ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ(2564)

Title           : ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ (Effect of Temperature on Heat Resistance of Halophilic and Thermotolerant Bacteria in Low Sodium Fish Sauce)

Researcher       : เกศรา แซกพุทรา, หัตถ์ชนก วัฒนเลิศสุวัตร, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-temperature-on-heat-resistance/


Link to article: รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (หน้า 265-274). https://drive.google.com/file/d/1ZUyOUPUUOimJI5z-b6IsTnC-W85gzD46/view


 Publication: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (ASTC2021)  / in  Proceeding


Citation : เกศรา แซกพุทรา, หัตถ์ชนก วัฒนเลิศสุวัตร, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ. (2564). ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASCT)ครั้งที่ 8 (หน้า 265-274). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Quick View

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (2562)

 

Title              :  ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ : Effects of mind and body exercise five happiness program for lipid profile percent fat bone mineral density and blood pressure in elderly club

Researcher       : สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, กาญจนา งามจันทราทิพย์

Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

Abstract            :  This study was an experimental research with a two-group, pre-post test design carried out to determine the potential effects of the five-happiness, mind-and-body exercise program on lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), bone mineral density (BMD), and blood pressure in members of the elderly club. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n = 25), and exercise groups (n = 25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. Blood samples were collected and laboratory assessments were performed for lipid profile, body fat percentage (BFP), bone mineral density (BMD), and blood pressure pre-post program. Pre and post-intervention, intra-group data analysis was performed using paired t-test and inter-group data was analyzed using independent t-test. The results showed that lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure had decreased while body mineral density (BMD) had increased significantly among participants in the exercise group (p<0.05). However, there was no significant change from baseline for lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), and blood pressure in the control group. It was found that there was a statistically significant decrease in lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while there was a statistically significant increase in bone mineral density (BMD) in the intervention group, when compared with the control group (p<0.05). We concluded the five-happiness, mind-and-body exercise program was effective in reducing lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while increasing bone mineral density (BMD), in members of the elderly club.

Keywords        : he five-happiness, mind-and-body exercise program, ipid profile, blood pressure


Link to Publication : วารสารควบคุมโรค ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2562

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์ และ กาญจนา งามจันทราทิพย์. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ. วารสารควบคุมโรค, 45(2), 180-190.


Quick View

ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง (2562)

 

Title              :  ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง  : The effectiveness created happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) to stress happiness and quality of life for caregiver of schizophrenia inurban community

Researcher       :  สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก, พาจนา ดวงจันทร์

Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทผ่านแอพพลิเคชันต่อระดับความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเขตเมือง โดยพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดแอปพลิเคชัน บนหลักการการจัดการความเครียด ด้วยวิธีการสร้างภาพตามจินตนาการ  (Guided Imagery) สมาธิแบบการเคลื่อนไหว ( Dynamic meditation) เสียง ดนตรีบําบัด (Music therapy) ภายใต้ชื่อ GDM application และ ทดสอบโปรแกรมในผู้ดูแลจํานวน 30 คนสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มควบคุมจํานวน 15 คนกลุ่มทดลอง 15 คนใช้โปรแกรม 6 วัน/สัปดาห์เป็นระยะ 4 สัปดาห์ ประเมินความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต เปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้ สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอยางเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพ ่
ชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ในกลุ่มทดลอง แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหวางกลุ่ม พบว่าความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 สรุปได้ว่า โปรแกรมสร้างสุข จัดการความเครียดผ่านจีดีเอ็มแอปพลิเคชันสามารถช่วยลดความเครียดเพิ่มความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมืองได้

คําสําคัญ             : โปรแกรมสร้างสุข ผอนคลายความเครียดผ่านแอปพลิเคชั่น ความสุข ความเครียด

Abstract            :  This study was quasi-experimental research with two groups pre-post test design carried out to development happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) and determine the effects of the happiness relaxation stress program through GDM application for stress, happiness and quality of in caregiver of schizophrenia in urban community. This research methodology was developed happiness relaxation stress program through GDM application approach relaxation stress by guided Imagery, dynamic meditation, music therapy and used name GDM application and determine the effects of program. A total of 3 0 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=15), and experimental groups (n=15). happiness relaxation stress program through GDM application was designed using for 6 times/ week for 4 weeks. The stress, happiness, quality of life were assessed pre-post program. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that stress was less, increasing happiness and quality of life were higher in the experimental group (p<0 .0 5 ). However, there were no significant difference for stress, happiness, quality of life in control group. Experimental group was a significantly happiness and quality of life higher and stress lower than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the happiness relaxation stress program through GDM application program was effective in decreasing stress, increasing happiness quality of life in caregiver of schizophrenia in urban community.

Keywords        : The happiness relaxation stress program through GDM application program, stress, happiness


Link to Proceeding : รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceeding) การประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3 : การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล วันที่ 24-26 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ หลักสี่กรุงเทพมหานคร

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก  และ พาจนา ดวงจันทร์. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง, ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3: การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล (หน้า 225-236). นนทบุรี: กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.


Quick View

ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ (2561)

 

Title              :  ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ : Effects of Five Dimension Happiness Program on Functional Fitness, Happiness, and Quality of life in Wat Ratchawarin Elderly Club

Researcher       :  สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์

                                  Susaree Prakhinkit, Suratchana Kasaesemviriya and Rosaya Yuwapornpanit
Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง (Two groups pre-post test design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน กลุ่มออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ จำนวน 25 คน กำหนดที่ระดับความหนักของการออกกำลังกายเท่ากับเล็กน้อย (20-39% Heart Rate Reserve) ถึงปานกลาง (40-50% Heart Rate Reserve) ความถี่การออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบวัดขององค์การอนามัยโลก (The World Health Organization Quality of Life) ก่อนและหลังใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า สมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าสมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ความสุขและคุณภาพชีวิตได้

คําสําคัญ             :   สุข 5 มิติ สมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิต

Abstract            :  This study was experimental research with two groups pre-post test design carried out to determine the effects of the five happiness exercise program on physical fitness, happiness and quality of life in Senior Citizen club of Wat Ratchawarin. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=25), and exercise groups (n=25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. The World Health Organization Quality of Life questionnaires were assessed physical fitness, happiness, quality of life pre-post programs. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that physical fitness, happiness and the quality of life was greater in the exercise group (p<0.05) . However, there were no significant difference in physical fitness, happiness and the quality of life in control group. Exercise group was a significantly physical fitness, happiness and the quality of life more than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the five happiness exercise program was effective in increasing physical fitness,
happiness and quality of life in Wat Ratchawarin elderly club.

Keywords        :   The five happiness, Physical fitness, Quality of life


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์. (2561). ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า HS 2-HS 7). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว (2563)

ผู้เขียนบทความ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ใจนุช กาญจนภู

บทคัดย่อ:

ระบบไหลเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการรักษาความดันโลหิตแดง (arterial blood pressure) เพื่อให้อวัยวะส่วนปลายได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย American College of Cardiology Foundation/ American Heart Association หรือ ACC/AHA ปี 2013 ให้นิยามของภาวะหัวใจล้มเหลวไว้ดังนี้ “หัวใจล้มเหลวเป็นอาการทางคลินิกที่ซับซ้อน เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานในการเติมเลือด (filling) หรือการสูบฉีดเลือด (ejection) ออกจากหัวใจห้องล่าง” อาการแสดงสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หายใจขัด (dyspnea) และอ่อนล้า (fatigue) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายหรือออกแรงหนักๆได้ และมีการคั่งของน้ำตามที่ต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary congestion) น้ำคั่งในช่องท้อง (splanchnic congestion) และอาการบวมน้ำ (peripheral edema) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหนื่อยหอบขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่มีการคั่งของน้ำร่วม การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวอาศัยอาการทางคลินิกประกอบกับประวัติและผลการตรวจร่างกายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว

คำสำคัญ: พยาธิ สรีรวิทยา หัวใจล้มเหลว

Link to Academic article: พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว

Quick View
วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย-ปีที่6-ฉบับที่1-มค-มิย-2560

พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

 

Title              : พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา: Purchasing Behaviors and Analysis of Marketing Factor Affecting Consumer’s E-Business transactions in Nakhonratchasima Municipality, Nakhonratchasima Province

Researcher       :  บุษยา วงษ์ชวลิตกุล สงวน วงษ์ชวลิตกุล ธนกร ลิ้มศรัณย์ อรอุมา ปราชญ์ปรีชา ทศพล ปราชญ์ปรีชา จอมภัค จันทะคัต
Department      :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 : dr.tanakorn@siam.edu

Abstract            :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการซื้อ และองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ปัจจัยโดยการสร้างตัวแปรใหม่ของกลุ่มตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) และสถิติถดถอยพหูคุณ ประชากรในการศึกษานี้ ได้แก่ ผู้ซื้อหรือผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตเทศบาลนครนคราชสีมา จำนวน 400 คน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.8 เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกวัน โดยร้อยละ 31.0 ใช้เวลาจำนวน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ใช้อินเตอร์เน็ตในสถานที่ทำงาน และสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในช่วง 9.01-12.00น. ผู้บริโภคมีความถี่ในการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตเดือนละครั้ง  มีค่าเฉลี่ยในการซื้อแต่ละครั้งในช่วง 501- 1,000 บาท ทั้งนี้มากกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่างใช้การค้นหาร้านค้าผ่าน Search Engine เช่น Google เพื่อเข้าสู่หน้าเว็ปไซต์ของร้านค้าโดยตรงเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่นิยมมากที่สุดคือสินค้าแฟชั่นและการจองโรงแรม และชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขาย สาเหตุที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเนื่องจากสามารถค้นหาสินค้าหรือบริการได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และ และกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการให้บริการส่วนบุคคล

Key words         :  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, พฤติกรรมการซื้อสินค้า, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, จังหวัดนครราชสีมา


Publication        : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560

                                  Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand  Vol.6 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:    https://www.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/issue/view/8189

Download PDF  : พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Bibliography     : บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, สงวน วงษ์ชวลิตกุล, ธนกร ลิ้มศรัณย์, อรอุมา ปราชญ์ปรีชา, ทศพล ปราชญ์ปรีชา และ จอมภัค จันทะคัต. (2560). พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.  วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ,  6(1), 95-113. 


Quick View

พฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ของนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร (2561)

 

Title              : พฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ของนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร : Customer’s Behavior of Trip Advisor Application of Tourism in Bangkok

Researcher       :  ดร.เปรมจิต พรหมสาระเมธี และ ดร.วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล

Department     : อาจารย์ประจำภาควิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 10160

E-mail                :  ผู้ประสานงานหลัก:

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้บริการ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพทำงานบริษัทเอกชน และมีระดับรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ได้แก่การจองห้องพัก การจองร้านอาหาร และการจองสนามกอล์ฟ ส่วนความถี่ในการไปใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใช้บริการ 3 – 5 ครั้งต่อ 1 ปี รองลงมาใช้บริการ 1 – 2 ครั้งต่อ 1 ปี และมากกว่า 6 ครั้งต่อ 1 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ในกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพการให้บริการ รองลงมาคือด้านกระบวนการการให้บริการ และมีความพึงพอในน้อยที่สุด คือ ด้านราคา ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และพฤติกรรมในการใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านราคาค่าบริการ และด้านกระบวนการให้บริการ

คําสําคัญ             : พฤติกรรม, แอพพลิเคชั่น Trip Advisor, นักท่องเที่ยว

Abstract            :  This research aims to study the demographic, Tourists’ behavior, and Tourists’ satisfaction of trip advisor application of tourism in Bangkok. The samples used for this study are 400 samples from people who servicing at trip advisor application. This research was purposive sampling. Questionnaires were used to collect data. The data was analyzed as
frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results of the study showed that most Tourists were female, aged between 20 –
30 years old, hold bachelor’s degree, single, worked in private companies, and earned more than 30,000 baht. Tourists’ behavior was booking restaurant, reservation and booking a golf.
The frequency of service was 3 – 5 time per year, 1 – 2 time per year and 6 time per year. In addition, Tourists’ satisfaction at trip advisor application overall was high level. The most
satisfaction was quality. Secondly, it was process. The lowest satisfaction was price. The hypothesis testing revealed that demographic: gender, age, level of education, occupation and Tourists’ behavior of used trip advisor application of tourism in Bangkok related to satisfaction: service quality, process and price

Keywords        :   Behavior, trip advisor application, Tourists

Donwload PDF  :  พฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ของนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” ศูนย์บริการวิจัย และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อาคาร 6 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :   เปรมจิต พรหมสาระเมธี และ วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น Trip Advisor ของนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” (หน้า 343-352). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


 

Quick View

พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค

 

Title              :  พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค: BEHAVIOR AND SATISFACTION OF USING THAILAND POST COMPANY LIMITED, SEACON BANGKAE BRANCH

Researcher       :  จิตระวี ทองเถา¹ และ ดร. พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก² 
Department     :  ¹อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ²ผู้ช่วยคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  jitravee@yahoo.com,  pichmus@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทยจํากัด สาขาซีคอนบางแค และความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซี คอนบางแค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซีคอนบาง แค จํานวน 400 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สําหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัย พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพทํางานบริษัทเอกชน และมีระดับรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป พฤติกรรมของ ผู้ใช้บริการคือ การเลือกใช้บริการรับ-ส่งพัสดุในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้บริการเดือนละครั้ง ช่วงเวลา ที่ใช้บริการเวลา 12.01 – 16.00 น. และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง ต่ํากว่า 50 บาท นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซีคอนบางแค โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านราคาค่าบริการ รองลงมาคือด้านกระบวนการการให้บริการ และ มีความพึงพอในน้อยที่สุด คือด้านลักษณะกายภาพ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่อเดือน และพฤติกรรมในการใช้บริการที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขา ซีคอนบางแค มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในการใช้บริการ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านราคาค่าบริการ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้าน กระบวนการให้บริการ

คำสำคัญ             :  พฤติกรรม, ความพึงพอใจ, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด

Abstract            :  This research aims to study the demographic, customers’ behavior, and customers’ satisfaction at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch. The samples used for this study are 400 samples from people who servicing at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch. This research was purposive sampling. Questionnaireswere used to collect data. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results of the study showed that most customers are female, aged between 20-30 years old, hold bachelor’s degree, single, worked in private companies, and earned more than 30,000 baht. Customers’ behavior is the choice of courier services for domestic or oversea. They send 1 time per month. The time period is 12:01-4:00 pm. The expense per time is below 50 Baht. In addition, customers’ satisfaction at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch overall was high level. The most satisfaction was price. Secondly, it was process. The lowest satisfaction was physical evidence.
The hypothesis testing revealed that demographic: gender, age, level of education, occupation and customers’ behavior of used Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch related to satisfaction: service quality, price, personal, process and physical evidence.

Keywords         :  Behavior, Satisfaction, Thailand Post Company Limited

Download PDF: พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  จิตระวี ทองเถา และ พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 200-209). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (2560)

 

ชื่อบทความ     :  พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร : Behavior of Playing Board Games and
Component of Effective Factors for Playing games of Teenagers in the Bangkok

เจ้าของผลงาน       :  วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา

หน่วยงาน               :  ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  varaporn.lim@siam.edu

บทคัดย่อ                : วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมและองค์ประกอบของปัจจัยในการเล่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บแบบสอบถามกับวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 13-23 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประกอบด้วย การหาค่าเปอร์เซ็นต์ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) พฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน พบว่า เล่นเกมกระดานน้อยกว่า 1 ปี เล่นเกมเฉลี่ยต่อสัปดาห์จำนวน 1 – 3 ครั้ง เล่นเกมกระดานในแต่ละวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ชั่วโมง เล่นเกมกระดานช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. เล่นเกมกระดานที่บ้านหรือหอพัก มีค่าใช่จ่ายในการเล่นเกมกระดานต่อสัปดาห์ น้อยกว่า 50 บาท เล่นเกมกระดานกับเพื่อน ชอบเล่นเกมกระดานประเภทมะ-นอ-พะ-ลิ เกมเศรษฐี เล่นเกมกระดานเพื่อความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด 2) ผลกระทบต่อพฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน ได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการเงิน ด้านการศึกษาและสติปัญญา ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน และ ด้านอารมณ์  มีผลกระทบในภาพรวมระดับปานกลาง 3) องค์ประกอบของปัจจัยด้านผลกระทบจากการเล่นเกมของวัยรุ่นประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้ ปัจจัยด้านการเงินและความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมทั้งกลุ่มเพื่อน ปัจจัยด้านการศึกษาและสติปัญญา ปัจจัยด้านสุขภาพร่างกาย และ ปัจจัยด้านอารมณ์และความรู้สึก

คำสำคัญ                : พฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน, องค์ประกอบปัจจัยด้านผลกระทบ, การเล่นเกมของวัยรุ่น

Abstract              :  The survey research focused on the behavior of board games and components of effective factors for teenagers of game playing in Bangkok area. The data was collected from 400 samples of 13-15 years-old teenagers totally. The research result indicated that most of the samples play a board game for entertainment, enjoyableness and relaxation. The overall impacts of board games playing are at medium level, in term of health; finance; education and intelligence, relationship of family and friends. Emotional impact can divide into two dimensions as followed: Positively, the educational and intelligent factors are that playing board games supports brain development; the creative, thinking and decision-making ability and the learning concentration. For the emotional factors are that the players are released from tension; cheerful; emotion controlling and relationship development. Negatively, the game players suffered from physical health likes back pains and other illness. Economic effect was over expense. Finally, it also affected to worse relation in family and friends.

Keywords           : Behaviors of playing board games, component of effective factors, playing games of teenagers


Publication        : วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560  Journal of Social Research)  Vol.40 No.2  Jul-Dec 2017

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/90922

Bibliography    :  วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560). พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40(2), 107-132.


Quick View

พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

 

Title              :  พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย: Development of Private Higher Education Law in Thailand

Researcher       :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย จันทร์เรือง
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  sommaichanruang@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การจัดการศึกษาของเอกชนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษาและส่งเสริมให้ขยายการจัดการศึกษาไปยังราษฎร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้เอกชนจึงเข้ามามีส่วนร่วมจัดตั้งโรงเรียนและพัฒนามาสู่การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในส่วนของกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นพื้นฐานการบริหารสถาบันนั้น กฎหมายฉบับแรกคือพระราชบัญญัติวิทยาลัยเอกชน พ.ศ. 2512 ยังมีข้อจ ากัดในการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของเอกชนอยู่หลายประการ อาทิ การกำหนดให้ จัดสอนเฉพาะประกาศนียบัตร ไม่อาจจัดสอนในระดับปริญญาและการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเป็นต้น ต่อมากฎหมายอุดมศึกษาเอกชนฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ได้มีพัฒนาการของกฎหมายที่ให้สิทธิเสรีภาพ แก่เอกชนมากขึ้น โดยมีภารกิจหลัก คือ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัจจุบันมีพัฒนามาถึงกฎหมายอุดมศึกษาเอกชน ฉบับที่สาม คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กฎหมายฉบับนี้ได้เพิ่มอำนาจสภาสถาบันในการวางนโยบายและข้อกำหนดต่างๆ สำหรับการบริหารและการพัฒนาวิชาการ และเปิดโอกาสให้เอกชนได้จัดการอุดมศึกษาอย่างเป็นอิสระ รวมทั้งยอมรับเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งจะนำมาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

คำสำคัญ             :  พัฒนาการ กฎหมาย อุดมศึกษาเอกชน

Abstract            :  Private-run education in Thailand had dated back to Ayutthaya period. It is not until the reign of King Rama V of Rattanakosin that Thai education was reformed and learning opportunities was expanded to the people. Under His Majesty’s kind patronage, the private sectors were given an opportunity to co-founding the school in which, later, developed into higher educational institution. The nation’s first higher education laws, representing the management foundation of private institution namely “the Private Higher Educational Institution Act (A.D.1969)”, contains several limitations such as the prohibition of private educational institution from administering the degree programs and the implementation of measures binding national security, etc. The second private higher institution law called “the Private Higher Educational Institution Act (A.D. 1979)” evolved into a more liberalized version, entitled more freedom for the private institutions to pursue their missions of teaching , researching, providing academic service to the society and enhancing national arts and culture, as similar to the public educational institution. Nowadays, the third private Higher Educational Institution Act (A.D. 2003), empowers private University’s council in managing and developing academic affairs, formulating and implementing policies and procedure as well as allowing more academic freedom, all aiming toward the excellence of private higher educational institutions in Thailand.

Keywords         :   Development, Law, Private Higher Education


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2560). พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 980-991). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View