โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตายก่อนวัยอันควร และเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงจะเรียกอีกอย่างว่า ฆาตกรเงียบ (Silent killer) เนื่องจากโรคนี้มักไม่มีสัญญาณเตือนถึงอาการและการแสดงของโรค ผู้คนจำนวนมากเป็นโรคนี้โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคไต
องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตายทั่วโลกสูงถึง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทั่วโลกพบว่ามีจำนวนเกือบถึงพันล้านคน ซึ่งสองในสามจะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และพบว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 1 คน ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังพบว่าวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ประมาณ 4 ใน 10 คน จะมีความดันโลหิตสูงและในหลายๆประเทศพบว่า 1 ใน 5 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และมีการประมาณว่า 9 ใน 10 ของวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุไปจนถึง 80 ปี จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์, ม.ป.ป.)
สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 1.56 พันล้านคน และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเกือบร้อยละ 50 ด้วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจ (MedThai, 2017) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension League) และสมาคมโรคความดันโลหิตสูงนานาชาติ (International of Hypertension) ได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก โดยในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556-2561 มีคำขวัญเพื่อการรณรงค์คือ “Know Your Numbers” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารสร้างกระแสให้ประชากรทั่วโลกเพิ่มความตระหนักต่อโรคความดันโลหิตสูง (ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์, ม.ป.ป.)
สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง นั้นใช้ค่าความดันโลหิตที่สูงจากค่าความดันปกติเป็นตัวกำหนด และเมื่อวัดความโลหิตของผู้ป่วยอย่างน้อยสองครั้ง ในแต่ละครั้งที่มาพบแพทย์ถ้าพบว่าความดันโลหิตผิดปกติมากกว่าสองครั้งขึ้นไป โดยพบว่าเฉลี่ยของความดันตัวบนสูกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลิเมตรปรอท หรือค่าความดันตัวล่าง สูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง (จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์, 2550, น. 175)
ตารางการแบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ประเภท |
ความดันช่วงบน (มม.ปรอท)/ความดันช่วงล่าง (มม.ปรอท) |
ความดันโลหิตปกติ | < 120 และ < 80 |
ความดันโลหิตปกติที่ค่อนไปทางสูง | 120-129 และ < 80 |
ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 | 130-139 และ/หรือ 80-89 |
ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 | ≥ 140 และ/หรือ ≥ 90 |
ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว | ≥ 140 และ < 90 |
[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]2[/dropcap]ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ ( Secondary hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบ สาเหตุ เช่น เป็นโรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ ความผิดปกติของระบบประสาท ยาบางชนิด เช่น ยา คุมกำเนิดชนิดเม็ดรับประทาน ภาวะเครียดเฉียบพลัน ความผิดปกติของหลอดเลือดและความดัน โลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น และสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงบางอย่างสามารถแก้ไข ได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการจำแนกสาเหตุของความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการ บำบัด ความรุนแรงของความดันโลหิตสูงขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยส่วนบุคคลและ สิ่งแวดล้อมและระยะเวลาของการเป็นโรคที่เป็นสาเหตุ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เป็นความดันโลหิตสูงที่พบในบุคคลที่มีความดันโลหิตอยู่ใน เกณฑ์ปกติ แต่จะมีความดันโลหิตสูงเมื่อเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพวัดความดันโลหิตให้ เชื่อว่าเกิดจาก การตอบสนองของประสาท เวกัสทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว การตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยัน แยกโรคออกจากความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการป้องกันและการ บำบัดรักษา
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ความดันโลหิตสูงเฉพาะความดันซีสโตลิค และความดันโลหิตสูงเฉพาะความดันได แอสโตลิค – ความดันโลหิตสูงเฉพาะซีสโตลิค เป็นความดันที่มีค่าความดันซีสโตลิคสูงเท่ากับหรือ มากกว่า140 มิลลิเมตรปรอท แต่ความดันไดแอสโตลิคยังคงต่ ากว่า 90 มิลลิเมตรปรอท เชื่อว่าเกิด จากการมีปริมาตรเลือดที่หัวใจส่งออกต่อนาทีเพิ่มขึ้น หรือเกิดจากอเทอโรสเคลอโรซีส (atherosclerosis) ของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นได้น้อย ในผู้สูงอายุอาจเกิดได้จากทั้ง สองสาเหตุ การเกิดและความรุนแรงของความดันโลหิตสูงชนิดนี้มักเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น – ความดันโลหิตสูงเฉพาะความดันไดแอสโตลิค เป็นความดันโลหิตสูงที่มีเฉพาะความดัน ไดแอสโตลิคสูงเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท แต่ความดันซีสโตลิคยังคงต่ำกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]5[/dropcap]ความดันโลหิตสูงชนิดร้ายแรง เป็นความดันโลหิตสูงที่มีความดันไดแอสโตลิคสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอท ตลอดเวลาและมักมีการท าลายอวัยวะเป้าหมายด้วย เกิดเนื่องจากไม่ได้รับ การบำบัดรักษาความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่ หรือผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการบำบัด และจะกลายเป็น ภาวะฉุกเฉินหาก ความดันโลหิตยังสูงต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการแก้ไข[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]อาการของความดันโลหิตสูง[/quote]
ในระยะแรกของโรคหรือในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยหรือปานกลาง มักไม่ค่อยมี อาการจึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงหรือไม่ค่อยได้รับความสนใจที่จะรักษา เมื่อปล่อยให้ความดันโลหิตสูงต่อไปนาน ๆ หรือมีระดับความดันโลหิตสูงมากขึ้น อาจมีอาการ ต่าง ๆปรากฏได้ แต่อาการที่พบมักไม่เฉพาะเจาะจง อาการที่อาจพบ (ผ่องพรรณ อรุณแสง, 2552, น. 223-224) ได้แก่
- ปวดศีรษะ มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงมาก ลักษณะอาการปวดมักจะ ปวดที่บริเวณท้ายทอย โดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน และมักหายไปได้เองหรือค่อยๆ ดีขึ้น ภายในไม่กี่ชั่วโมง เชื่อว่าเกิดจากการมีความดันในกระโหลกศีรษะสูง ดังนั้นจึงอาจพบ อาการ คลื่นไส้อาเจียน หรือตามัว ร่วมด้วย
- เวียนศีรษะ มึนงง อาจจะเกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะหรือไม่ก็ได้ อาจเกิดจากสมองขาด เลือดไปชั่วขณะ
- เลือดกำเดาไหล จากความผิดปกติของหลอดเลือด แต่พบไม่บ่อยนัก
- อาการหายใจลำบากขณะออกแรง หรือทำงานหนัก หรืออาการหายใจลำบากเมื่อนอน ราบจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดเอออร์ตา เซาะฉีกขาด ซึ่งพบไม่บ่อยนัก
- อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ ใจสั่น และอาการตามพยาธิ สภาพของอวัยวะสำคัญที่สูญเสียหน้าที่ เช่น โรคหลอดเลือดสมองและไตเสียหน้าที่
สำหรับคนทั่วไปอาจป้องกันไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต (MedThai, 2017) ดังนี้
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะทุกวัน เน้นผักและผลไม้ชนิดไม่หวานให้มาก ๆ และลดอาหารพวกไขมันชนิดอิ่มตัว แป้ง น้ำตาล ของหวาน และอาหารเค็ม[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยให้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 23 กก./ม.2 ความยาวรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง ด้วยการควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น แอโรบิก การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง หรือวันเว้นวัน
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]พักผ่อนให้เพียงพอและรักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]ลดปริมาณของเกลือโซเดียมที่บริโภคไม่ให้เกินวันละ 2.4 กรัม (เทียบเท่าเกลือแกง 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]6[/dropcap]ถ้าเป็นผู้ดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว สำหรับผู้ชายควรจำกัดปริมาณของแอลกอฮอล์ให้ไม่เกินวันละ 2 หน่วยการดื่ม (เทียบเท่ากับวิสกี้ 90 มิลลิลิตร ไวน์ 300 มิลลิลิตร หรือเบียร์ 720 มิลลิลิตร) ส่วนผู้หญิงและผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยควรจำกัดปริมาณของการดื่มแอลกอฮอล์ให้ไม่เกินวันละ 1 หน่วยการดื่ม (เทียบเท่ากับวิสกี้ 45 มิลลิลิตร ไวน์ 3150 มิลลิลิตร หรือเบียร์ 360 มิลลิลิตร)
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะอาจมียาบางตัวที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ส่วนการใช้ยาคุมกำเนิดแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]8[/dropcap]ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะยังรู้สึกสบายดีก็ควรไปตรวจสุขภาพซึ่งรวมถึงการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป แนะนำว่าควรไปตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตรวจบ่อยตามที่แพทย์หรือพยาบาลแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีรูปร่างอ้วนหรือมีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ (อาจเป็นสถานพยาบาลใกล้บ้านก็ได้ เช่น คลินิกแพทย์ สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข)
จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์. (2550). ตำราอายุศาสตร์ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2552). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
พนิดา กุลประสูติดิลก. (2543). อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. กรุงเทพ: สุขใจ.
ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์. (ม.ป.ป.). การวัดความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง และทราบความหมายค่าความดันโลหิตของตนเอง. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/ healthcenter7/page/sub/7741/ข่าวสาสุขภาพ/0/info/38106/17-พฤษภาคม-วันความดันโลหิตสูงโลก-World-Hypertension-day
MedThai. (2017). ความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาการ, สาเหตุ, การรักษา, วิธีป้องกัน ฯลฯ. เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/โรคความดันโลหิตสูง/