วันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี สภาพยาบาลระหว่างประเทศ กำหนดให้เป็นวันพยาบาลสากล เพื่อระลึกถึงผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ ให้คนยึดถือเป็นแบบอย่าง ทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลกร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน และกำหนดแนวทาง เพื่อให้พยาบาลทั่วโลกรณรงค์แก้ไขปัญหาสุขภาพในแต่ละปี
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความเป็นมาของวันพยาบาลสากล[/quote]สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2514 (ค.ศ.1971) ทั้งนี้ วันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
[quote arrow=”yes”]จุดประสงค์ของการกำหนดวันพยาบาลสากล[/quote]วันพยาบาลสากลถูกกำหนดขึ้น เพื่อสดุดีคุณงามความดีของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ และให้คนยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลก ร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน และกำหนดแนวทางเพื่อให้พยาบาลทั่วโลกรณรงค์แก้ไขปัญหาสุขภาพในแต่ละปี
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล[/quote]มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1820 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล จัดว่ามีฐานะ จึงทำให้เธอได้รับการศึกษาอย่างดี มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล ดังนั้นเมื่อเธออายุได้ 20 ปี ได้ขอบิดามารดาเรียนพยาบาล แต่ไม่ได้รับการอนุญาต เนื่องจากในสมัยนั้นงานพยาบาลไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วย จนหาโอกาสได้ไปเยี่ยม และดูงานตามโรงพยาบาลต่างๆ ในทวีปยุโรป จนสุดท้ายมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เข้าศึกษาอบรมวิชาพยาบาลที่ประเทศเยอรมนี ได้ดังใจฝัน
ต่อมาในปี ค.ศ.1857 เกิดสงครามไครเมียขึ้น มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เธอเสียสละทรัพย์สิน และขอเรี่ยไรจัดหาเครื่องเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือทหาร อีกทั้งยังได้ออกตระเวนตรวจเยี่ยม เพื่อรักษาและให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน จนได้รับสมญานามว่า “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” (The lady of the lamp)
ภายหลังสงครามสิ้นสุด มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ริเริ่มพัฒนากิจการพยาบาลให้ก้าวหน้า จนในที่สุดได้มีผู้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล “ไนติงเกล” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากนั้นมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ และวางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย จนก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย[divide icon=”circle” width=”medium”]
สำหรับในประเทศไทยนั้น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้เข้าเป็นองค์กรสมาชิกของสภาพยาบาลระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2504 และได้จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากลเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2529 โดยในทุก ๆ ปี จะมีการตั้งคำขวัญเนื่องในวันพยาบาลสากล ซึ่งคำขวัญในปี พ.ศ.2560 คือ “พยาบาลเสียงแห่งพลัง : สุขภาพเป็นสิทธิมนุษยชน” (Nurses : A Voice to Lead Health is a Human Right)
โดยกิจกรรมวันพยาบาลที่จัดขึ้นในสถานพยาบาล หรือ หน่วยงานการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ นิทรรศการเกี่ยวกับสุขภาพ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ, จัดให้มีการตรวจสุขภาพ ให้การบริการพยาบาลแก่ประชาชน, จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต ฯลฯ
วันพยาบาลสากลไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลทั่วโลกเท่านั้น สำหรับประชาชนคนทั่วไป ก็ควรรำลึกถึงความสำคัญของวันนี้ และยกย่อง มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่เป็นปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาลของโลก
เว็บไซต์หลัก: http://www.florence-nightingale.co.uk/ http://www.thainurse.org/ http://www.icn.ch/
ชเณษฎ์นิจ สิทธิวาณิชย์กุล. (2560). 12 พฤษภาคม วันพยาบาลสากล. เข้าถึงได้จาก http://www.nationtv.tv/main/content/378547041/
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. (2559). 12 พฤษภาคม วันพยาบาลสากล. เข้าถึงได้จาก https://www.bcnnv.ac.th/th/?p=2556