Health Sciences resources

5907_med_book_Clinically oriented anatomyClinically Oriented Anatomy / Keith L. Moore, Arthur F. Dalley and Anne M.R. Agur / 612 M822C 2014
     กายวิภาคศาสตร์เชิงคลินิก ครอบคลุมข้อมูลระบบที่สำคัญพร้อมแนวคิดพื้นฐานที่สามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงลักษณะทางกายวิภาคของมนุษย์ได้แก่
I. Head & Neck ศีรษะและคอ
II.Thorax ทรวงอก (ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง)
III.Abdomen หน้าท้อง
IV.Pelvis and Perineum กระดูกเชิงกรานและฝีเย็บ
V.Back หลัง (กระดูกสันหลัง & ไขสันหลัง)
VI.Upper limbs/Lower limbs รยางค์บนและรยางค์ล่าง (ส่วนของร่างกายมนุษย์ตั้งแต่สะโพก ไปจนถึงข้อเท้า)
 อาจกล่าวได้ว่า ‘Clinically Oriented Anatomy’ เล่มนี้เหมาะสำหรับ แพทย์ ผู้ช่วยแพทย์ (Physician Assistants) นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ด้านไคโรแพรคติก หรือ ไคโรแพรคเตอร์ ศัลยแพทย์ทางบาทาเวชศาสตร์ เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตัวเล่ม

 

5907_med_book_Nurse to Nurse ECG Interpretation

Nurse to Nurse ECG Interpretation / Peggy Jenkins / 616.1207547 J52N 2010
     การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูปฏิกิริยาทางไฟฟ้าของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรดที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก การตรวจนี้เป็นการตรวจแบบ Non-Invasive โดยต้องใช้อุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยเฉพาะ Nurse to Nurse ECG Interpretation แบ่งเนื้อหาออกเป็น 10 บท โดยเริ่มอธิบายจาก ‘Basic Principles of ECG Interpretation’ หลักการเกิดและอ่านค่าแปลผลของ ‘ECG’ (ECG หรือ EKG ซึ่งตัว ‘K’ เป็นภาษาเยอรมัน มาจากคำว่า Kardiac แปลว่า หัวใจ เช่นเดียวกันกับตัว ‘C’ ในภาษาอังกฤษคือ Cardiac) – – จังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แตกต่างกันในเวชปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นแบบ Sinus Rhythms, Atrial Rhythms, Junctional Rhythms หรือ Ventricular Rhythms – – รายละเอียดเรื่องกลุ่มเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่ Nodal หรือ Pacemaker Cells, Conducting หรือ Purkinje Cells และ Myocardial Cells เป็นต้น พร้อมภาคผนวก A: Bradycardia Algorithm – – ภาคผนวก B: ACLS Tachycardia Algorithm – – ภาคผนวก C: ACLS Pulseless Arrest Algorithm เหมาะสำหรับพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศศัลยศาสตร์


Nurse to Nurse ECG Interpretation เป็นหนังสือที่อยู่ใน “Nurse to Nurse Series” ซึ่งประกอบด้วย
  1. Nurse to Nurse Evidence-Based Practice By June Larrabee
  2. Nurse to Nurse Trauma Care By Donna Nayduch
  3. Nurse to Nurse ECG Interpretation By Peggy Jenkins
  4. Nurse to Nurse Wound Care By Donna Scemons, Denise Elston
  5. Nurse to Nurse Palliative Care By Margaret Campbell
  6. Nurse to Nurse: Dementia Care By Cynthia D. Steele
  7. Nurse to Nurse Nursing Management By Linda J. Knodel
     ผลงานของ Professor of Nursing: Peggy Jenkins, MS, CAS, CCRN, CNE; Intensive Care Unit Bassett Healthcare Department of Nursing Hartwick College Oneonta, NY

     *ขอแสดงความยินดี แด่รองศาสตราจารย์ ดร. จินตนา ยูนิพันธุ์ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง Board of Directors ของ INTERNATIONAL COUNCIL OF NURSES; ICN ในวาระ 2013- 2017 Closing the Gap: The Millennium Development Goals”

 

5907_med_book_Pharmacotherapy Principles and PracticePharmacotherapy Principles and Practice / Marie A.Chisholm-Burns [et al.] / 615.58 P536 2013
     เภสัชบำบัด (Pharmacotherapy) เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Care) แก่ผู้ป่วยทุกกลุ่มที่มีโรคทางระบบต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบต่อมไรท่อ เป็นต้น ‘Pharmacotherapy Principles and Practice’ ให้รายละเอียดในเรื่องของหลักการที่สำคัญของการรักษาด้วยยาและหลักปฏิบัติเพื่อการรักษา โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ และอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การให้ความรู้ด้านเภสัชสนเทศ การติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือด การวิเคราะห์ใบสั่งยา เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพด้านเภสัชกรรมมีความรู้และความชำนาญทางการบริบาลทางเภสัชกรรมสาขาเภสัชบำบัด สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
แนวทางการรักษาโรคในปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้วยความก้าวหน้าด้านการรักษาด้วยยาในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็วและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนคำแนะนำในการรักษาโรคอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดังนั้น “เภสัชกร” ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบุคลากรทางสาธารณสุขจำเป็นต้องรับทราบความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการทำงานในอาชีพของตนเองในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมต่อไป ผลงานความร่วมมือของผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง จำนวน 6 ท่าน ดังนี้
1. ศาสตราจารย์ Marie A. Chisholm-Burns, PharmD (Doctor of Pharmacy), FCCP <B>(Fellow of the American College of Clinical Pharmacy), FASHP (Fellow of the American Society of Health System Pharmacists)
2. ศาสตราจารย์ Terry L. Schwinghammer, PharmD, FCCP, FASHP, BCPS (Board Certified Pharmacotherapy Specialist)
3. ศาสตราจารย์ Barbara G. Wells, PharmD, FASHP, FCCP, BCPP (Board Certified Psychiatric Pharmacist)
4. ศาสตราจารย์ Patrick M. Malone, PharmD, FASHP
5. ศาสตราจารย์ Jill M. Kolesar, PharmD, BCPS, FCCP
6. ศาสตราจารย์ Joseph T. DiPiro, PharmD, FCCP
 * Congratulation to Dr. Marie Chisholm-Burns, Dean of the College of Pharmacy at The University of Tennessee Health Science Center who awarded ASHP Foundation’s 2013 Award for Sustained Contributions ASHP Foundation to recognize 2013 Literature Awardees in Orlando
&The Literature Awards Program honors important contributions by pharmacists to the biomedical literature. The Literature Awards are made to individuals who publish high-impact articles in the primary, peer-reviewed, journals. Emphasis is placed on originality, innovation, impact and quality of the contributed articles. สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://www.ashp.org/searchresults.aspx?q=Marie%20A.%20Chisholm-Burns

http://www.ashpfoundation.org/PR2013LitAwardees

http://uthscalumni.com/s/1341/uthsc/index.aspx?sid=1341&gid=4&pgid=3775&cid=5650&ecid=5650&crid=0&calpgid=61&calcid=1863

5907_Atlas of Clinical Gross Anatomy

Atlas of Clinical Gross Anatomy / Kenneth P. Moses [Eds.] / R 611.00222 M911A 2013
มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross Anatomy) เป็นการศึกษากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ในระดับมหภาค รวมไปถึงโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในโรงเรียนแพทย์หรือคณะแพทยศาสตร์ส่วนใหญ่จะบังคับให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษา‘มหกายวิภาคศาสตร์’ หลักสูตรมักจะคาดหวังให้นักศึกษาได้เรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ขั้นพื้นฐานและรู้จักตำแหน่งที่สำคัญทางกายวิภาค (Anatomical Landmark) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอธิบายที่อยู่ของอวัยวะ และใช้เป็นจุดอ้างอิงตำแหน่งของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดโดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์ชั้นสูง ร่างกายจะประกอบด้วยโครงสร้างที่มีความสลับซับซ้อน ตั้งแต่ระดับเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบ จึงจะทำให้ร่างกายสามารถทำงานเชื่อมโยง ประสานกันเพื่อที่หน้าที่ในการดำรงชีวิตอยู่รอด อีกทั้งยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้  “Atlas of Clinical Gross Anatomy” ได้รับรางวัลริชาร์ดแอชเชอร์ (The Richard Asher Prize) ซึ่งเป็นรางวัลตำราด้านการแพทย์ รายละเอียดเพิ่มเติมที่: “2006 Kenneth P. Moses, John C. Banks, Pedro B. Nava & Darrell Petersen for Atlas of Clinical Gross Anatomy” (Elsevier). [Online]. Available: http://www.societyofauthors.org/richd-asher-prize-past-winners (2013, July 25) นักศึกษาและผู้สนใจสามารถศึกษาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตัวเล่ม ที่ Reference Room 2nd Floor (ห้องอ้างอิง) Academic Resources Center สำนักหอสมุด

 

5907_med_CD_Junior Animated Atlas of Human Anatomy

The Junior Animated Atlas of Human Anatomy and Physiology Maps
ผู้จัดทำ : FOCUS MEDIA SINGAPORE PTE LTD.
Call Number : CD 00602 2010 [V. 1-6]
รายละเอียด : The Junior Animated Atlas of Human Anatomy and Physiology Maps เป็น Animated Atlas CD-ROM ชุดกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ ในแต่ละระบบ ซึ่งทาง Focus Media ได้แบ่งออกเป็น 6 ระบบ ดังนี้
ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ = Skeletal and Muscular System – Vol. 1
ระบบประสาท = Nervous System – Vol. 2
ระบบหมุนเวียนเลือด / ระบบไหลเวียนเลือด = Circulatory System – Vol. 3
ระบบหายใจ = Respiratory System – Vol. 4
 ระบบย่อยอาหาร = Digestive and Excretory System – Vol. 5
ระบบสืบพันธุ์ = Reproductive System – Vol. 6
     This is an interesting Animated Atlas of Human Anatomy and Physiology . The human systems are graphically explained in animations packed in CDs to help you explore the human anatomy, identify organs and learn where these organs are located and what they do. The 6 CDs on the various systems can be played either as a full presentation video or section wise. Each CD begins with an introduction of duration 2.05 minutes. Durations of the six CDs on the full presentation.

          * นับเป็นความสำเร็จที่นำมาซึ่งความภาคภูมิให้แก่ประเทศชาติ อีกทั้งหน่วยงานทางด้านการแพทย์เมื่อศูนย์ธาลัสซีเมียศิริราชเป็นสถาบันที่ได้รับรางวัลโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนานาชาติ สุลต่าน บิน คาลิฟา (The Sultan Bin Khalifa Internationation Thalassemia Award 2013 for Center of Excellence; Thalassemia Center) จากสถาบันที่เข้าร่วมทั้งหมดกว่า 300 แห่ง ที่ดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียทั่วโลก โดยเหตุผลหลักที่ศูนย์ธาลัสซีเมียของศิริราชได้รับรางวัลดังกล่าวคือ ผลงานการให้บริการผู้ป่วยธาลัสซีเมียแบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคัดกรอง การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก และการทำยีนบำบัดในอนาคตที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์กรระดับโลกด้วยมาตรฐาน ISO 15189 นอกจากนี้ ปูชนียาจารย์ของศิริราช ซึ่งได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ยังได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลประเภทบุคคล ผู้สร้างสรรค์ผลงานวิชาการและงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อวงการธาลัสซีเมียมาอย่างยาวนาน ด้วยผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศกว่า 200 เรื่อง และยังมีการแต่งตำราวิชาการและคู่มือโลหิตวิทยาแก่แพทย์รุ่นหลังไว้ศึกษาเป็นจำนวนมาก

*โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางเลือดที่สามารถถ่ายทอดกันได้ทางพันธุกรรม พบมากในภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทยเป็นอีกประเทศที่มีความชุกของโรคนี้สูง อย่างไรก็ดีโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาด้วยการตรวจเลือด วางแผนครอบครัวก่อนมีลูก ในอนาคตอาจสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาด้วย “ยีนบำบัด” ซึ่งขณะนี้ได้มีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทางศิริราชกับ University of Oxford (มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ มีอายุกว่า 800 ปี) และ Harvard University USA. Massachusetts ซึ่งทราบกันดีว่า มหาวิทยาลัย Harvard เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกลุ่มไอวีลีก (Ivy League) กล่าวคือเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนในอเมริกาทรงอิทธิพลในการศึกษาโลก ซึ่งประกอบด้วย
1. Harvard University http://www.harvard.edu อายุครบ 377 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ที่เมือง Cambridge มลรัฐ Massachusetts มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยหลายทาง ความสำคัญที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางคือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเคยทรงมาศึกษาต่อที่ “โรงเรียนการสาธารณสุข” (School of Public Health) ในปี ค.ศ. 1916 และทรงกลับมาศึกษาต่ออีกครั้งที่ “โรงเรียนการแพทย์” หรือ (Harvard Medical School) ในปี ค.ศ 1926 โดยที่โรงเรียนการแพทย์ฮาร์วาร์ดนี้ถือเป็นต้นแบบของโรงเรียนการแพทย์ในประเทศไทย อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประสูติกาลที่ Mount Auburn Hospital เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ (ค.ศ. 1927) ปัจจุบันมี “จัตุรัสภูมิพล” King Bhumibol Adulyadej Square เป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงวันพระราชสมภพอยู่ใกล้กับ Harvard Kennedy School เรียบเรียงจาก ‘KING BHUMIBOL ADULYADEJ SQUARE’ [Online]. Available: http://www.cambridgeusa.org/listing/king-bhumibol-adulyadej-square (2013, November 11)
2. Yale University http://www.yale.edu
3. University of Pennsylvania http://www.upenn.edu
4. Princeton University http://www.princeton.edu
5. Columbia University http://www.columbia.edu
6. Brown University http://www.brown.edu
7. Dartmouth College http://dartmouth.edu
8. Cornell University https://www.cornell.edu

 

5907_Guyton and Hall Textbook of Medical PhysiologyGuyton and Hall Textbook of Medical Physiology : With Student Consult Online Access / John E. Hall / 612 H177G 2011
Guyton and Hall Textbook of Medical Physiology 12thed. เป็นตำราการแพทย์ทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี เนื้อหาภายในประกอบด้วย มนุษย์สรีรวิทยา (Human Physiology) โครงสร้างทางกายภาพของเซลล์ (Physical Structure of the Cell) การวัดศักยภาพของเมมเบรน (Measuring the Membrane Potential) กายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยาของกล้ามเนื้อโครงร่าง (Physiologic Anatomy of Skeletal Muscle) กายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยาในตับ (Physiologic Anatomy of the Liver) กายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยาของอวัยวะเพศหญิง (Physiologic Anatomy of the Female Sexual Organs) เป็นต้น อธิบายหลักการทางสรีรวิทยาที่ซับซ้อนโดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ ทั้งยังปรับปรุงเนื้อหาให้สามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์ที่ Student Consult พร้อมคำถามประเมินตนเอง นอกจากนี้ยังได้นำเสนอแนวคิดที่แตกต่างกันระหว่าง “Need to Know” และ “Nice to Know” โดยศาสตราจารย์ John E. Hall และ Professor Arthur C. Guyton แห่งภาควิชาสรีรวิทยาและชีวฟิสิกส์
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี <Department of Physiology & Biophysics, University of Mississippi Medical Center

 

 

Health Sciences resources