อนุรักษ์ คือ พิทักษ์รักษาให้คงอยู่ในรูปเดิม ตามรักษา ระวัง ป้องกัน
มรดก คือ ทรัพย์สมบัติของผู้ตายที่ยกให้ทายาท
มรดกไทย คือ ทุกสิ่งที่คนไทยรับสืบทอดกันมา
วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และยังเป็น วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทย[divide icon=”circle” width=”medium”]
รัฐบาลในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ประกาศให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นศูนย์กลางรับผิดชอบดำเนินการ
คณะกรรมการอำนวยการวันมรดกไทยได้มีมติขยายความคำจำกัดความของมรดกไทยว่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัฒถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฎศิลป์และดนตรี ตลอดจนการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตผลร่วมกันของผู้คนในแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชสมภพในวันที่ ๒ เมษายน ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา ทางราชการจึงมีมติให้วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึก รักหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันนั้น เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสักการะแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการเฉพาะพระองค์ผู้ทรงมีพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณโดยลำดับ จนเป็นที่ยอมรับ และรู้กันแพร่หลายใหญ่หลวง
ในการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทั่วไป โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนรวม ๒๘ คน เป็นกรรมการ
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ลักษณะการจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ลักษณะ[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]คัดเลือกบุคคล องค์กร โครงการ และจังหวัดฯ ที่สนับสนุนการวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปี[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]การจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในส่วน กลาง และส่วนภูมิภาค เช่น การจัดนิทรรศการและมหกรรมการแสดงต่าง ๆ โดยการโอนงบประมาณวันอนุรักษ์มรดกไทย ที่รัฐบาลจัดสรรให้ประจำปีให้แต่ละจังหวัดดำเนินการ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]กรมศิลปากรจัดทำโครงการพิเศษเรื่องในวัน อนุรักษ์มรดกไทย และกราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดถาวรวัตถุ
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถาน โบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง[divide icon=”circle” width=”medium”]
กิจกรรมเสนอแนะ
- รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ จัดสัมมนา เสวนา อภิปรายทางวิชาการและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมไทยและการนุรักษ์
- จัดนิทรรศการ สาธิตมรดกวัฒนธรรมไทยสาขาต่าง ๆ
- จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการอนุรักษ์มรดกไทย
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]สิ่งที่ควรทำเพื่อเป็นการอนุรักษ์วันอนุรักษ์มรดกไทย[/quote]
เพราะมรดกเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ และความเป็นไทยไม่ว่าจะเป็น โบราณวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม ฯลฯ รวมถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดิน เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกของไทยอีกด้วย
- ศึกษาวัฒนธรรมไทยอย่างถ่องแท้
หากทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้มีการรวบรวมไว้แล้วและที่ยังไม่ได้ศึกษา แต่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง จะทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าจะได้ทราบความหมายและความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ ความรู้ดังกล่าวจะเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตเมื่อได้เห็นคุณค่าจะยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและแพร่หลาย
- ส่งเสริมให้ชนทุกหมู่เหล่าเห็นคุณค่า
เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยน และตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ และวัฒนธรรมภายนอกอย่างเหมาะสม ควรทำการส่งเสริมให้ชนทุกหมู่เหล่าเห็นคุณค่า และร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เป็นเรื่องของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน การบริการด้านความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมซึ่งการขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม รณรงค์ให้ประชาชนและเอกชนตลอดจนหน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญและตระหนักว่าวัฒนธรรม
- สร้างทัศนคติที่ดี
สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจ ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมเป็นสมบัติของทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ในการเสริมสร้าง ฟื้นฟู และดูแลรักษา ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันการได้ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยรู้จักอนุรักษ์และฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และของชาติ ถือเป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้สืบนานไปชั่วลูกหลานนั่นเอง
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]แนวทางการส่งเสริมวันอนุรักษ์มรดกไทย[/quote]
เมื่อเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้มรดกไทย วัฒนธรรมไทยบางอย่างได้เปลี่ยนไป และลูกหลานไทยก็ไม่มีการรักษาไว้ซึ่งมรดกไทยอันล้ำค่าเหล่านี้ไว้ แม้จะมีหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบในการดูแล แต่เนื่องจากมรดกไทยมีมากมาย และอาจไม่ทันการณ์กับการเปลี่ยนไปของโลก จึงทำให้มรดกอันทรงคุณค่าของไทยบางส่วนได้ถูกทำลายไป
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถาน โบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]เพื่อลดอัตราการสูญเสีย การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลงเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไป
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไปในทางที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่มักจะรับเอาอิทธิพลของต่างชาติเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมต่างๆ เช่นการแต่งตัว การกินอาหาร หรือ แนวเพลง ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องแฟชั่น จนทำให้เยาวชนสมัยนี้ แทบจะลืมความเป็นไทยไปแล้ว[divide icon=”circle” width=”medium”]
สมบัติ จำปาเงิน. (2547). วันสำคัญของเรา. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). วันอนุรักษ์มรดกไทย. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วันอนุรักษ์มรดกไทย
มายโหรา.คอม. (ม.ป.ป.). วันอนุรักษ์มรดกไทย 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.myhora.com/ปฏิทิน/วันอนุรักษ์มรดกไทย.aspx