วันสตรีสากล International Women’s Day เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (International Working Women’s Day) ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้าง ที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐) และมีการชุมนุมประท้วงอีกในวันเดียว กันในปี ค.ศ.๑๙๐๗ และ ค.ศ. ๑๙๐๘ ต่อมาในวันเดียวกันในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ ตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ และประกาศให้วันที่ ๘ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสตรีสากล”
[quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา ของ “วันสตรีสากล”[/quote] เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง ๑๑๙ คน ต้องเสียชีวิต จากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐)จากนั้นในปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ ต้องทำงานหนักถึงวันละ ๑๖-๑๗ ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดความ เจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออกความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ได้ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยกันนัดหยุดงานในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๙๐๗ พร้อมกันเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ด้วย อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องในครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ คลารา เชนคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๙๐๘ (พ.ศ.๒๔๕๑) มีแรงงานหญิงกว่า ๑๕,๐๐๐ คน ร่วมกันเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุตุการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึง การได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง จนกระทั้งในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๙๐๘ (พ.ศ.๒๔๕๑) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบ ความสำเร็จ เมือตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศเข้าร่วมประชุมสมัชชาสตีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรีในระบบสาม ๘ คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ ๘ ชั่วโมงให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก ๘ ชั่วโมง และอีก ๘ ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชายและยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของคลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ ๘ มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล
วันสตรีสากล ไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลอง และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติของตน กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจหรือการเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา
ผลจากการตัดสินใจของที่ประชุม ณ กรุงโคเปนเฮเกน ทำให้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากล ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๑ ในประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มีประชาชนทั้งหญิงชายมากกว่า ๑ ล้านคน เข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเข้ารับการอบรมในวิชาชีพ และให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงานในปีถัดมาได้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลเพิ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน และในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ มีการจัดชุมนุมวันสตรีสากลในรัสเซียเป็นครั้งแรก ที่นครเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก แม้ว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวางก็ตาม วันสตรีสากลได้จัดขึ้นโดยเชิดชูคำขวัญของขบวนการสันติภาพ ทั้งนี้เพื่อต่อต้านสงครามที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในยุโรปนับตั้งแต่ปีแรกๆ เป็นต้นมา ความสำคัญของการฉลองวันสตรีสากลได้ทวีมากขึ้น โดยมีสตรีในทวีปแอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกา เริ่มร่วมมือกันเพื่อทบทวนความก้าวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน และเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพยายามผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของ สตรีอย่างสมบูรณ์
ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียม ในฐานะที่ผู้หญิงก็เป็นสมาชิก หนึ่งในสังคม[divide style=”dots” icon=”circle”]
กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ “พลังแรงงานสตรีไทย ก้าวไกลสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล” พิธีประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ซึ่งในปีนี้มีสตรีเสนอผลงานเข้ารับการคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๕ คน ซึ่งมีสตรีที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ รวม ๘ ประเภท จำนวน ๒๙ รางวัล โดยกระทรวงแรงงานได้รับพระกรุณาคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จมาประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ทอล์คโชว์ เรื่อง โอกาสสตรีไทยก้าวไกลให้ทันเศรษฐกิจดิจิทัล นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นิทรรศการสตรีทำงานดีเด่นประจำปี ๒๕๖๑ บูธแสดงผลิตภัณฑ์ คลินิกแรงงาน และการตรวจสุขภาพ
กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีและภาคีเครือข่าย จัดขบวนรณรงค์เพื่อเสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อนำเสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรี ในแนวคิด “ความมั่นคงของผู้หญิง คือความมั่นคงของชาติ” ข้อเรียกร้องของทางกลุ่มคือรัฐต้องให้ความสำคัญกับนโยบายต่างๆ ต่อผู้หญิง ดังต่อไปนี้
- ในการดูแลบุตร ต้องขยายวันลาคลอดจากที่กำหนดไว้ ๙๐ วัน เป็น ๑๒๐ วัน เพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์และใกล้ชิดจากมารดา สอดคล้องกับการต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๘๓ ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดา
- จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและปรับเปลี่ยนเวลาเปิด – ปิดศูนย์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน
- ต้องกำหนดสัดส่วนผู้หญิงในการตัดสินใจของคณะกรรมการทุกมิติและทุกระดับอย่างน้อย ๑ ใน ๓
- ให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ๐-๖ ปี
- ให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและการบริการเท่าเทียมกับคนทั่วไป
- จัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้หญิงและเด็กใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และในพื้นที่สาธารณะ
- เคารพสิทธิการพัฒนาของประชาชนและผู้หญิงต้องมีส่วนร่วมในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คลารา เชนคิน เกิดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๑๘๕๗ (สกุลเดิม ไอส์เนอร์) บิดาชื่อกอทฟริท ไอส์เนอร์ เป็นครูคนเดียวที่มีอยู่ในหมู่บ้าน และเป็นทั้งนักไวโอลินและนักดนตรีประจำโบสถ์ มารดาเป็นชาวเมืองไลป์ชิก คลารา เซทคิน ในวัยเด็กเป็นคนชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ สนใจการอ่านหนังสือ มีความสนใจงานเขียนของเกอเต้และซิลเลอร์ ตลอดจนมหากาพย์ของโฮเมอร์แห่งกรีซโบราณ รวมทั้งงานบางชิ้นของเชคเปียร์ ไบรอน และดิกเกนส์ แต่หนังสือที่เชนคินชอบที่สุดกลับเป็นหนังสือต้องห้าม ๒ เล่ม คือ “ประวัติการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของสวิตเซอร์แลนด์” กับ “ประวัติการปฎิวัติฝรั่งเศล” เธอมีบทบาทในพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนีจนถึง ค.ศ.๑๙๑๗ แล้วเธอเข้าร่วมพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมัน (USPD) และปีกขวาจัดสันนิบาตสพาร์ทาซิสท์ ซึ่งต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (KPD) ซึ่งเธอเป็นผู้แทนราษฎรในไรซ์สทาก ระหว่างสาธารณรัฐไวมาร์ตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๒๐-๑๙๓๓
ชีวิตสมรส เดือนพฤศจิกายน ๑๘๘๒ เชนคินย้ายไปอยู่ที่ปารีส และได้สมรสกับออสซิบ มีบุตรชาย ๒ คน ชื่อแมกซิมและคอสก้า นางถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๑๙๓๓[/quote]
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ (2558). เข้าถึงได้ http://www.thaiwomen.or.th/th/knowledge_women_inter
บุญศักดิ์ แสงระวี. (2543). คลารา เชนคิน: ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2560). วันสตรีสากล พุทธศักราช 2560. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วันสตรีสากล
เว็บไซต์: https://www.internationalwomensday.com/