วันคนพิการสากล

3 ธันวาคม วันคนพิการสากล

คนพิการ หมายถึง บุคคลมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546)

องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี 2524 เป็น “ปีคนพิการสากล” ส่งผลให้ทั่วโลกตระหนักถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนพิการ และตื่นตัวในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ รวมถึงสนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพของคนพิการ เปิดโอกาสและสนับสนุนคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป เพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเองมากที่สุด

วันคนพิการสากลต่อมาในปี 2525 องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันคนพิการสากล” เพื่อรำลึกถึงที่สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ รับรองแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ (World Programme of Action concerning Disabled Persons) พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ เฉลิมฉลองวันคนพิการสากลทุกปี เพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยอยู่บนฐานของสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม และได้มาตรฐานในระดับสากล

ความเป็นมาของวันคนพิการสากล

เมื่อองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี พุทธศักราช 2526-2535 เป็น ทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS, 1983-1992 ทำให้ประเทศต่างๆ รวมไปถึงองค์การต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วโลกได้ส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการอย่างกว้างขวาง และมีการติดต่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ ด้วยการเสนอแนะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ โดยการสนองความต้องการของคนพิการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ให้ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุด ในทุกรูปแบบต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนรณรงค์เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในสังคม รวมไปถึงการจัดกิจกรรม เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ทักษะการช่วยตัวเอง การเพิ่มพุนสมรรถภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างคนพิการและคนปกติ

ในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือ ESCAP ได้จัดให้มีสมัยการประชุมครั้งที่ 48 ขึ้น  ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีมติ ประกาศให้ปีพุทธศักราช 2536-2545 เป็นทศวรรษคนพิการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค หรือรู้จักกันในนาม สากลทั่วโลกว่า “Asian and Pacific Decade of Disabled Persons, 1993-2002”

โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคนพิการ ในทุกๆ ด้านทั่วทุกประเทศ ในแถบเอเชียและแปซิฟิค ทั้งในด้านการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่งเสริมการฝึกอบรม อาชีพ และจัดหาสถานประกอบการรองรับแรงงานคนพิการ สนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนผลักดันให้คน พิการมีส่วนร่วม ในสังคมอย่างเต็มที่ซึ่งก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไปในสังคม

ประเทศไทยนำโดย มูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิกในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (APCD Foundation) โดยร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA), กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Disabled Peoples’ International Asia-Pacific-DPI/AP) เพื่อพัฒนาเครือข่ายและความร่วมมือในภูมิภาคและพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการในเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งเพื่อส่งเสริมสังคมที่ปราศจากอุปสรรคต่อคนพิการ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดในประเทศเวียตนาม, ปากีสถาน, ปาปัวนิวกินี และ คีร์กิซสถาน โดยผลจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดการสร้างเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรคนพิการในระดับอนุภูมิภาค

Website: Asia-Pacific Development Center on Disability

Fanpage: AsiaPacificDevelopmentCenterOnDisability

เว็บไซต์: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

จากการสำรวจทางสถิติขององค์การสหประชาชาติพบว่ากลุ่มประเทศแถบเอเชีย และแปซิฟิคนี้มีจำนวนประชากร ที่เป็นบุคคลพิการมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากปัญหาของความยากจน นอกเหนือจากนั้นก็เป็นเพราะสาเหตุของความรุนแรง ของภัยพิบัติทางธรรมชาติอุบัติเหตุและผลของสงคราม และด้วยความพิการทุพพลภาพนี้เองที่เริ่มแพร่มากขึ้นทุกขณะทางองค์การสหประชาชาติ จึงเร่งตระหนักที่ หาหนทางวิธีการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดจำนวนของผู้พิการลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้   โดยทางคณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชีย และแปซิฟิค ก็ได้มีแนวนโยบายที่จะเร่ง ผลักดัน และส่งเสริมคนพิการให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละชาติ ตั้งคณะกรรมการประสาน งานให้ความร่วมมือช่วยเหลือคนพิการและองค์การต่าง ๆ ที่จะร่วมมือสร้างชีวิตพิการให้ดีขึ้นทั้งในระดับชาติ และระดับสากล ตลอดจนเร่งพัฒนาส่งเสริมให้คนพิการทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ให้ได้รับการฟื้นฟูบำบัดรักษา การศึกษา การฝึกฝีมือและอาชีพ หรือแม้ กระทั่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทั้งทางการกีฬา วัฒนธรรม ประเพณีและสิ่งแวดล้อม

องค์การสหประชาติได้ส่งเสริมคนพิการในด้านต่าง ๆ มากมายด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ส่งเสริมให้คนพิการ ได้มีโอกาส อยู่ร่วมกับคนในสังคมและมีโอกาสได้รับการศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนปกติ และให้คน พิการมีส่วนร่วมใน กิจกรรม อื่น ๆ อีกมากมายซึ่งสามารถจำแนกออกมาในด้านต่างๆ อาทิเช่น ในด้านสังคม  คนพิการสามารถอยู่ร่วมกับคน ในสังคมต่าง ๆ ได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้  และทำตนไม่ให้เป็นภาระแก่คน ในสังคมนั้น  ซึ่งนานาประชาชาติได้มอบ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น การคิดค้น ประดิษฐ์ หุนยนต์สุนัขเพื่อช่วยคนตาบอดในการเดินทาง หรือการประดิษฐ์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนหูหนวก เป็นต้น  ซึ่งช่วยให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งประดิษฐ์ขาเทียม เพื่อคนพิการทางขา อีกด้วย

นอกจากงานในด้านสังคมแล้ว ในด้านอาชีพก็เช่นกัน นานาประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญในการ ประกอบอาชีพของคนพิการด้วย เพื่อให้คนพิการได้นำเงินมาจุนเจือตนเองและครอบครัว  จึงได้สนับสนุนคน พิการในด้านต่าง ๆ เช่น งานหัตถกรรม เป็นต้น ขายล๊อตเตอรี่ พนักงานรับโทรศัพท์ งานช่างต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างกระจก เป็นต้น ทำให้คนพิการ ได้มีโอกาสประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่วนงานที่เกี่ยวกับการศึกษานั้น นานาชาติก็ส่งเสริมได้เช่นเดียวกันเพื่อให้ คนพิการได้นำเอาวิชาความรู้ไปใช้ในด้านการ ประกอบอาชีพ และป้อง กันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ซึ่งได้ให้โอกาส ในการศึกษาของคนพิการในด้านต่าง ๆ เช่น การให้ทุนเกี่ยว กับการศึกษาแก่คนพิการ และการผลิตอุปกรณ์ทางการศึกษา แก่คนพิการต่าง ๆ เช่น การผลิตเครื่องเรียง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสแกนเนอร์ของคนตาบอด การผลิตลูกคิดสเลต และสไตลัสสำหรับคนตาบอด ทำให้คนตาบอดศึกษาหาความรู้ได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีการจัดแปลหนังสือเรียน ของคนปกติมา พิมพ์เป็นหนังสือเรียนเป็นตัวอักษรเบลล์แก่คนตาบอดอีกด้วย  ทางด้านกีฬาก็เช่นกันนานาประชาชาติก็ได้ ส่งเสริมและให้โอกาสเพื่อให้คนพิการได้แสดงความสามารถในด้านกีฬาเช่นกันตั้งแต่การแข่งขัน กีฬาระดับ ประเทศ ระดับโลก ตามลำดับ ซึ่งนานาประชาชาติได้ให้โอกาสในด้านกีฬาต่าง ๆ เช่น การจัดงานแข่งขัน เฟสปิคเกมส์ การว่ายน้ำคนพิการ วิ่งมาราธอนคนพิการ

เฟสปิกเกมส์

เฟสปิกเกมส์ (Fespic Games-FarEast and South Pacific Games for the Disabled) เป็นกีฬาของคนพิการ ในประเทศที่อยู่ตะวันออกไกลและแปซิฟิกตอนใต้ ได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 มีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 973 คน จาก 18 ประเทศ ต่อมาในปี 2532 ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 5 อีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเป็น 1,700 คน จาก 41 ประเทศ ความสำเร็จในการจัดครั้งนั้น เป็นผลให้รัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันตระหนักว่า การเล่นกีฬาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนี่ง ที่ช่วยให้คนพิการได้เพิ่มประสบการณ์ชีวิตด้านสังคม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการฝึกอบรมผู้นำด้านกีฬาและผู้ฝึกสอน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ด้านกีฬาของคนพิการ

วันคนพิการสากล

ASIAN PARA-GAMES 2014 – PRELUDE TO PARALYMPICS. (Oct 30 2014) retire from https://bwfbadminton.com/news-single/2014/10/30/asian-para-games-2014-prelude-to-paralympics/?pcat=169

สำหรับประเทศไทยร่วมให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีผลทำให้ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งสาระหลัก คือ เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิของคนพิการ โดยเน้นที่การขจัดอุปสรรคจากภายนอก และการแก้ไขความเสียเปรียบทางสังคมของคนพิการ ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 2 ประการ ได้แก่
1) การพัฒนาสังคม (Social Development) เป็นการกำหนดมาตรการที่มุ่งพัฒนาบริการในด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป
2) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนพิการ ซึ่งรวมถึงการขจัดการเลือกปฏิบัติและการสร้างหลักประกันความเสมอภาคในทุกมิติ (Non-Discrimination and Equality)
ได้กำหนดประเภทความพิการ ออกเป็น 6 ประเภท ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เรื่อง “ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ” พ.ศ.2552 ดังนี้

  1. พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
  2. พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว คือ ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
  3. พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย คือ การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
  4. พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
  5. พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้ พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป
  6. พิการซ้ำซ้อน คือ มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงวิธีการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองคนพิการ เพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกายหรือสุขภาพ รวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตลอดจนให้รัฐต้องสงเคราะห์คนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้

สนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป และมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษี แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ มีการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรข. (2560). คนพิการกับโอกาสทางสังคม. เข้าถึงได้จาก http://rajanukul.go.th/new/index.php?mode=academic&group=323&id=3497&date_start=&date_end=

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สำนักหอสมุดกลาง. (2549).  สาระสนเทศน่ารู้ : วันคนพิการสากล 3 ธันวา. เข้าถึงได้จาก  https://www.lib.ru.ac.th/journal/dec/dec03-DisabledDay.html

วันคนพิการสากล.  (2556).  เข้าถึงได้จาก  https://guru.sanook.com/4490/

วันคนพิการแห่งชาติ.  (2559).  เข้าถึงได้จาก  https://guru.sanook.com/6716/

 

ม.สยาม+มหาวิทยาลัยสยาม+siam university-logo+ห้องสมุด

วันคนพิการสากล International Disability Day