วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม หรือ เมย์เดย์ วันแรงงานสากล
[box type=”note”]แรงงาน คือ ความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ กิจการที่คนทำงานในการผลิตเศรษฐทรัพย์ ผู้ใช้แรงงาน (สมบัติ จำปาเงิน, 2547, น. 94)[/box][quote arrow=”yes”]ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ[/quote]
วันแรงงานหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “เมย์เดย์” เป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ที่เกษตรกรในประเทศแถบยุโรปจะหยุดงาน เพื่อจัดพิธีเฉลิมฉลองและบวงสรวงเทพเจ้าแห่งการเกษตร ต่อมาไม่นานเมื่อเศรษฐกิจหลักของประเทศพัฒนาเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ประเพณีวันหยุดประจำปีจึงถูกยกเลิก ขณะที่แรงงานมนุษย์ถูกมองเสมือนเครื่องจักรประเภทหนึ่ง ที่ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 10-16 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนในสหราชอาณาจักรจึงเริ่มเรียกร้องการปรับปรุงเวลาและเงื่อนไขการทำงาน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วันแปดชั่วโมง” หรือ “EIGHT-HOUR DAY” ในปี พ.ศ. 2360 ต่อมาในปี พ.ศ. 2399 แรงงานชาวออสเตรเลียพร้อมใจกันประกาศให้วันที่ 21 เมษายน เป็นวันหยุดประจำปีของแรงงานทุกคน เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ต่อสู้ในวันแปดชั่วโมง สหพันธ์สหภาพแรงงานจึงประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2429 เป็นวันระลึกถึงวันแปดชั่วโมงทั่วโลกเมื่อได้ยินเช่นนั้น แรงงานในสหรัฐฯ ทั่วประเทศจึงนัดหยุดงานและออกประท้วงเพื่อสนับสนุนวันดังกล่าว แต่เหตุการณ์บานปลายจนเกิดการปะทะระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมในเมืองชิคาโก้ จนเป็นเหตุให้ตำรวจและผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก จนถึงปี พ.ศ. 2447 ระหว่างการประชุมสังคมนิยมระหว่างประเทศที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเยอรมนี ก็เกิดกรณีเรียกร้อง ให้องค์กรพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและสหภาพแรงงานทั่วโลก ประท้วงเรียกร้องสิทธิแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม และกำหนดให้องค์กรกรรมกรทั่วโลกหยุดทำงานในวันเดียวกัน (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ม.ป.ป.) นับจากนั้นเป็นต้นมา วันที่ 1 พฤษภาคมจึงเป็น “วันกรรมกรสากล” หรือ “วันเมย์เดย์” ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน
[quote arrow=”yes”]ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย[/quote]
วันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทยจัดขึ้นครั้งแรก ในปี 2495 เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นได้ประกาศให้ใช้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้รับการจดทะเบียน ทำให้ต้องจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้น เพื่อสะดวกในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ ซึ่งต่อมาได้ผลักดันให้รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นออกกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งผลการเรียกร้องทำให้คณะรัฐบาลออกพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 (ศิริวรรณ คุ้มโห้, 2546, น.76) ซึ่งต่อมารัฐบาลไทยขยายกิจการ ด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ กำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานปี พ.ศ. 2500 ได้มีพระราชบัญญัติแรงงานให้ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงาน ประจำปี ในวันแรงงานแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคมแต่เดิม การบริหารแรงงานขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่ต่อมารัฐบาล เล็งเห็นว่า งานบริหารด้านแรงงานควรมีการคุ้มครอง ผู้ใช้แรงงานให้มีสิทธิภาพ ทั่วถึงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 จึงมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้ง กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมขึ้น เพื่อให้การบริหารงาน ได้มีความก้าวหน้า ทัดเทียมนานาประเทศ และมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (กระปุกดอทคอม, ม.ป.ป.)
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]2[/dropcap]งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพ และความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]5[/dropcap]งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ทั้งสองฝ่าย เข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ[divide icon=”circle” width=”medium”]
ส่วนด้านที่เกี่ยวกับกรรมกรก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายร้อยกลุ่ม และยังได้รวมตัวกันจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน มี 3 สภา ได้แก่
- สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
- สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
- สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
กระปุกดอทคอม. (ม.ป.ป.). วันแรงงาน 2561 ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก
https://hilight.kapook.com/view/23219
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (ม.ป.ป.). วันแรงงานแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.pea.co.th/c1/เกี่ยวกับเรา/แผนงานและโครงการ/ArtMID/3809/ArticleID/35266/วันแรงงานแห่งชาติ
ศิริวรรณ คุ้มโห้. (ผู้เรียบเรียง). (2546). วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.
สมบัติ จำปาทอง. (2547). วันสำคัญของเรา. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.