วันต้นไม้ประจำปีของชาติ

วันต้นไม้ประจำปีของชาติ  ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี

คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทย ตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความเป็นมา[/quote]

วันต้นไม้ประจำปีของโลกถือกำเนิดมาร้อยกว่าปีในมลรัฐ NEBRASKA ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มขึ้นบนที่ดินของ เจสเตอร์ลิงมอร์ตัน (J. Sterling Morton) หลังจากที่เดินทางมาถึงเมือง Nebraska City เมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ.1872) ในวันเกิดที่เป็นวันที่เขาปลูกต้นไม้ฉลองให้กับตัวเอง และตั้งขึ้นว่า Arbor day นับแต่นั้น เขาทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และได้ใช้เวลาปลูกสวนผลไม้ รวมทั้งทดลองปลูกพืชต่างๆ เขาแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของต้นไม้(สมมติฐานเกี่ยวกับสภาพอากาศโลก) และเผยแพร่แนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ต่อมาก็ได้มีคนปฎิบัติตามวิถีทางนี้ วันอาร์เบอร์ได้กลายเป็นวันหยุดตามกฎหมายในเนบราสก้าในปี พ. ศ. 2428 (วันที่ 22 เมษายนเพื่อเป็นเกียรติแก่วันเกิดของมอร์ตัน) และขยายไปถึงสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆ ทั้งหมด และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2515 ประชาชนในมลรัฐ NEBRASKA ร่วมกันปลูกต้นไม้กว่าหนึ่งล้านต้น เป็นที่รำลึกถึง และถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อมาทั่วสหรัฐอเมริกา ความคิดนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบัน(ค.ศ.2018)ก็นับรวมได้ 146 ปีมาแล้ว

สำหรับประเทศไทย ปี พ.ศ.2481 ประเทศไทย โดยกรมป่าไม้ ได้เชิญชวนข้าราชการพ่อค้าและประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้ในวันชาติ (ประเทศไทย) อันเป็นวันที่คณะราษฎรก่อการปฏิวัติสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และ ถือว่าเป็น วันต้นไม้ประจำปีของชาติ อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย  แต่ในอีก 21 ปีต่อมา เมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ยุคจอมพล ส. ธนรัชต์)ให้ยกเลิกวันชาติ มีผลทำให้วันต้นไม้ประจำปีของชาติ ต้องเปลี่ยนไป และคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น วันต้นไม้ประจำปีของชาติ แทน  ต่อมาปีพ.ศ. 2532 มีการเสนอคณะรัฐมนตรีว่าปัจจุบันสภาพของฤดูกาลได้เปลี่ยนแปลงไปเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถรอดได้ก่อนถึงฤดูแล้ง จึงพิจารณาอนุมัติให้ วันวิสาขบูชาซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมและเป็นระยะเริ่มต้นของฤดูฝนเป็นวันต้นไม้แห่งชาติ  ปัจจุบันวันวิสาขบูชาจึงเป็น “วันต้นไม้ประจำปี”

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความสำคัญของป่าไม้[/quote]

วันต้นไม้ประจําปีแห่งชาติป่าไม้นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น ความต้องการในด้านบริโภคย่อมขยายตัวตามไปด้วย แต่เนื่องจากทรัพยากรบางประเภทมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ที่ดิน ป่าไม้ สินแร่ ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ โดยเฉพาะ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้โดยง่าย แต่การปลูกทดแทนต้องรอเวลาและใช้งบประมาณสูงในการดูแลรักษาทำนุบำรุง
ดังนั้นปลายปี พ.ศ.2528 รัฐบาลจึงได้ประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อให้การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ สามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องเป็นแผนระยะยาว และประสานสอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรชนิดอื่นๆ และเพื่อให้ส่วนราชการรวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้มีความเข้าใจร่วมกันและถือปฏิบัติไปในทางเดียวกัน
นโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้กำหนดไห้ให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ทั้งนี้ได้กำหนดไว้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและนันทนาการของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 25 นั้น รัฐบาลได้กำหนดไว้เป็นป่าเศรษฐกิจเพื่อการผลิตไม้และของป่า
คุณประโยชน์ป่าไม้สำหรับมนุษย์และสัตว์โลกนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงได้แก่  การนำมาเป็นอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ทำเส้นใยเครื่องนุ่งห่ม ทำสิ่งปลูกสร้างอาศัย ใช้เป็นวัตถุเคมี ฯลฯ
ในทางอ้อม ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ฝนตก และทำให้เกิดความชุ่มชื้น ช่วยบรรเทาความร้ายแรงของพายุ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ฯลฯ
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ป่าไม้ได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็วทั้งจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า อันเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดมาใช้อย่างขาดแผนการดูแลบำรุงรักษาและปลูกทดแทน
วันวิสาขบูชา[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กำหนดวันต้นไม้ประจำปีของชาติ[/quote] จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 ได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปีเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ    ทั้งนี้นอกจากเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในด้านป่าไม้และสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้มีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้อีกด้วย

[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”] [accordion title=”คลิกอ่านเพิ่มเติม ความเป็นมาของวันชาติไทย” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”] แนวคิดเรื่องความเป็นชาติแพร่หลายเป็นครั้งแรก เมื่อปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส พ.ศ.2332 และขยายไปทั่วยุโรป เอเชีย แอฟริกา และทวีปอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดการเมืองชาตินิยม เพลงชาติ ธงชาติ และวันชาติในที่สุด โดยวันชาตินี้ประเทศส่วนใหญ่ถือวันเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญ ได้แก่ ประกาศอิสรภาพหรือการสถาปนารัฐ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนอกจากถือวันเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ยังผสมผสานกับวัฒนธรรมและประเพณีอีกส่วนหนึ่งด้วย
[box type=”note”] ความเป็นมาของวันชาติไทย
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งรัฐไทที่เรียกว่า “สยาม” มาตั้งแต่โบราณนั้น สยามประเทศปกครองโดยพ่อขุนและพระมหากษัตริย์มาตลอด จึงเกิดความผูกพันระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อย่างแนบแน่น ดังนั้น
วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ จึงเป็นวันสำคัญของคนไทย (แม้เปลี่ยนนามประเทศมาเป็น “ประเทศไทย” ตั้งแต่ พ.ศ.2482 ก็ยังให้ความสำคัญกับวันดังกล่าว) ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้ถือว่า วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จเป็นวันชาติ โดยประกาศมา ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2481

การเปลี่ยนวันชาติเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2503 เมื่อมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องให้ถือ วันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ความว่า

“ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายนนั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่ามีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่าประเทศต่างๆ ได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันชนชาติต่างๆ กัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์ บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติโดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง

คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอา วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติในวันที่ 24 มิถุนายน เสีย

คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบด้วย จึงได้ลงมติให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง วันชาตินั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วยต่อไปตั้งแต่บัดนี้

ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2503

จอมพล ส. ธนรัชต์
นายกรัฐมนตรี”

“วันชาติไทย” เว็บไซต์มติชนออนไลน์ เขียนโดย ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม-คอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์มติชน 2560 https://www.matichon.co.th/columnists/news_467992
[/box] [/accordion] [accordion title=”คลิกอ่านเพิ่มเติม วันชาติไทยในปัจจุบัน” icon=”linecon-icon-bulb”] วันชาติไทยในปัจจุบัน
[box type=”note”] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 มีข้อบังคับสำคัญคือ “ให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วย”
ประกาศนี้เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) คือ วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยไปพร้อมกันด้วย ทำให้วันชาติไทยยังไม่มีความชัดเจนแน่นอนจนถึงปัจจุบัน เมื่อมี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทยความว่า
ตามที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ยังความเศร้าสลดอย่างยิ่งใหญ่มาสู่พสกนิกรชาวไทย และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานต่อประเทศชาติและประชาชนเสมอมา ปวงชนชาวไทยทั้งปวงจึงน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและตระหนักถึงความสำคัญของวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดว่า วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสำคัญของชาติไทย ดังนี้

1.เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร
2.เป็นวันชาติ
3.เป็นวันพ่อแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

“วันชาติไทย” เว็บไซต์มติชนออนไลน์ เขียนโดย ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม-คอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์มติชน 2560 https://www.matichon.co.th/columnists/news_467992
[/box] [/accordion] [/accordions]

เพื่อให้ทรัพยากรป่าไม้คงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ปี พ.ศ.2528 – 2531 เป็นปีต้นไม้แห่งชาติและกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทยตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต

ภาพทรงปลูกต้นไม้ตามที่ต่างๆ

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ [/quote]

จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 ได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปีเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ทั้งนี้นอกจากเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในด้านป่าไม้และสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้มีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้อีกด้วย ทั้งนี้กิจกรรมในวันป่าไม้แห่งชาติ อาทิ

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]จัดนิทรรศการ เอกสารเผยแพร่คุณประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้ รวมทั้งการอนุรักษ์
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ซึ่งจัดโดยภาครัฐบาล หรือเอกชนต่างๆ เช่นปลูกต้นไม้ การป้องกันไฟป่า ปลูกต้นไม้บริเวณสถานที่ของหน่วยงานและที่สาธารณประโยชน์ โรงเรียน ศาสนสถาน เป็นต้น


แฟนเพจnational tree day: https://www.facebook.com/NationalTreeDay/

กรมป่าไม้.  (ม.ป.ป.).  วันต้นไม้ประจำปีของชาติ.  เข้าถึงได้จาก www.forest.go.th/index.php? option=com_content&view=article&id=408
ธนากิต. (2543). ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ.  (ม.ป.ป.).  เข้าถึงได้จาก http://library2.parliament.go.th/wichakarn/content-digest/digest008.pdf
Education.  (2556).  วันต้นไม้แห่งชาติ 15 ค่ำเดือน 6.  เข้าถึงได้จาก https://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4475.html
Guru Sanook.Com.  (2556).  วันต้นไม้แห่งชาติ.  เข้าถึงได้จาก https://guru.sanook.com/7618/

 

วันต้นไม้ประจำปีของชาติ National tree day