หนังสือ “Vouch for” ประจำวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568
ชื่อหนังสือ (Title) : Drugs for the Heart
ผู้แต่ง (Author) : Emeritus Professor Lionel H. Opie, Professor Bernard J. Gersh
เลขเรียกหนังสือ (Call Number) : 615.71 D794 2013
รายละเอียด (Book Review) : Drugs for the Heart ให้รายละเอียดในเรื่องเกี่ยวกับยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย พร้อมอธิบายถึงความสำคัญทางเภสัชวิทยา ข้อห้ามและผลข้างเคียงของยาขยายหลอดเลือด รวมไปถึงการจัดการกับ โรค“Comorbid” (โรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อมๆ กันกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก) ผลงานความร่วมมือของ 1Emeritus Professor Lionel H. Opie ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านการแพทย์และอดีตผู้อำนวยการสถาบัน The Hatter Institute for Cardiovascular Research in Africa; HICRA at the University of Cape Town, South Africa – – เจ้าของรางวัล “The Order of Mapungubwe (in Silver)” for EXCELLENT CONTRIBUTION TO THE KNOWLEDGE OF AND ACHIEVEMENT IN THE FIELD OF CARDIOLOGY https://www.news.uct.ac.za/article/-2020-02-24-emeritus-professor-lionel-opie-19332020 และ 2Professor Bernard J. Gersh ผู้ให้คำปรึกษาด้านอายุรกรรมแผนกโรคหัวใจและอาจารย์แพทย์ Internal Medicine, Mayo Graduate School of Medicine, Mayo Clinic, Rochester, MN (Minnesota) – – เจ้าของรางวัล “The James B. Herrick Award” (2012 Honoree Bernard Gersh) https://af.garfieldregistry.org/about/meet-the-scientific-committee/bernard-j-gersh อาจารย์-นักศึกษาที่สนใจสามารถศึกษาค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตัวเล่ม
และในระหว่างวันที่ 18 – 19 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา องค์กรพันธมิตรโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Cardiovascular Disease Alliance) พร้อมด้วยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมจัดประชุมโรคหัวใจระดับเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Heart Summit) ที่ประเทศไทย นับเป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับทวีปครั้งแรกของประเทศไทย โดยการประชุมโรคหัวใจระดับเอเชียแปซิฟิกครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่การหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางใหม่ที่จะใช้ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาลในฐานะผู้กำหนดนโยบาย องค์กรประชาสังคม ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ที่จะเข้ามาเติมเต็มการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในทุกมิติ ทั้งการป้องกัน การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟู ที่จะเป็นการกำหนดอนาคตสุขภาพของประชาชนในภูมิภาค ทั้งนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดจากทั่วภูมิภาคในทวีปเอเชีย-แปซิฟิก จำนวนกว่า 100 คนเข้าร่วม http://www.medi.co.th/news_detail41.php?q_id=4283