วันนักประดิษฐ์ Inventor’s day

[quote arrow=”yes”]วันนักประดิษฐ์ Inventor’s day[/quote]

เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา และได้รับสิทธิบัตรทางปัญญาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้กังหันน้ำชัยพัฒนายังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ศิริวรรณ  คุ้มโห้, 2546)

ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาเป็นเวลานาน ทำให้น้ำมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก แต่ในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามจะพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม จึงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย มีการนำทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิตเป็นผลให้มีปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมเริ่มส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหามลพิษของน้ำที่ทำให้แหล่งน้ำต่าง ๆ ของประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมหรือการเน่าเสียจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก

วันนักประดิษฐ์-kingrama9-inverterdaysแม้ว่ารัฐบาลจะพยายามจะใช้มาตรการต่าง ๆ มาควบคุมเพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการเน่าเสียของแหล่งน้ำ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำหรือการเกิดเน่าเสียของแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างมากและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น เพราะประชาชนขาดแหล่งน้ำที่สะอาดไว้ใช้อุปโภคบริโภค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความเดือดร้อนดังกล่าว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเน่าเสียในหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด พร้อมทั้งได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยในระยะแรกในช่วง พ.ศ.2527 – 2530 ได้ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียและวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาและพืชน้ำต่าง ๆ ซึ่งก็สามารถลดการเน่าเสียของน้ำได้ระดับหนึ่ง ต่อมาในช่วง พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพการเน่าเสียของน้ำมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเน่าเสียของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในวันที่ 24 ธันวาคม 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่อง การแก้ไขปัญหาน้ำเสียโดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญคือ การเติมอากาศในน้ำเสีย 2 วิธี วิธีแรกใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อและเป่าไปใต้ผิวแล้วปล่อยแบบกระจายฟอง ส่วนวิธีที่สอง น่าจะกระทำได้โดยใช้กังหันวิดน้ำ วิดตักน้ำขึ้นไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำนี้จะหมุนอย่างช้า ๆ ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้าหรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบแล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและวัดบวรนิเวศวิหาร ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน (บัญญัติ สุขศรีงาม, 2549; มูลนิธิชัยพัฒนา, ม.ป.ป.; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ [วช.], 2550)

กรมชลประทานได้รับสนองพระราชดำริและดำเนินการศึกษาจนกระทั่งสร้างต้นแบบโดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก “กังหันน้ำแบบทุ่นลอย” เปลี่ยนเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ชื่อว่า “กังหันน้ำชัยพัฒนา” และได้นำไปติดตั้งเพื่อบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 และได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดน้ำเสียต่อเนื่องมาอีก 4 – 5 ปี ในที่สุดก็สามารถพัฒนามาเป็นกังหันน้ำชัยพัฒนาในปัจจุบันที่เรียกกันว่า “กังหันน้ำชัยพัฒนาหรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) โมเดล RX – 2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของน้ำ มีคุณสมบัติในการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนได้มากถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำได้แบบอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้บำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ (เช่น สระน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ) ที่มีความลึกมากกว่า 1 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3 เมตร ในระยะต่อมาได้มีการนำกังหันน้ำชัยพัฒนาไปใช้กันอย่างกว้างขวางและประสบผลสำเร็จที่ดี สามารถทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นไปได้มากและมีปริมาณก๊าซออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำต่าง ๆ สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัยตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวลสารอินทรีย์ต่าง ๆ ให้ลงต่ำได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทานได้เข้าไปช่วยเหลือเพื่อการบำบัดน้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรในการประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เลขที่สิทธิบัตร 3127 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ จึงนับได้ว่าสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เป็น “สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก” ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้มีประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ในประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสดุดีถึงพระปรีชาสามารถในการคิดค้นเครื่องกลเติมอากาศชนิดนี้ว่าสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดียิ่ง นอกจากนี้นานาชาติยังได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา ในการจัดงาน Brussels Eureka 2000 เพื่อแสดงผลงานด้านนวัตกรรม งานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤศจิกายน 2543 (บัญญัติ สุขศรีงาม, 2549; มูลนิธิชัยพัฒนา, ม.ป.ป.; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ [วช.], 2550)

วันนักประดิษฐ์ Inventor's day -2 กุมภาพันธ์-ห้องสมุด-มหาวิทยาลัยสยาม

 

กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถแก้ไขและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ แต่ผลที่ได้มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการเน่าเสียของน้ำได้เป็นอย่างดี จึงมีผลดีต่อการดำรงชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ของไทย (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ [วช.], 2550)

 

ที่มา: มูลนิมูลนิธิชัยพัฒนา (ม.ป.ป.)

 

2 กุมภาพันธ์ วันนักประดิษฐ์

 

 

[quote arrow=”yes”]การจัดกิจกรรมในงานวันนักประดิษฐ์ ประกอบด้วย [/quote] [dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]นิทรรศการและการแสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปภาพ โปสเตอร์ การฉายวิดีโอ และแสดงสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]การจัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ประเภททั่วไปและนักเรียน
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]ให้คำแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิบัตร
[dropcap font=”Arial”]5[/dropcap]ให้คำแนะนำการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยด้านทุนอุดหนุน การวิจัยและรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานนักวิจัยยอดเยี่ยม และรางวัลผลงานนักประดิษฐ์คิดค้น
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]6[/dropcap]การเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นการจัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในงานวันนักประดิษฐ์ นับได้ว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นในประเทศอย่างกว้างขวาง และเป็นกำลังใจให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในอนาคต

และในปีนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2561  ในวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ Event Hall 98 – 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

2 กุมภาพันธ์ วันนักประดิษฐ์


[quote arrow=”yes”]

เอกสารอ้างอิง

[/quote]

บัญญัติ สุขศรีงาม.  (2549, 2 กรกฎาคม).  วันนักประดิษฐ์ของไทย : 2 กุมภาพันธ์ 2549 [เว็บบล็อก].  เข้าถึงได้จาก http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1379

มูลนิธิชัยพัฒนา.  (ม.ป.ป.).  กังหันน้ำชัยพัฒนา.   เข้าถึงได้จาก  http://www.chaipat.or.th/site_content/19-248/18-chaipattana-water-turbine-development.html

ศิริวรรณ  คุ้มโห้.  (ผู้เรีบเรียง).  (2546).  วันและประเพณีสำคัญ.  กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.  (2550).  วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2550.  กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง

วันนักประดิษฐ์