วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม-ปีที่9-ฉบับที่2-พค-สค-2558

ปัจจัยนำการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานองค์การ

[mfn]สมพร ปานยินดี. (2558). ปัจจัยนำการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานองค์การ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(2), 47-58.[/mfn]   ปัจจัยนำการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานองค์การ: Antecedents to Entrepreneurial Orientation and Impact on Firm Performance

สมพร ปานยินดี


ผลงานวิชาการ ดร.สมพร ปานยินดี – Somporn Panyindee

Quick View

ปัญญาประดิษฐ์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

ชื่อบทความ     :  ปัญญาประดิษฐ์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ : Artificial Intelligence and Computer Science Curriculum

เจ้าของผลงาน       :  อาจารย์ปริวรรต องค์ศุลี

หน่วยงาน               :  อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  pariwatsiam@gmail.com

บทคัดย่อ                :  ในช่วงระยะเวลาประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะในสาขาย่อยคือ การเรียนรู้ของเครื่องจักร การประมวลผล ภาษาธรรมชาติ และ การรับรู้ของเครื่องจักร ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการเสนอแนวคิดในการเพิ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้กับนักศึกษาในวิชาพื้นฐานเพื่อจะได้มีการเตรียมตัว และนำไปประยุกต์เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รองรับเทคโนโลยีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของข้อมูล ความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง และการนำอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ยิ่งทำให้พัฒนาการทางด้านความฉลาดของเครื่องจักรมีความรุดหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีการเรียนการสอนในวิชาปัญญาประดิษฐ์เป็นส่วนน้อยต่อเนื้อหาวิชาทั้งหมด การนำเนื้อหาในส่วนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับเทคโนโลยีนี้ไปเสริมในวิชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงน่าจะช่วยเตรียมความพร้อมต่อนักศึกษาสำหรับความเข้าใจในภาพรวม เพื่อที่จะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่าคู่แข่ง

คำสำคัญ                :  ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่องจักร การรับรู้ของเครื่องจักร

Abstract              :  The reemergence of Artificial Intelligence, the branch of Computer Science, during the past 5 years is prevalence. Machine learning, natural language processing and machine perception are among the topics that has been developed extensively. Moreover, the proliferation of data dues to the Internet, mobile technology and the Internet of things also accelerates the development of machine intelligence even further. However, only the small proportion of the Computer Science curriculum contains the subject of Artificial Intelligence. Therefore, the idea of this article is to prepare the foundation courses for computer science students in the subjects that are relevant, consequently, they can apply the technology to their product and/or service effectively

Keywords           : Artificial Intelligence, Machine Learning, Machine Perception


 

Publication        : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560  APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.6 No.1  Jan-Jun 2017

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php?id=162

Bibliography    : ปริวรรต องค์ศุลี. (2560). ปัญญาประดิษฐ์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 100-107.


Quick View

ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน: Impact of Land Use and Climate Change on Soil Erosion in the Upper Part of Yom River Basin

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม:  ผศ.ดร.สานิตย์ดา เตียวต๋อย, และ ดร.สมพินิจ เหมืองทอง
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               : บทคัดย่อ

คำสำคัญ                :   การชะล้างพังทลายของดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ลุ่มนํ้ายมตอนบน


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 13 2558 CRMA Journal Vol. 13 2015

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=P2aef7WmJ0w%3d

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สานิตย์ดา เตียวต๋อย, และ สมพินิจ เหมืองทอง. (2558). ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 13, 65-78.


Quick View

ผลการใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ ร่วมกับสารเคลือบผิว Sucrose Fatty Acid Ester ต่อคุณภาพแคนตาลูปตัดแต่งพันธุ์ซันเลดี้

 

Title              :  ผลการใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ ร่วมกับสารเคลือบผิว Sucrose Fatty Acid Ester ต่อคุณภาพแคนตาลูปตัดแต่งพันธุ์ซันเลดี้ : Effect of Calcium Chloride Dipping and Sucrose Fatty Acid Ester Coating on the Quality of Fresh Cut Cantaloupe Variety ‘Sun Lady’

Researcher       :  สมภพ อยู่เอ
Somphop Yoo-a

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  somphop.yoo@siam.edu

บทคัดย่อ             :  การศึกษาผลของการใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ ร่วมกับสารเคลือบผิวประเภท sucrose fatty acid ester (Gustec S) ต่อคุณภาพของแคนตาลูปตัดแต่งพันธุ์ซันเลดี้ โดยศึกษาผลของการใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0 0.5 1 1.5 และ 2 จุ่มเป็นเวลา 2 นาที เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่าที่ความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 2 ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพน้อยที่สุดตลอดอายุการเก็บรักษา โดยสามารถเก็บรักษาได้นาน 12 วัน เมื่อจุ่แคนตาลูปตัดแต่งในสารแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 2 ร่วมกับสารเคลือบผิวที่ความเข้มข้นร้อยละ 0 1 2 และ 3 เป็นเวลา 2 นาที เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่า การใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 2 ร่วมกับสารเคลือบผิวที่ความเข้มข้นร้อยละ 3 ชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพแคนตาลูปตัดแต่งได้ดีที่สุดและสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน 14 วัน ในขณะที่ชุดควบคุมซึ่งจุ่มในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 2 เพียงอย่างเดียวมีอายุการเก็บรักษา 12 วัน โดยมีความแตกต่างกับชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) และจากการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า การใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 2 ร่วมกับสารเคลือบผิวที่ความเข้มข้นร้อยละ 3 ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุด

คําสําคัญ             :  แคลเซียมคลอไรด์, แคนตาลูป, อายุการเก็บรักษา, สารเคลือบผิว

Abstract            :  Effect of Calcium chloride and coating with sucrose fatty acid ester (Gustec S) on quality of cantaloupe fresh cut cv. Sun Lady was investigated. Cantaloupe fresh cut was dipped with calcium chloride concentration 0, 0.5, 1, 1.5 and 2 % during 2 minutes and storage at 5 °C. The result showed that calcium chloride 2 % can reduce changes on the quality of cantaloupe fresh cut and up shelf life to 12 days. The study of calcium chloride 2% and coating Gustec S 0 ,1, 2 and 3 % during 2 minutes then storage at 5 °C. The results show that using calcium chloride 2 % with coating Gustec S 3 % can reduce changing on quality of cantaloupe fresh cut and up shelf life to 14 days. While control treatment (calcium chloride 2%) has shelf life 12 days only. This is significantly different (p< 0.05) and Sensory evaluation tests calcium chloride 2% with coating Gustec S 3% has been accepted maximum by consumer

Keywords        :    Calcium chloride, Cantaloupe, Shelf life, Sucrose fatty acid ester

Donwload PDF  :  ผลการใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ ร่วมกับสารเคลือบผิว Sucrose Fatty Acid Ester ต่อคุณภาพแคนตาลูปตัดแต่งพันธุ์ซันเลดี้


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    สมภพ อยู่เอ. (2557). ผลการใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ ร่วมกับสารเคลือบผิว Sucrose Fatty Acid Ester ต่อคุณภาพแคนตาลูปตัดแต่งพันธุ์ซันเลดี้. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 232-241). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

ผลของการดัดแปรต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพของสตาร์ชกล้วยหินดิบ (2566)

Title           : ผลของการดัดแปรต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพของสตาร์ชกล้วยหินดิบ (Effect of Modifications on Physico-Chemical Properties of Raw Hin Banana Starch)

Researcher       จิรนาถ บุญคง, ปิยนุสร์ น้อยด้วง, และ จิตตราภรณ์ แมงทับ

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-modifications-on-physico-chemical/


Link to article: รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 9 (หน้า 359-366). https://drive.google.com/file/d/1fLQtCaNCm2Jry22a5qPgsGGSesA4NlPW/view?pli=1


 Publication: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 9 (ASTC2023)  / in  Proceeding


Citation :   จิรนาถ บุญคง, ปิยนุสร์ น้อยด้วง และจิตตราภรณ์ แมงทับ. (2566). ผลของการดัดแปรต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพของสตาร์ชกล้วยหินดิบ. ใน รายงานการประชุม การประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 9 (หน้า 345-352). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง

 

Title              :  ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง : Effect of Pretreatment and Drying Temperature on Drying Kinetics and Selected Quality Attributes of Dried Desiccated Shredded Coconut

Researcher       :  ณฐมล จินดาพรรณ,* กาญจนาลักษณ์ ศรีภาเลิศ, ธิดารัตน์ อินทร์แก้ว, ณัฏฐิกา ศิลาลาย และธัญญภรณ์ ศิริเลิศ
Nathamol Chindapan*, Kanjanalak Sreepalerd, Tidarat Inkaew, Nattiga Silalai and Tunyaporn sirilert

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก:  Rchindapan@gmail.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้งที่มีต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด รวมทั้งลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งที่ได้ การเตรียมขั้นต้นในการศึกษานี้ ได้แก่ การผสมสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 1 กรัมต่อเนื้อมะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม และการลวกโดยใช้ไอน้ำเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 80 และ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เครื่องอบแห้งแบบถาด ในระหว่างการอบแห้ง ทำการสุ่มตัวอย่างออกมาวัดปริมาณความชื้น ทุกๆ 30 นาที จนกระทั่งความชื้นของตัวอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากนั้นรายงานปริมาณความชื้นสมดุลของแต่ละตัวอย่างและเวลาที่ใช้อบแห้งเพื่อทำให้แต่ละตัวอย่างมีความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 2.48 % (ฐานเปียก) นอกจากนี้ทำการวิเคราะห์ลักษณะคุณภาพบางประการ ได้แก่ วอเตอร์แอคติวิตี้ ความหนาแน่นรวม อัตราการคืนตัว และค่าสีของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งที่เหลือความชื้น 2.48 % (ฐานเปียก) เปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม จากผลการทดลอง พบว่าวิธีการเตรียมขั้นต้นไม่มีผลต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด แต่กระทบต่อลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมีผลต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด รวมทั้งลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05)

คําสําคัญ             :  การอบแห้ง จลนพลศาสตร์ เนื้อมะพร้าวขูด

Abstract            :  The objective of this study was to investigate the effect of pretreatments and drying temperatures on drying kinetics of desiccated shredded coconut and selected quality attributes of dried desiccated shredded coconut. Adding with sodium metabisulfite of 1 g per 1 kg desiccated shredded coconut and steam blanching for 5 minute were used to be pretreatment. Each pretreated sample was dried at 80 °C and 90 °C using tray dryer. During drying process, the sample was taken out for moisture content determination every 30 minute until its moisture was negligible. The equilibrium moisture content and drying time for final moisture content of about 2.48 % (w.b.) of sample at each drying condition was noted. Moreover, selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconuts having final moisture content of about 2.48 % (w.b.) obtained from different drying conditions were determined to compare with a control sample in terms of water activity, bulk density, rehydration ratio and color. The result showed that the pretreatments did not significantly affect the drying kinetics of the desiccated shredded coconut, but significantly affected the selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconut (p<0.05). The drying temperatures significantly affected both the drying kinetics and the selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconut (p<0.05).

Keywords        :    Drying, Kinetics, Desiccated shredded coconut

Donwload PDF  :  ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    ณฐมล จินดาพรรณ, กาญจนาลักษณ์ ศรีภาเลิศ, ธิดารัตน์ อินทร์แก้ว, ณัฏฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญภรณ์ ศิริเลิศ. (2557). ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 317-323). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล

 

Title              :  ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล : Effect of Solvent Polarity on Antioxidant Capacity of Extracts from Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi Leaves

Researcher       :  พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์
Pornchai Premkaisorn and Wanpen Wasupongpun

Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  pornpre2001@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   สมุนไพรเป็นจํานวนมากถูกนํามาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อการป้องกันโรคต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประเมินฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชโดยวิธี DPPH (2,2-Diphenyl-1-picryhydrazyl radical) radical scavenging และประเมินปริมาณสารหมู่ฟีนอลโดยวิธี FCR (Folin-Ciocalteu reagent) สารตัวอย่างถูกสกัดด้วยการใช้ระบบตัวทําละลายต่างกัน 6 ชนิด ได้แก่ น้ำ, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone และ 80%(v/v) MeOH เพื่อสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากใบพืชสมุนไพรอบแห้งจํานวน 3 ชนิด ได้แก่ ดันหมี (Gonocaryum lobbianum) กำจาย (Caesalpinia decapetala) และพิกุล (Mimusops elengi) พบว่าความแรงของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของตัวทําลายในสารสกัดดันหมีเรียงลําดับได้ ดังนี้ 50%(v/v) acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ น้ำ > acetone > EtOAc ส่วนสารสกัดของกำจาย คือ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > น้ำ และพิกุล เท่ากับ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ น้ํา ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05) ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารสารหมู่ฟีนอลของสารสกัดจากจากดันหมี (r = -0.78, p > 0.1) กําจาย (r = -0.74, p > 0.1) และพิกุล (r = -0.72, p > 0.1) มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง งานวิจัยนี้เสนอว่าในระบบตัวทําละลายผสมโดยเฉพาะเมื่อมีน้้ำป็นตัวทําละลายร่วม ได้แก่ 80%(v/v) MeOH หรือ 50%(v/v) acetone มีแนวโน้มที่จะสกัดสารออกฤทธิ์ในพืช 3 ชนิดนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบตัวทำละลายเพียงชนิดเดียว

คําสําคัญ             :  สมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระ ความมีขั้ว การสกัดด้วยตัวทำละลาย

Abstract            :  Several herbs have been used as an antioxidant for prevention of certain diseases. This work aim to evaluate antioxidant activity of plants by using DPPH radical scavenging method and the phenolic content was evaluated by Folin-Ciocalteu reagent. Three selected samples, Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi dried leaves, were extracted antioxidant compounds by six solvent systems: water, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone and 80%(v/v) MeOH. The results showed that the highest antioxidant activity of Gonocaryum lobbianum follows as: 50% acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ water > acetone > EtOAc. Caesalpinia decapetala gave the lowering order of one by 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > water. Recession for last one of Mimusops elengi was 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ water ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05). The antioxidant activity and phenolic content for Gonocaryum lobbianum (r = -0.78, p > 0.1), Caesalpinia decapetala (r = -0.74, p > 0.1), and Mimusops elengi (r = -0.72, p > 0.1) have had moderate correlation. The study showed that the binary solvent system with a portion of water was added, e.g. 80%(v/v) MeOH or 50%(v/v) acetone, of three herbs, it could be considered superior to a mono-solvent system.

Keywords        :    herb, antioxidant, polarity, solvent extraction


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์. (2560). ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 576-581). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View

ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว

 

Title              :  ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว : Influence of Biopolymer Types and Contents on Stickiness Behavior of Tamarind Paste

Researcher       :  สุพรรณี คัมภีร์บูรณา, กนกวรรณ เกียรติไทยยนต์, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Supannee Kampeeburana, Kanokwan Kheatthaiyon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  nattiga.sil@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก มักพบปัญหาเรื่องความเหนียวและการเกาะติดกันเป็นก้อนที่ผิวของอาหาร เนื่องจากสมบัติการดูดความชื้นอย่างรวดเร็วของน้ำตาล ซึ่งผลิตภัณฑ์มะขามแก้วจัดเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มักพบปัญหาการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ที่มีสาเหตุมาจากการดูดซับน้ำของน้ำตาลทรายที่เป็นส่วนผสมหลัก สารไบโอพอลิเมอร์ เช่น สตาร์ช และมอลโตเด็กซ์
ตริน ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการปรับปรุงคุณลักษณะเนื้อสัมผัสและลดการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์ลงไปผสมในกระบวนการผลิต เพื่อลดการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาการใช้มอลโตเด็กซ์ตริน (Dextrose equivalent; DE-10) และแป้งข้าวโพดเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตด้วยสัดส่วนต่างๆ โดยการดัดแปลงสูตรดั้งเดิม
แล้วนำไปทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 5-Point hedonic scale พบว่า การเติมมอลโตเด็กซ์ตรินและแป้งข้าวโพดส่งผลต่อคุณลักษณะและเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์มะขามแก้วซึ่งผลการทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสสามารถนำไปหาปริมาณสัดส่วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตด้วยวิธี Mixture Design พบว่าสูตรที่ประกอบด้วยน้ำตาลทราย (X1 = 75-85%) : แป้งข้าวโพด (X2 = 10-15%) :
มอลโตเด็กซ์ตริน (X3 = 5-10%) เป็นสูตรที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเพื่อใช้ในการศึกษาผลของสารไบโอพอลิเมอร์ต่อคุณลักษณะเนื้อสัมผัสการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ โดยการใช้ 5-hedonic scale ผลจากการวิเคราะห์พบว่าสูตรที่ประกอบด้วยน้ำตาลทราย (82.5%) แป้งข้าวโพด (12.5%) และมอลโตเด็กซ์ตริน (5%) มีเนื้อสัมผัสที่ดีและสามารถลดความเหนียวที่ผิวรวมถึงการเกาะติดกันได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม จากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ไปศึกษาผลของสารไบโอพอลิเมอร์ต่อการระเหยน้ำของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการกวน (Drying curve) โดยให้ระดับความแรงของไฟคงที่ตลอดระยะเวลาในการกวน ทำการเปรียบเทียบกับสูตรดั้งเดิม พบว่า ปริมาณน้ำของสูตรที่มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์จะลดลงน้อยกว่าสูตรควบคุม ณ เวลาเดียวกัน โดยมีความชื้น 10.86% (w/w) ขณะที่สูตรควบคุมมีความชื้นเท่ากับ 17.01% (w/w) ซึ่งสอดคล้องกับค่า Water activity ของสูตรที่มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์และสูตรควบคุมที่มีค่าเท่ากับ 0.53±0.14 และ 0.63±0.39 ตามลำดับชี้ให้เห็นว่าสารไบโอพอลิเมอร์ที่เติมลงไปมีผลช่วยในการอุ้มน้ำไว้ภายในโครงสร้างเพื่อลดการสูญเสียน้ำออกมาที่ผิวระหว่างการผลิตและการเก็บรักษา

คําสําคัญ             :  มะขาม การเกาะติดกัน มอลโตเด็กซ์ตริน แป้งข้าวโพด

Abstract            :  Stickiness and adhesion at particle surfaces are often found in sugar-rich foods due to hygroscopic properties of sugar. Sugar, is a main ingredient in tamarind candy, causes stickiness problem at surface. Biopolymer such as starch and maltodextrin have been used extensively to improve texture and reduce the adhesion characteristics of the products. In this study, biopolymers (maltodextrin DE-10 and corn starch) were used to add with different ratios into the products during the process to reduce surface stickiness of Tamarind candy product. All samples were evaluated by panelists using the 5-Point hedonic scale. Proportion of the components used in the process was determined by Mixture Design Method, which indicated 4 formula consisting of sugar (X1 = 75-85%) : corn (X2 = 1 0 -1 5 % ) : maltodextrin (X3 = 5-10%). These levels of components were use to study effect of biopolymer on appearance, color, texture and overall acceptability of product with 5-Point hedonic scale again. In the present study, it indicated that a proportion of sugar : corn flour : maltodextrin (82.5% : 12.5% : 5%) was the best formula used for production and compared to control group. Then, the best formula was used to study drying curve (loss of moisture content) during the process. Moisture content and water activity (aw) of sample and control samples decreased significantly during heating; however, moisture content and aw of the treatment were lower than the control at the same time of heating. Moisture content of the treatment was 10.86% (w/w), while moisture content of the control was 17.01% (w/w). This was agreed with the aw results. The aw of the treatment and the control was 0.53±0.14 0.63±0.39, respectively. Therefore, addition biopolymers such corn flour and maltodextrin could increase water holding capacity resulting in a decrease of moisture loss on particle surface of products during processing and storage.

Keywords        :    Tamarind; Stickiness; Maltodextrin; Corn flour


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    สุพรรณี คัมภีร์บูรณา, กนกวรรณ เกียรติไทยยนต์, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 507-514). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

ผลของระยะเวลาในการย่อยต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซตจากปลาดาบเงิน (2561)

 

Title              :  ผลของระยะเวลาในการย่อยต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซตจากปลาดาบเงิน : Effect of Hydrolyzing Time on Physicochemical and Functional Properties of Protein Hydrolysate from Largehead hairtail (Trichiurus lepturus)

Researcher       : จิรนาถ บุญคง และ การันต์ พุกชัยวาณิชย์

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : jiranart.boo@siam.edu

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม: https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-hydrolyzing-time/


Link to Article:  วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ครั้งที่ 11) มกราคม-เมษายน 2561 หน้า 473-476.

Link to Publication:    วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร / TCI กลุ่มที่ 2


Bibliography     :    จิรนาถ บุญคง และ การันต์ พุกชัยวาณิชย์. (2561). ผลของระยะเวลาในการย่อยต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซตจากปลาดาบเงิน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(2, ฉบับพิเศษ), 473-476.


 

Quick View

ผลของสภาวะกรดและด่างต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพ และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนรำข้าว

 

Title              :  ผลของสภาวะกรดและด่างต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพ และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนรำข้าว: Effect of acid and base on physico-chemical and functional properties of rice bran protein

Researcher       :  พัชรพร พิพัฒนสัตยาวงศ์, จิรนาถ บุญคง, ภิญโญ แซ่เฮ้ง และ นัชชา หงษ์สา
Patcharaphorn Pipattanasattayawong, Jiranart Boonkong, Pinyo Saeheang and Natcha Hongsa

Department     :  หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  jiranart.boo@siam.edu

บทคัดย่อ             :   ศึกษาผลของพีเอชต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพ และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนจากรำข้าวสายพันธุ์ดอกมะลิ 105 โดยทำการสกัดโปรตีนจากรำข้าวหอมมะลิที่สกัดไขมันออก จากนั้นนำไปวิเคราะห์สมบัติทางเคมี-กายภาพ ได้แก่ ปริมาณโปรตีน ปริมาณความชื้น ค่าปริมาณน้ำอิสระ ความสัมพันธ์ของค่าสี(CIE) ค่าพีเอช เทียบกับโปรตีนมาตรฐานสองชนิดคือ โปรตีนอัลบูมินไข่ขาว และโปรตีนถั่วเหลือง พบว่าโปรตีนรำข้าวหอมมะลิ มีปริมาณโปรตีนน้อยกว่าโปรตีนมาตรฐานทั้งสองชนิด ค่าปริมาณน้ำอิสระไม่แตกต่างจากอัลบูมินไข่ขาว มีค่าความสว่างต่ำสุดแต่มีค่าสีแดงมากที่สุด จากนั้นศึกษาผลของพีเอชต่อสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน พบว่าโปรตีนทุกชนิดที่ค่า pH 9 มีสมบัติเชิงหน้าที่ ได้แก่ ปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ ความสามารถในการจับน้ำ ความสามารถในการเกิดโฟมและความคงตัวของโฟม รวมถึงความสามารถในการเกิดอิมัลชันและความคงตัวของอิมัลชันสูงสุด และโปรตีนอัลบูมินไข่ขาวมีสมบัติเชิงหน้าที่ทุกด้านสูงที่สุด โปรตีนรำข้าวหอมมะลิมีสมบัติเชิงหน้าที่ใกล้เคียงกับโปรตีนอัลบูมินไข่ขาวในด้านความสามารถในการเกิดโฟม และความคงตัวของโฟม ในขณะที่มีสมบัติเชิงหน้าที่ในด้านความสามารถในการเกิดอิมัลชันและความคงตัวของอิมัลชันใกล้เคียงกับโปรตีนถั่วเหลือง จากการตรวจสอบประเภทของ อิมัลชันของโปรตีน 3 ชนิด พบว่า เป็นอิมัลชันประเภทน้ำมันในน้ำ (O/W)

คําสําคัญ             :  โปรตีนรำข้าวหอมมะลิ, สมบัติเชิงหน้าที่, อัลบูมินไข่ขาว, โปรตีนถั่วเหลือง

Abstract            :  Effect of pH on physico-chemical and functional properties of protein from Hommali 105 cultivars rice bran was studied. The extraction of protein from defatted rice bran and then analyzed the physico-chemical characteristics of Hommali rice bran proteins (RBPH) such as moisture content, water activity, color (CIE) and pH value compared with two standard proteins, which were bovine serum albumin (BSA) and soy protein (SOY). The result revealed that RBPH had lower protein content than two standard proteins. The water activity was similar to BSA, brightness was lowest, but the redness was highest. Then studied on effect of pH to functional properties, compared with two standard proteins. The results found that all of proteins show the best functional properties in term of protein solubility, water binding, foam capacity, stability, emulsifying activity index and emulsion stability index at pH 9. BSA exposed the best functional properties, but it got low water binding. The RBPH showed the similar functional properties to BSA in term of foaming capacity and stability, but it showed the similar emulsifying activity index and emulsion stability to SOY. All of the proteins in this experiment were oil in water emulsion (O/W) type.

Key words        :   Hommali rice bran protein, functional properties, bovine serum albumin, soy protein


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  พัชรพร พิพัฒนสัตยาวงศ์, จิรนาถ บุญคง, ภิญโญ แซ่เฮ้ง และ นัชชา หงษ์สา. (2561). ผลของสภาวะกรดและด่างต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพ และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนรำข้าว. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า AS 234-AS 240). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View