วันศิลปินแห่งชาติ

[box type=”note” ] 

ประตูไม้วัดสุทัศนเทพวราราม-วันศิลปินแห่งชาติ รัชการที่2
ภาพ: บานประตูไม้แก้สลักพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม งานฝีมือพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์  เพื่อแสดงความระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  จึงได้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ[/box]

วัดอัมพวันเจติยาราม : จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสังข์ทอง Wat Ampawan Jetiyaram
วัดอัมพวันเจติยาราม : จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสังข์ทอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง[divide icon=”circle” width=”medium”]

ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ บทละครนอก 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย [divide icon=”circle” width=”medium”]

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม  ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม  และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน

[quote arrow=”yes”]การจำแนกสาขาของศิลปินแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 4 สาขา[/quote]

1. สาขาศิลปะทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติ หรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น ดังต่อไปนี้

  • จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียน ภาพสี และภาพลายเส้น
  • ปฏิมากรรม หมายถึง งานปั้น และแกะสลัก
  • ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ หรือโลหะ ฯลฯ
  • ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่นำเสนอด้วยการสื่ออารณ์และความรู้สึก
  • สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธี และเทคนิคต่าง ๆ อย่างอิสระ[divide icon=”circle” width=”medium”]

2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม หมายถึง งานออกแบบสถาปัตยกรรม งานออกแบบและงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคารสวยงาม เครื่องบิน เรือ รถยนต์ อุทยาน สวน สวนสนุก เครื่องเล่นสวนสนุก มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย[divide icon=”circle” width=”medium”]

3. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิม หรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

  • การละคร ประกอบด้วย ละครรำ รำฟ้อน ระบำ รำเซิ้ง เช่น โนห์รา ชาตรี ระบำแขก ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำแขก ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่
  • เช่น หุ่นเชิด หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้อง หรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)
  • การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
  • นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องดนตรี
  • นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับ และ/หรือสามารถแหล่ทำนองต่าง ๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)
  • นักประพันธ์เพลง ประพันธ์คำร้อง ทำนอง จังหวะ ทั้งทางร้อง และทางดนตรี
  • ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
  • ผู้ผลิตเครื่องดนตรี
  • การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ[divide icon=”circle” width=”medium”]

4. สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่ ทำให้เกิดจินตนาการ เห็นเป็นภาพมโนคติ ภาพลักษณ์ ความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บันเทิงคดี สำหรับเด็ก และเยาวชน อาทิ วรรณกรรมเยาวชน หนังสือเด็กที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

[quote arrow=”yes”]เมื่อวันที่ 19  มกราคม2561 ที่ห้องประชุม301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล  นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ได้แถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติปี 2561 ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จำนวน 17 คน ใน 3 สาขา ดังนี้[/quote]

[box type=”note” ]

 1) สาขาทัศนศิลป์ จำนวน 5 คน ได้แก่ 1.นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ (จิตรกรรม) 2.นายศราวุธ ดวงจำปา (ประติมากรรม) 3.นายเสวต เทศน์ธรรม (ประติมากรรม) 4.นายสมชาย แก้วทอง (การออกแบบแฟชั่น) และ 5.นายสิน พงษ์หาญยุทธ (สถาปัตยกรรม)

2) สาขาวรรณศิลป์ จำนวน 3 คน ได้แก่ 1. นางเพ็ญศรี เคียงศิริ 2.นายพิบูลศักดิ์ ละครพล 3.นายเทพศิริ สุขโสภา

3) สาขาศิลปะการแสดง จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.นางสุรางค์ ดุริยพันธุ์ (คีตศิลป์) 2.นางรัตติยะ วิกสิตพงศ์ (นาฏศิลป์ไทย) 3.นายบุญศรี รัตนัง (ดนตรีพื้นบ้านล้านนา)  4.นายวิรัช อยู่ถาวร (ดนตรีสากล) 5.ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา (นาฏศิลป์สากล) 6.นายพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ (ดนตรีไทยสากล) 7.ศาสตราจารย์มัทนี รัตนิน (ละครเวที) 8.นายยุทธนา มุกดาสนิท (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)  9.นายคเณศ เค้ามูลคดี (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)[/box]

ศิลปินแห่งชาติ ปี 2561สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับค่าตอบแทน เดือนละ 25,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบราชการ รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัยครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท และหากเสียชีวิตจะมีค่าช่วยเหลืองานบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตไม่เกิน 150,000 บาท เป็นต้น
ที่มา: มติชนออนไลน์ (2561)

[quote arrow=”yes”]คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ มีดังนี้[/quote]

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
  2. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น
  3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
  4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
  5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
  6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
  7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

[quote arrow=”yes”]ลักษณะและความหมายของเข็มศิลปินแห่งชาติ[/quote]

ลักษณะของเข็ม เป็นเหรียญกลม ภายในจัดองค์ประกอบเป็นภาพดอกบัวเรียงซ้อนกันสามดอก มีแพรแถบรองรับต่อเนื่อง อ้อมรัดแถบริ้วธงชาติไทยตามแนวโค้งของเหรียญ ภายในผ้าจารึกคำว่า “ศิลปินแห่งชาติ” และได้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ประดิษฐานไว้เหนือเหรียญกลมโดยมีผ้าโบพันรอบคฑาไม้ชัยพฤกษ์ หัวเม็ดทรงมัณฑ์ เชื่อมประสานระหว่างกัน 

[quote arrow=”yes”]ความหมาย[/quote]

แสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ความสารมารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รบพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานเข็มเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลต่อไป

โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกจากการระดมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านศิลปะทุกสาขา ดังนี้

หลักเกณฑ์ที่ 1 คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ

1 ) เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน 2) เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น 3) เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน 4) เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น 5) เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน 6) เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน 7) เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ[divide icon=”circle” width=”medium”]

หลักเกณฑ์ที่ 2 คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะ

1 ) ผลงานสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความงาม คุณค่าทางอารมณ์ สะท้อนความเป็นธรรมชาติ หรือสถานภาพทางสังคม และวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย ค่านิยม จริยธรรม เอกลักษณ์ของท้องถิ่น และเอกลักษณ์ของชาติ    2)ผลงานสร้างสรรค์แสดงออกถึงแนวคิด กระตุ้นและพัฒนาทางสติปัญญาแก่มนุษยชาติด้านศิลปะสาขานั้น ๆ  3) ผลงานสร้างสรรค์ให้ความรู้สึกสะเทือนใจ ให้พลังความรู้ และส่งเสริมจินตนาการ  4 )ผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตนไม่ลอกเลียนแบบจากผู้อื่นหรือมีกลวิธีเชิงสร้างสรรค์[divide icon=”circle” width=”medium”]

หลักเกณฑ์ที่ 3 การเผยแพร่และยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ

1 ) ผลงานได้รับการจัดแสดงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานอ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด  2) ผลงานได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ

[divide icon=”circle” width=”medium”]

คลิกดูวิกิพีเดีย  รายนามศิลปินแห่งชาติ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึงปัจจุบัน จำแนกตามปีและสาขาตามลำดับ


[quote arrow=”yes”]เอกสารอ้างอิง[/quote]

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.  (ม.ป.ป.).  ศิลปินแห่งชาติ National Artist.  เข้าถึงได้จาก http://art.culture.go.th/art_aboutUs.php

ประกาศ 17 ศิลปินแห่งชาติปี 2561.  (2561, 20 มกราคม).  เดลินิวส์.  น. 8.

อุดม เชยกีวงศ์.  (2547).  ปฏิทินประเพณี 12 เดือน.  กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.

Kapook.com.  (2017).  24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ.  เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/56456

วันศิลปินแห่งชาติ