วันมาฆบูชา Makha Bucha Day

[box type=”note”] วันมาฆบูชา Makha Bucha Day เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 สำหรับในปี 2561 นี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม   เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฎิโมกข์ และพระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย[/box] [quote arrow=”yes”]ความหมาย “วันมาฆบูชา”[/quote] มาฆบูชา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง การทำบุญพิเศษทาง
พระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน 3 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ 4 ประการ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น. 901)

  1. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ)
  2. พระสงฆ์ 1,250 รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
  3. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา
  4. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก

จาตุรงคสันนิบาต จึงหมายความว่า “การประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น. 316)

[quote arrow=”yes”]ความสำคัญ “วันมาฆบูชา”[/quote]

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกัน พระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส (อุดม เชยกีวงศ์, 2547)

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย[/quote]

ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา (อุดม เชยกีวงศ์, 2547)

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

[quote arrow=”yes”]หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชา[/quote]

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ “โอวาทปาฏิโมกข์” ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2540)

หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)[divide icon=”circle” width=”medium”] 2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)[divide icon=”circle” width=”medium”] 3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย
ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” นั่นเอง

[quote arrow=”yes”]อุดมการณ์ 4 ได้แก่ [/quote]

[dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือเบียดเบียนผู้อื่น
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

[quote arrow=”yes”]วิธีการ 6 ได้แก่ [/quote]

[dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
[dropcap font=”Arial”]5[/dropcap]อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]6[/dropcap]ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี

[quote arrow=”yes”]กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา[/quote]

การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่าง ๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


[quote arrow=”yes”]เอกสารอ้างอิง[/quote]

กระทรวงศึกษาธิการ.  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.  (2540).  วันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คนอีสาน.  (2557).  วันมาฆบูชา.  เข้าถึงได้จาก http://www.kknontat.com/somchai/?p=2594

ราชบัณฑิตยสถาน.  (2556).  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.  กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อุดม  เชยกีวงศ์.  (ผู้เรียบเรียง).  (2547).  ปฏิทินประเพณี 12 เดือน.  กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.

วันมาฆบูชา Makha Bucha Day