วันดำรงราชานุภาพ ๑ ธันวาคม

๑ ธันวาคม วันดำรงราชานุภาพ  บุคคลไทยพระองค์แรกที่ องค์การ UNESCO ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยในปี พ.ศ.๒๕๔๘ รัฐบาลกำหนดให้วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่องค์การ ยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

https://youtu.be/Wni1J5cokmM

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๕๗ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๒๓ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ เวลา ๔ นาฬิกา ๑๗ นาที ภายในพระบรมมหาราชวัง ทรงได้รับพระราชทานนามจากพระบิดาว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อตั้ง และปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครองภายในประเทศ และการบริหารราชการของกระทรวงมหาดไทยทรงเป็น องค์ปฐมเสนาบดีแห่งกระทรวงมหาดไทยได้รับการถวายสมัญญานามว่าพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยและ เป็นคนไทยคนแรกที่องค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติได้ถวายสดุดีให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

การศึกษา
พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาชั้นต้นจากสำนักของคุณแสง และคุณปาน ราชนิกุลบุญนาคใน พระบรมมหาราชวัง พ.ศ.๒๔๑๕ ทรงเข้าเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวงโดยมี มร.ฟรานชิล ยอร์ซ แพตเตอร์สันเป็นพระอาจารย์ จากนั้นทรงศึกษาวิชาทหารในสำนักหลวงรัฐรณยุทธและเข้ารับการศึกษาที่ โรงเรียนนายร้อย กรมมหาดเล็ก จนสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา และได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง

ดำรงราชานุภาพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (ด้านพระหัตถ์ซ้าย) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (ด้านพระหัตถ์ขวา)
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]พระกรณียกิจสำคัญมี ๓ ด้าน[/quote] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ ซึ่ง ล้วนแต่เป็นงานใหญ่ และงานสำคัญอย่างยิ่งของบ้านเมือง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศหลายด้าน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยตรัสชมพระองค์ เปรียบเทียบว่าเป็นเสมือน “เพชร ประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ” ผลงานด้านต่าง ๆ ของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันสูงเป็นที่ประจักษ์ แก่มหาชนทุกยุคทุกสมัย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๑[/dropcap]ด้านการศึกษา
ปี พ.ศ.๒๔๒๓ ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการ ศึกษามาตั้งแต่นั้น เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรง เรียนพลเรือน จนถึงพ.ศ.๒๔๓๓ ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ จึงปรับปรุงงานด้าน การศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตรเวลาเรียน ให้เป็นแบบสากล ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อ สอน ให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน กำหนดแนวปฏิบัติราชการ ในกรมธรรมการ และ ริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน เป็นต้น
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]๒[/dropcap]ด้านการการปกครอง
ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘-๒๔๕๘
ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่ โดยยกเลิกการ ปกครองที่เรียกว่า ระบบกินเมือง ซึ่งเป็นระบบที่ให้อำนาจเจ้าเมืองมากมาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้ง เป็นมณฑล และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ ระบบนี้เป็นระบบการรวม อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง นอกจากนี้ยังมีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุข ของราษฎร เช่น กรมตำรวจ กรมป่าไม้ กรมพยาบาล เป็นต้น ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญในการตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะต้องการเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๓[/dropcap]ด้านพระนิพนธ์
ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ไทย พระองค์ได้ทรงก่อตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ[divide icon=”circle” width=”medium”]

ดำรงราชานุภาพผลงานนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

  • ชุมนุมพระนิพนธ์ ๖๐ เรื่อง
  • พระนิพนธ์ตำนาน ๔๖ เรื่อง
  • พระนิพนธ์ประวัติศาสตร์และท่องเที่ยว ๔๗ เรื่อง
  • พระนิพนธ์ชีวประวัติ ๑๒๐ เรื่อง
  • นิทานโบราณคดี ๒๑ เรื่อง
  • สาส์นสมเด็จ ๕๕ เรื่อง
  • พระกวีนิพนธ์ ๙๒ เรื่อง
  • บทความภาษาต่างประเทศ ๕ เรื่อง
  • พระนิพนธ์คำนำและอธิบาย ๕๙๕ เรื่อง

สิ้นพระชนม์
เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ที่วังวรดิศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์สิริรวมพระชนม์มายุได้ ๘๑ พรรษา

ดำรงราชานุภาพ
พระราชานุสาวรีย์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ต้นราชสกุล ดิศกุล) พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย และยังทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย หรือก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน เป็นพระองค์แรก

คติธรรมและแนวคิด ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

  • เอกลักษณ์คนไทย คือ ความนอบน้อมถ่อมตน ความขยันหมั่นศึกษา ความกตัญญูรู้คุณบุพการีชนและ ครูอาจารย์ ปฏิบัติได้เช่นนี้ความสุขความเจริญจักบังเกิดขึ้นแก่ตนและครบครัวอยู่เป็นนิจ
  • จงมองชาติบ้านเมืองให้เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องช่วยพิทักษ์รักษาอุ้มชูและเสริมเกียรติยศ อย่ามองอะไรเพียง ผ่านไปที เพราะแผ่นดินนี้จะต้องดำรงอยู่อย่างไกลอีกหลายช่วงคนจากเราไป

  • ธนพล สินธารา.  (2559).  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ.  เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ
  • ศิวาพร พุตหล้า.  (2559, 2 สิงหาคม).  บุคคลตัวอย่าง.  [เว็บบล็อก].  เข้าถึงได้จาก  http://www.thaigoodview.com/node/203368
  • สำนักข่าวทีนิวส์.  (2559).  1 ธันวาคม วันดำรงราชานุภาพ : บุคคลไทยพระองค์แรก ที่ UNESCO ยกย่องให้เป็น บุคคลสำคัญของโลก.  เข้าถึงได้จาก http://www.tnews.co.th/contents/215238
  • สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.  (2555).  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 150 ปี วันประสูติ และครบ 50 ปี บุคลสำคัญของโลก.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

วันดำรงราชานุภาพ Damrongrajnupab Day