วันเข้าพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
“เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อออกพรรษาแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า “อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบัน
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัดนับว่าเป็นประโยชน์
ระยะเวลาที่เข้าพรรษาเป็นช่วงเวลา 3 เดือนตลอดฤดูฝน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนหรือหลอดไฟ และผ้าอาบน้ำฝน สำหรับใช้ในตลอดเวลาที่จำพรรษา ประเพณีไทยเราเมื่อชายที่อายุครบ 20 ปีบริบรูณ์จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อทดแทนพระคุณของพ่อแม่ โดยจะนิยมอุปสมบทในช่วงเข้าพรรษาหรือเรียกว่า “บวชเอาพรรษา” นั่นเอง[divide icon=”circle” width=”medium”]
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความสำคัญของวันเข้าพรรษา[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]ช่วงวันเข้าพรรษาเป็นช่วงฤดูฝน ชาวบ้านทำการเกษตรปลูกพืชผัก หากพระภิกษุสงฆ์ออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ก็จะเหยียบย่ำทำให้พืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านเสียหาย
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]พระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่ธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้พักอาศัยอยู่กับที่ในช่วงเข้าพรรษานี้จะเป็นช่วงที่พระภิกษุได้หยุดพักผ่อนเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและหลักคำสอนของรพะพุทธเจ้า
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ ด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายเทียน ถวายผ้าอาบน้ำฝน ตลอดจนถือศีลฟังเทศ ฟังธรรมในช่วงเข้าพรรษา
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]เป็นช่วงที่ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กับบุคคลทั่วไป และบวชให้กับบุตรที่อายุครบบวช การถวายเทียนเข้าพรรษา[divide icon=”circle” width=”medium”]
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประเพณีหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา[/quote]
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษามีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามประเพณีเราจะถวายเทียนในช่วงเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อใช้จุดบูชาพระประทานในโบสถ์เป็นการสร้างกุศลให้กับตัวเองอย่างหนี่ง ในการให้แสงสว่างแด่พระสงฆ์ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การถวายเทียนมีน้อยลงเป็นการประกวดแกะสลักเทียนแล้วแห่ทั้งทางบกและทางน้ำหรือจะเป็นการถวายหลอดไปเพื่อให้แสงสว่าง
ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน และในปี พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม บ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ แกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมาได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ส่วนการจัดขบวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอยและมีการจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนาน ทำให้เกิดการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวาย ทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่วบำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใสเคร่งครัดยิ่งขึ้น หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีดังกล่าวก็คือ “วิรัติ”คำว่า “วิรัติ” หมายถึงการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง เป็นเหตุนำบุคคลผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความสงบสุขปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปวิรัติ การงดเว้นจากบาปนั้น จำแนกออกได้เป็น 3 ประการ คือ
- สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ) และเกิดความรู้สึกเกรงกลัวบาป (โอตตัปปะ) ขึ้นมาเอง เช่น บุคคลที่ได้สมาทานศีลไว้ เมื่อถูกเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่มสุรา ก็ไม่ย่อมดื่มเพราะละอาย และเกรงกลัวต่อบาปว่าไม่ควรที่ชาวพุทธจะกระทำเช่นนั้นในระหว่างพรรษา
- สมาทานวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 จากพระสงฆ์โดยเพียรระมัดระวังไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย แม้มีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียง
- สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาดโดยตรงเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้า ถึงกระนั้นสมุจเฉทวิรัติ อาจนำมาประยุกต์ใช้กับบุคคลผู้งดเว้นบาปความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว แม้ออกพรรษาแล้วก็มิกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก เช่นกรณีผู้งดเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติดระหว่างพรรษากาล แล้วก็งดเว้นได้ตลอดไป เป็นต้น
ผ้าอาบน้ำฝน
พระภิกษุจะมีเครื่อง อัฏฐบริขาร ที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน เมื่อต้องอาบน้ำฝนก็มีเพียงสบงผืนเดียวเท่านั้น จึงต้องเปลือยกายอาบน้ำทำให้ดูไม่งามเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาชาจึงถ วายผ้า “ผ้าวัสสิกสาฏก” เพื่อใช้ในการผลัดเปลี่ยนเวลาอาบน้ำ นับแต่นั้นมาจึงมาการถวายผ้าอาบน้ำฝนในช่วงวันเข้าพรรษาเป็นต้นมา
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา[/quote]- ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
- ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
- ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถ
กรมการศาสนา. (ม.ป.ป.). วันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา. เข้าถึงได้จาก http://www.dra.go.th/th/วันเข้าพรรษา.html
กระทรวงวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). วันเข้าพรรษา. เข้าถึงได้จาก http://www.onab.go.th/articles/วันสำคัญทางศาสนา/m-m-s-26/
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). วันเข้าพรรษา. เข้าถึงได้จาก http://www.onab.go.th/articles/วันสำคัญทางศาสนา/m-m-s-26/
Kapook.com. (2560). วันเข้าพรรษา 2561 ประวัติวันเข้าพรรษา. เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/13698