กาชาด ถือกำเนิดมาเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เพื่อนมนุษย์ วัตถุประสงค์ คือ การป้องกันชีวิต และสุขภาพ การเคารพในสิทธิของมนุษย์ รวมทั้งการส่งเสริมสัมพันธภาพ ความร่วมมือเพื่อสันติสุขที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ เป็นการช่วยเหลือโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ชนชั้น และลัทธิการเมือง นี่คือหลักการกาชาดที่สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงประเภทต่าง ๆ ยึดถือปฏิบัติในการดำเนินงานตลอดมา คำว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” (Human Dignity) ในการดำเนินงานของกาชาด จึงมีความสำคัญมาก เพราะมนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีที่ผู้อื่นมิอาจจะล่วงละเมิดได้ การปฏิบัติการของกาชาด จึงทำหน้าที่ ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งในยามสงคราม และเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐอีกด้วย
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติกาชาดสากล[/quote]นายอังรี ตูนังต์ (Henry Dunant) เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2371 ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2402 ในขณะที่เขาเดินทางไปประเทศอิตาลี และได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลด ใจ และทารุณโหดร้ายอ้นเนื่องมาจากสงคราม เขาจึงชักชวนชาวบ้านทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสงคราม ที่ซอลเฟริโน ต่อจากนั้นสามปี เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เรื่อง ความทรงจำแห่งซอลเฟริโน ซึ่งบรรยาย เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เขาได้พบในสงคราม ทำให้เขามีความคิดที่จะก่อตั้งองค์กรอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บในยามเกิดสงคราม ซึ่งทั่วโลกยอมรับทำให้เกิดผลดังนี้
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]การก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสภากาชาด ประจำชาติในปี พ.ศ.2406 เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ[dropcap font=”Arial” color=”#ff7742″]2[/dropcap]การเผยแพร่และพัฒนากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law) ซึ่งเป็นที่มาของอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Convention) และถือได้ว่าเป็นกฎหมายมนุษยธรรมฉบับแรกของโลก
ดังนั้น วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี ประเทศทั่วโลกที่เป็นสมาชิกกาชาดได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมวันกาชาดโลก เพื่อแสดงความรำลึกถึงผู้เริ่มก่อตั้งกาชาด นายอังรี ตูนังต์ นักมนุษยธรรมผู้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือ เพื่อนมนุษย์ให้ให้รอดพ้นจากความโหดร้ายของภัยสังคม
[quote font_size=”18″ color=”#ffffff” bgcolor=”#cc0033″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]สัญลักษณ์ และความหมายของเครื่องหมายกาชาด[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]เครื่องหมายกากบาทแดงบนพื้นขาว (Red Cross) เป็นสัญลักษณ์กาชาดที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ได้แก่ สภากาชาดประเทศต่าง ๆ โดยปีพ.ศ.2406 ได้มีการประชุมนานาชาติที่นครเจนีวา ซึ่งที่ประชุมได้รับรองให้ใช้กาชาดบนพื้นขาวเป็นเครื่องหมายพิเศษ อันเด่นชัด และต่อมาในปี พ.ศ.2407 ได้มีการประชุมผู้แทนระหว่างประที่จัดขึ้น ณ นครเจนีวา ได้มีการรับ รอง อนุสัญญาเจนีวาฉบับแรก และมีการรับรองกาชาดบนพื้นขาวอย่างเป็นทางการ
[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]2[/dropcap]เครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงบนพื้นขาว (Rec Crescent) เป็นสัญลักษณ์กาชาดในกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า สภาเสี้ยววงเดือนแดง ประเทศต่าง ๆ มีการใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ.2419 ในส่งครามระหว่างรัสเซียและตุรกี ในคาบสมุทรบอลข่าน จักวรรดิออตโตมาน ตกลงใช้เครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงบนพื้นขาวแทนเครื่องหมายกาชาด ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ.2472 เครื่องหมายนี้ได้รับการยอมรับในที่ประชุมทางการทูต และได้ถูกนำมาเขียนไว้ใน อนุสัญญาด้วย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เครื่องหมายคริสตัลแดงบนพื้นขาว (Red Crystal) เป็นเครื่องหมายที่ได้รับการรับรองให้เป็นสัญลักษณ์ใหม่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2548 เพื่อเพิ่มความยึดหยุ่นในการใช้สัญลักษณ์และยุติปัญหาการใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ นอกเหนือไปจากสัญลักษณ์กาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง
สัญลักษณ์ดังกล่าว มีกฎหมายระหว่างประเทศรับรอง ห้ามนำไปใช้โดยมิได้รับอนุญาตจากสภากาชาด หรือกาชาดระหว่างประเทศ[divide icon=”circle” width=”medium”]
การใช้เครื่องหมายกาชาด
1. ยามสงคราม หรือมีการขัดแย้งทางทหาร
- เป็นเครื่องหมายคุ้มครองบุคคล เช่น แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร เชลยศึก หรือนักโทษสงคราม รวมทั้งผู้บาดเจ็บทั้งทหารและพลเรือน
- เป็นเครื่องหมายคุ้มครองอาคาร สถานที่และทรัพย์สินของกาชาด ยานพาหนะ ตลอดจน ทั้งอุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงคราม
2. ยามสงบ เป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ถึง การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ
[quote arrow=”yes”]หลักการกาชาด[/quote]หลักการกาชาด เป็นหลักปฏิบัติของสภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดง ว่าด้วยการดำเนินงาน และภารกิจของกาชาด มี 7 ประการ ดังนี้
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]มนุษยธรรม (Humanity) เพื่อป้องกันชีวิตและสุขภาพ การเคารพในสิทธิของมนุษย์ การส่งเสริมสัมพันธภาพ ความร่วมมือเพื่อ สันติสุขที่ยั่งยืนของมวลมนุษยชาติ[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]2[/dropcap]ความไม่ลำเอียง (Impartiality) เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ตามความต้องการที่จำเป็นในความรีบด่วนของปัญหา เพื่อป้องกันชีวิต และสุข ภาพโดยไม่ได้แบ่งเชื้อชาติ ชนชั้น ศาสนา สัญชาติ และสัทธิการเมือง
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ความเป็นกลาง (Neutrality) กาชาดไม่เข้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา หรือ ความคิดเห็นใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ความเป็นอิสระ (Independence) กาชาดเป็นองค์กรอิสระ สภากาชาดแห่งชาติแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐ ของตน และอยู่ในบังคับกฎหมายของประเทศของตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถ ปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]5[/dropcap]บริการอาสาสมัคร (Voluntary Service) เป็นองค์การกุศลสาธารณะที่ทำงานด้วยความสมัครใจ เต็มใจไม่คิดหวังสิ่งตอบแทนจากการทำหน้า ที่ให้บริการต่าง ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]6[/dropcap]ความเป็นเอกภาพ (Unity) แต่ละประเทศมีสภากาชาด หรือสภาเสี้ยววงเดือนแดง ได้เพียงสภาเดียวทำหน้าที่ให้บริการด้าน มนุษยธรรมช่วยเหนือผู้ตกยาก ผู้ประสบภัยทั่วประเทศ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]ความเป็นสากล (Universality) สภากาชาด หรือสภาเสี้ยววงเดือนแดง เป็นองค์กรที่มีอยู่ทั่วโลกให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเท่าเทียมก้น[divide icon=”circle” width=”medium”]
องค์กรกาชาด
ขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 3 องค์กร คือ
- คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of The Red Cross) หรือ ICRC มีบทบาทหน้าที่หลัก คือการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดการขัดแย้งทางทหาร เกิดสงคราม กลางเมือง หรือสงครามระหว่างประเทศ และธำรงรักษาหลักการกาชาด
- สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) หรือ IFRC มีบทบาทหน้าที่หลัก คือ ติดต่อ ประสานงานกับสภากาชาดระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยธรรมชาติทั่วไป พัฒนา ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนและเยาวชน จัดตั้งและพัฒนาสภากาชาดของประเทศต่าง ๆ โดยปฏิบัติ งานตามหลักการของกาชาดและอนุสัญญาเจนีวา
- สภากาชาดประจำชาติ สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ (Nation Red Cross and Red Crescent Society) บทบาทหน้าที่หลัก คือ ฝึกอบรมบุคลากร เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เช่น แพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร ฯลฯ เพื่อปฏิบัติงานในโครงการต่างๆ ของสภากาชาด และบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติ รวมถึงฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้วย
(ปัจจุบันสหพันธ์สภากาชาดฯ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 190 ประเทศ)
[quote arrow=”yes”]ประวัติกาชาดไทย[/quote]พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งองค์กรการกุศล เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) โดยให้ชื่อว่า “สภาอุณาโลมแดงแห่งสยาม” ดำเนินการช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ ป่วยไข้ จากการสู้รบ ทำหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ รักษาพยาบาลผู้ป่วยจากภัยสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ
ปี พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ณ กุรงเจนีวา ประเทศสวิสเชอร์แลนด์ เพื่อลงนามความตกลงเรื่อง การใช้เครื่องหมายกาชาดในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ สภาอุณาโลมแดงแห่งสยาม จึงได้เปลี่ยนโดยใช้ชื่อว่า “สภากาชาดสยาม” โดยใช้เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์ ในปี พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสืบทอด พระราชภารกิจของสภากาชาดสยาม ให้เจริญก้าวหน้าเช่น อารยประเทศ ปี พ.ศ.2454 พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมลงนามความตกลง เรื่อง กฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด (กฎหมายมนุษยธรรม) ระหว่างประเทศ ทรงโปรดแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เป็นอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม บริหารงานของสภากาชาดให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศ “พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม” ในปี พ.ศ.2461 และทรงนำสภากาชาดเข้าเป็นสมาชิกกาชาดสากล ลำดับที่ 27
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 ได้มีการรับมติจากกาชาดระหว่างประเทศให้เผยแพร่กิจการรมกาชาดสู่เยาวชนในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยจัดเข้าสู่ระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ
สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย: http://thaircy.redcross.or.th/redcrossandyouth/icrc/symbols/
อุดม เชยกีวงศ์. (2547). ปฎิทินประเพณี 12 เดือน. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.
สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย. (2016). ประวัติกาชาดสากล. เข้าถึงได้จาก
http://thaircy.redcross.or.th/redcrossandyouth/icrc/icrc_history/