วันผู้สูงอายุแห่งชาติ

รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้เลือก “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]

พลเอกเปรม-นายกรัฐมนตรีประยุทธ์-รดน้ำดำหัว-ขอพร“วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็นวันที่ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือก็คือวันสงกรานต์ ซึ่งหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นทุกปี หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญกับผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามศักยภาพของตนเองอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมการเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ

[/quote]

 

ความหมายของ ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือผู้สูงอายุตอนต้น คือบุคคลที่มีอายุ 60-69 ปีทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือบุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง โดยใช้ “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและมีดอกสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่ายเหมือนกับผู้ทรงชัยวุฒิที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความเป็นมาของผู้สูงอายุ[/quote]

วันผู้สูงอายุ-วัมนธรรมไทยในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข จึงได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่เดือดร้อนมีความทุกข์ยากประสบปัญหาและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

[dropcap font=”Arial” color=”#cc2333″]1[/dropcap]เพื่อให้การสงเคราะห์คนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือประสบปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้
[dropcap font=”Arial” color=”#ff6742″]2[/dropcap]เพื่อให้บริการแก่คนชราที่อยู่กับครอบครัวของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด นันทนาการ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน ที่ไม่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยวกับคนชรา ไม่ให้เร่ร่อน ทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคมและให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควรแก่อัตภาพ
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]5[/dropcap]เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่คนชราได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
[dropcap font=”Arial” color=”#f46616″]6[/dropcap]เพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้แล้วทางรัฐบาลมีหน้าที่จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูต่อไป

วันผู้สูงอายุส่วนของรัฐบาลไทย ก็ได้เห็นความสำคัญโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติขึ้น โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนจากหน่วยราชการองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายวางแผนและดำเนินกิจกรรมระดับชาติที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นรวม 7 สาขา เพื่อดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่

  • คณะอนุกรรมการ การศึกษาวิจัยและวางแผนระยะยาวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
  • คณะอนุกรรมการ ประสานงานบริการสุขภาพผู้สูงอายุ
  • คณะอนุกรรมการ สวัสดิการผู้สูงอายุ
  • คณะอนุกรรมการ การศึกษาวัฒนธรรมและกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ
  • คณะอนุกรรมการ วิเทศสัมพันธ์เรื่องผู้สูงอายุ
  • คณะอนุกรรมการ ประชาสัมพันธ์กิจการผู้สูงอายุ
  • คณะอนุกรรมการ จัดหาทุนส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ

 

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]

วันผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุของทุกปีตามแผน (พ.ศ. 2525 – 2544) แผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ. 2525 – 2544)

 

[/quote]

 

คณะอนุกรรมการการศึกษาวิจัยและวางแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน ได้จัดทำแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ. 2525 – 2544) ขึ้น โดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษาเป็นหลัก แผนนี้ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการ 5 ด้าน คือ

  1. ด้านสุขภาพอนามัย
  2. ด้านการศึกษา
  3. ด้านการสังคมวัฒนธรรม
  4. ด้านความมั่นคงทางรายได้และการทำงาน
  5. ด้านสวัสดิการสังคม

อัคนี สุขยุคล.  (ม.ป.ป.).  ๑๓ เมษายน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ [เว็บบล็อก].  เข้าถึงได้จาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=578&filename=index

BlogGang.com.  (2552).  วันผู้สูงอายุแห่งชาติ.  เข้าถึงได้จาก https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=luckystar&month=04-2009&date=04&group=18&gblog=53

วันผู้สูงอายุสากล: www.library.siam.edu/international-day-of-older-persons/

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ