วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

[quote arrow=”yes”]ที่มาของ คำว่า “วิทยุกระจายเสียง”[/quote] คำว่า “วิทยุกระจายเสียง” นี้เดิมทีเดียว เรายังไม่มีคำใช้เรียกกันเป็นภาษาไทย  จอมพลเรือ กรมพินิจพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงใช้วิธีเรียกทับศัพท์ “Radio Telegraph” ว่า “ราดิโอโทรเลข” ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงบัญญัติใช้คำว่า “วิทยุ” แทนคำว่า “ราดิโอ” ต่อมาราชบัณฑิตยสสถาน จึงได้ให้ใช้คำเต็ม เป็นทางการ “วิทยุกระจายเสียง” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Radio Broadcasting นั่นเอง (จุฑารัตน์  โสดาศรี, ม.ป.ป)

วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 อันเป็นรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพอสรุปประวัติโดยย่อดังนี้ (บุญเกื้อ  ควรหาวช, 2545, วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี, ม.ป.ป.)

พ.ศ. 2447 เมื่อห้าง บี.กริม ซึ่งเป็นผู้แทนวิทยุและโทรทัศน์เยอรมัน ชื่อ เทเลฟุงเกน ได้นำเครื่องวิทยุโทรเลข เข้ามาตั้งเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขมาสองชุด โดยทดลองในกรุงเทพฯ และเกาะสีชัง หลังจากนั้นทางราชการกองทัพเรือ และกองทัพบกจึงได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขขนาดเล็ก มาใช้ราชการในเรือรบและในงานสนาม ในปี พ.ศ. 2456 ทางราชการทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวรขึ้นที่ตำบลศาลาแดงในกรุงเทพฯ สถานีหนึ่ง และที่ชายทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา อีกแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จมาทรงเปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินพ.ศ. 2470 พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดี กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในรัชกาลที่ 7  พระองค์ทรงนำเครื่องส่งวิทยุโทรศัพท์ขนาดกำลังส่ง 200 วัตต์ มาตั้งที่วังบ้านดอกไม้ ถนนหลวง ในกรุงเทพฯ ทดลองส่งเสียงพูดและเสียงดนตรีกระจายออกไป  ทรงเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ก็ทรงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ศึกษาถึงลักษณะของวิทยุกระจายเสียงและทดลองรูปแบบที่สมควรจัดตั้งในสยาม โดยได้สั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงกำลังส่ง 200 วัตต์ ขนาดความยาวคลื่น 36.42 เมตร ซึ่งเป็นคลื่นสั้นเข้ามา 1 เครื่องทำการทดลองที่กรมไปรษณีย์โทรเลขที่ปากคลองโอ่งอ่าง และเริ่มส่งวิทยุกระจายเสียงอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ใช้สัญญาณเรียกงานประจำสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า “4 พีเจ” ซึ่งพีเจย่อมาจาก “บุรฉัตรไชยากร” อันเป็นพระนามเดิมของสมเด็จกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

วันวิทยุกระจายเสียง Radio broadcasting dayจากนั้นกองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ย้ายสถานีจากปากคลองโอ่งอ่าง ไปตั้งที่ศาลาแดงใช้สัญญาณเรียกว่า ” 2 พีเจ” ช่างวิทยุไทยจึงได้ประกอบเครื่องส่งวิทยุใช้เองอีก 1 เครื่อง ส่งกระจายเสียงโดยใช้สัญญาณเรียกขานว่า ” 11 พีเจ ” (อ่านว่า หนึ่ง หนึ่ง พีเจ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 ประชาชนเริ่มมีความตื่นเต้นในการฟังวิทยุกระจายเสียงกันมากและมีการสร้างเครื่องรับวิทยุ ที่เรียกว่า เครื่องแร่กันมากขึ้น

วันวิทยุกระจายเสียง Radio broadcasting dayดังนั้น สมเด็จกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จึงทรงสั่งเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ขนาด 2.50 กิโลวัตต์ และขนาดคลื่น 300 เมตรจากบริษัท ฟิลลิปเรดิโอ จากประเทศฮอลแลนด์ ราคา 80,000 บาท เข้ามาอีก 1 เครื่อง พร้อมให้ห้างเกียร์สัน ดำเนินการสร้างห้องส่งกระจายเสียง เพื่อตั้งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกในประเทศไทยในชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” (Radio Bangkok at Phayatai) ตั้งอยู่ในพระราชวังพญาไท บริเวณทุ่งพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) นับว่าประเทศไทยเริ่มตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง หลังจากบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเพียง 7 ปี เครื่องส่งวิทยุโทรเลขครั้งนั้นเป็นแบบประกายไฟฟ้า (Spark) ทำคลื่นวิทยุชนิดคลื่นลด สมัยนั้นยังไม่มีหลอดวิทยุ และยังไม่สามารถทำคลื่นวิทยุชนิดคลื่นต่อเนื่องได้

กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ย้ายกิจการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง จากตึกกรมไปรษณีย์โทรเลข (เก่า) ปากคลองโอ่งอ่าง หน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ไปดำเนินการที่สถานีวิทยุศาลาแดง และเปลี่ยนใช้ความถี่ประมาณ 10,100 กิโลเฮิรตซ์ (ความยาวคลื่น 29.5 เมตร) มีกำลังส่ง 500 วัตต์ ใช้สัญญาณเรียกขานว่า 2 พี.เจ. และได้ประกอบพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 อันเป็นวันที่ระลึกฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  ด้วยการถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร มีใจความว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายและการบันเทิง แก่พ่อค้า ประชาชน เพื่อควบคุมการนี้เราได้ให้แก้ไขพระราชบัญญัติดั่งที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ดั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีมาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ไป”

โดยที่ปรากฏว่า ประชาชนสนใจและนิยมรับฟังวิทยุกระจายเสียงกันมากขึ้น โดยใช้เครื่องรับชนิดแร่ และชนิดหลอดขนาดเล็ก เพียง 2-3 หลอด กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข จึงได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรขึ้นที่บริเวณทุ่งพญาไท กรุงเทพ ฯ ตัวอาคารเครื่องส่งอยู่ในบริเวณทุ่งนา หน้าโฮเตล พญาไท (เดิมคือพระราชวังพญาไท) ส่วนห้องส่งกระจายเสียงอยู่บนชั้นสองของโฮเตลพญาไท (ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ของกองทัพบก)

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 ทางรัฐบาลได้สั่งโอนกิจการวิทยุกระจายเสียง จากกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปขึ้นอยู่กับสำนักงานโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี (ภายหลังได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมโฆษณาการ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมประชาสัมพันธ์) ดังนั้นการจดทะเบียนเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงกับเครื่องขยายเสียง และการดำเนินงานวิทยุกระจายเสียงภายในประเทศ รวมทั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพ ฯ ที่พญาไท จึงไปขึ้นอยู่กับสำนักงานโฆษณาการทั้งหมด

ส่วนการส่งวิทยุกระจายเสียงภาคต่างประเทศด้วยความถี่สูงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงทดลอง 8 พี.เจ. ที่ศาลาแดง กรุงเทพ ฯ คงโอนไปแต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเท่านั้น งานฝ่ายช่างที่เกี่ยวกับห้องส่งกระจายเสียง และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงยังคงอยู่กับกองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข (ต่อมาทางราชการกองทัพบกต้องการสถานที่ ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ที่พญาไทตั้งอยู่ จึงต้องย้ายเครื่องส่งวิทยุของสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท กลับมารวมอยู่ที่สถานีวิทยุศาลาแดง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ระหว่างการย้ายก็ได้ใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง 7 พี.เจ. กำลัง 10 กิโลวัตต์ ทำงานแทน ภายหลังเมื่อได้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียงไปขึ้นกับสำนักงานโฆษณาการ ซึ่งได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นกรมโฆษณาการในภายหลังและกรมโฆษณาการหาที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงได้ใหม่ที่ ซอยอารี แขวงสามเสนใน กรุงเทพฯ จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ณ ที่แห่งใหม่นี้)

ครั้นเมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพาในต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา เป็นผลให้กรุงเทพฯ ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดเสียหาย ต้องอพยพโยกย้ายที่ทำการรัฐบาลหลายแห่ง รวมทั้งสถานีวิทยุศาลาแดงด้วย การทดลองวิทยุกระจายเสียงจึงต้องระงับไป

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2488 ไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทั้ง 2 แห่งคือ โรงจักรไฟฟ้าวัดเลียบ และโรงจักรไฟฟ้าสามเสน ถูกทิ้งระเบิดเสียหายมาก ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ การส่งวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการจึงต้องหยุดไปหลายวัน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงคมนาคมจึงมีคำสั่งให้กรมไปรษณีย์โทรเลขรื้อฟื้นการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นใหม่ เพื่อสำรองใช้ในส่วนราชการ ในยามที่สถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการไม่อาจส่งวิทยุกระจายเสียงได้

กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้ตั้งสถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ขึ้นที่แผนกช่างวิทยุ ซึ่งย้ายจากสถานีวิทยุศาลาแดง มาอยู่ที่ตึกกรมไปรษณีย์โทรเลขเก่า เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า หน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ฝั่งพระนคร และส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ด้วยเครื่องส่งขนาดเล็กใช้ความถี่สูง ภายหลังจึงเพิ่มกำลังส่งเป็น 500 วัตต์ ใช้ความถี่ 4,755 กิโลเฮิรตซ์ 7,022 กิโลเฮิรตซ์ 5,955 กิโลเฮิรตซ์ และ 950 กิโลเฮิรตซ์รวม 4 เครื่อง ส่งวิทยุกระจายเสียงพร้อมกันด้วยรายการเดียวกัน

สถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ ของกองช่างวิทยุ กรมไปรษณีโทรเลข  จึงเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรก ที่ส่งรายการวิทยุกระจายเสียงคู่กับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมโฆษณาการ

ในปี พ.ศ.2495 ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อกรมโฆษณาการ เป็น กรมประชาสัมพันธ์ และได้ขยายงานสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นลำดับ

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียง  การสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงมีวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้ (Boonta, 2550)[/quote]

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]เพื่อเสนอข่าวสาร

การส่งข่าวสารทางวิทยุกระจายเสียงอันได้แก่ การรายงานสถานการณ์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมในประเทศ และต่างประเทศ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวอาชญากรรม ข่าวการศึกษา ข่าววัฒนธรรม ข่าวสาธารณสุข ข่าวสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ให้ประชาชนทราบ ในปัจจุบันกิจกรรมสำคัญในยุคข้อมูลข่าวสารและยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น จึงมีช่วงเวลาเสนอข่าวสารโดยหน่วยงานของรัฐ คือข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 2 ช่วง คือ ประมาณ 7 นาฬิกา และประมาณ 19 นาฬิกา และในทุกต้นชั่วโมงจะมีการรายงานข่าวโดยหน่วยงานภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีการรายงานบทรายงานพิเศษเป็นระยะ ๆ

       การเสนอข่าวทางวิทยุกระจายเสียงต้องมีผู้รายงานข่าว ผู้เขียนข่าว เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ และเพิ่มเติมผู้ประกาศข่าว เช่นเดียวกับสื่อมวลชนโทรทัศน์

[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]เพื่อถ่ายทอดความรู้

การถ่ายทอดความรู้ทางวิทยุกระจายเสียงถือเป็นวัตถุประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในยุคโลกไร้พรมแดนเช่นในปัจจุบัน ความรู้ที่ถ่ายทอดผ่านวิทยุกระจายเสียงมีทั้งนำเสนอความรู้โดยตรงและโดยอ้อมที่เสนอความรู้โดยตรง อาทิ รายการวิทยุเพื่อการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งจัดให้ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น รายการวิทยุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รายการวิทยุของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รายการวิทยุของกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายการวิทยุที่ให้ความรู้ทั่วไปที่ให้ความรู้เฉพาะเรื่อง เช่น การซื้อขายหุ้น การซ่องบำรุงรถยนต์ เป็นต้น รายการข่าว ส่วนที่นำเสนอความรู้โดยอ้อม เช่น รายการบันเทิงที่มีสาระความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ สอดแทรกอยู่ในรายการ เป็นต้น

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อให้ความบันเทิง

การเสนอรายการทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟัง แม้จะมิใช่วัตถุประสงค์หลักแต่ก็มีความสำคัญและมีผู้ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าในวัตถุประสงค์อื่น ๆ ทั้งนี้ เพราะผู้ที่ฟังวิทยุกระจายเสียงจะสนใจรายการวิทยุที่ให้ความบันเทิงอย่างมาก รายการบันเทิงจึงมีจัดดำเนินรายการตลอด 24 ชั่วโมง นอกเหนือจากช่วงเวลาข่าวประจำวัน และข่าวต้นชั่วโมง ผู้จัดรายการที่จัดรายการให้ความบันเทิงจึงมีจำนวนมากมีการแข่งขันสูงเพื่อแย่งผู้ฟัง สถานีวิทยุกระจายเสียงบางสถานีให้ความสำคัญต่อรายการประเภทนี้มากจึงจัดสรรเวลาส่วนใหญ่ให้แก่รายการเหล่านี้ รายการที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟัง เช่น รายการเพลง รายการเกมส์ ต่าง ๆ รายการสัมภาษณ์นักแสดง รายการละครวิทยุ เป็นต้น

[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]เพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์

การโฆษณาขายสินค้าและบริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์องค์กรต่าง ๆ โดยผ่านสื่อมวลชนวิทยุกระจายเสียง กระทำได้อย่างรวดเร็ว เผยแพร่ข้อมูลได้ถึงผู้ฟังจำนวนมาก แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่น ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้ผลิตสินค้า ผู้จัดจำหน่ายสินค้า ผู้ดำเนินธุรกิจด้านบริการ ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ เผยแพร่ข้อมูลเพื่อโฆษณาสินค้า และบริการทางวิทยุกระจายเสียง ในช่วงเวลาที่ไม่มีการจัดรายการวิทยุ หรือในช่วงพักขณะดำเนินรายการวิทยุหรือให้ผู้จัดรายการวิทยุพูดข้อความโฆษณาเป็นระยะ ๆ ขณะดำเนินรายการ


จุฑารัตน์  โสดาศรี (ม.ป.ป).  เรื่อง : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์ และ. วิวัฒนาการวิทยุและโทรทัศน์ไทย.  เข้าถึงได้จาก http://www.prd.go.th/download/article/article_20131031170502.pdf

บุญเกื้อ  ควรหาเวช.  (2545).  การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงวิทยุศึกษาและวิทยุโรงเรียน.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  (ม.ป.ป.).  วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย.  วันที่สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย

Boonta.  (2550, 17 ตุลาคม).  วัตถุประสงค์ของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียง [เว็บบล็อก].  http://oknation.nationtv.tv/blog/boonta-education/2007/10/17/entry-2

วันวิทยุกระจายเสียง Radio-broadcasting-day