastfeeding. Most teenagers get knowledge about breastfeeding from school and electronic media. So, how to increase the number of breastfeeding should focus on educate good attitude, support and advice for teenager and family.

Keywords         :  Knowledge of breastfeeding, Attitude of breastfeeding, Teenage Pregnancy

Download PDF:  ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  นฤมล อังศิริศักดิ์, ธารทิพย์ จิรกัญจนะ, ภัทรพร อรัณยภาค และ วารุณี เพไร. (2560). ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 905-915). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View