ประวัติและความเป็นมา วันอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เป็นองค์การชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ (Specialized Agencies of the United Nations System) ซึ่งมีกำเนิดมาจากการที่ประชากรโลกถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่าง ๆ เพราะจะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ ทำให้ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ต่อมาได้มีความร่วมมือกันในการจัดการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๙ เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ
ในเวลาต่อมา คณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประชุมได้เล็งเห็นว่าสุขภาพของประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติทั้งมวล จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การ อนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑
ซึ่งงานขององค์การอนามัยโลก ดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลก ที่ประกอบไปด้วยผู้แทน ของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการกระจายการ ปฏิบัติงานขององค์การฯ ให้ทั่วถึงส่วนต่างๆ ของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ ๑ ได้มีมติ กำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น ๖ ภูมิภาค (โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๒๘, น.๑๐๑) คือ
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]๒[/dropcap]ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก มีสำนักงานอยู่ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๓[/dropcap]ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงนิวเดลี
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]๔[/dropcap]ภูมิภาคแอฟริกา มีสำนักงานอยู่ ณ เมือง บราซาวิลล์
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]๕[/dropcap]ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงมะนิลา
[dropcap font=”Arial” color=”#f4f116″]๖[/dropcap]ภูมิภาคยุโรป มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงโคเปนเฮเกน[divide icon=”circle” width=”medium”]
สำหรับประเทศไทย อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด ๑๑ ประเทศ คือ ประเทศบังคลาเทศ ประเทศพม่า ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลีประเทศสาธารณรัฐมัลดิฟส์ ประเทศ มองโกเลีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา ประเทศ ภูฏาน และประเทศไทย
และเพื่อให้มีการร่วมมือประสานงานกับประเทศ สมาชิกอย่างใกล้ชิด องค์การอนามัยโลกยังได้ตั้งสำนักงานไว้ตามประเภทต่างๆ โดยมีผู้ประสานแผนงาน ขององค์การอนามัยโลกเป็นหัวหน้าของสำนักงานอีกด้วย
พร้อมกันนี้ สมัชชาองค์การอนามัยโลก ได้พิจารณาให้เฉลิมฉลองวันที่ ๗ เมษายน ของทุกปีเป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) และมีมติให้มีการฉลองพร้อมกันทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดข้อปัญหาทางอนามัยขึ้นปีละ ๑ เรื่อง สำหรับตั้งเป็นคำขวัญ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน คำขวัญดังกล่าวมีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น ๑๙๔ ประเทศ
คำขวัญ วันอนามัยโลก World Health Day พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๖๐ มีดังนี้
พ.ศ. ๒๕๖๐ คำขวัญ คือ “Depression : Let’s talk”
พ.ศ. ๒๕๕๙ คำขวัญ คือ “Halt the rise: beat diabetes” เป็นภาษาไทยว่า “ปราบเบาหวาน”
พ.ศ. ๒๕๕๘ คำขวัญ คือ “How safe is your food ? From farm to plate, keep it safe” เป็นภาษาไทยว่า “อาหารปลอดภัยสร้างได้ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหาร ”
พ.ศ. ๒๕๕๗ คำขวัญ คือ “Small bite, Big threat” เป็นภาษาไทยว่า “ยุง : ภัยคุกคามความมั่นคงทางสุขภาพ”
พ.ศ. ๒๕๕๖ คำขวัญ คือ “Control your blood pressure” เป็นภาษาไทยว่า “รณรงค์ลดภาวะความดันโลหิตสูง”
พ.ศ. ๒๕๕๕ คำขวัญ คือ “Good Health adds life to years” เป็นภาษาไทยว่า “ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน”
พ.ศ. ๒๕๕๔ คำขวัญ คือ “Combat drug resistance-No action, no cure tomorrow” เป็นภาษาไทยว่า “ใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างถูกต้อง ป้องกันเชื้อดื้อยา เพื่อการรักษาที่ได้ผล”
พ.ศ. ๒๕๕๓ คำขวัญ คือ “๑๐๐๐ cities, ๑๐๐๐ lives” เป็นภาษาไทยว่า “เมืองใหญ่ ๑,๐๐๐ แห่ง เรื่องราวดี ๆ จาก ๑,๐๐๐ ชีวิต”
พ.ศ. ๒๕๕๒ คำขวัญ คือ “Save Live. Make Hospital Safe in Emergency” เป็นภาษาไทยว่า “โรงพยาบาลพร้อม คุ้มครองทุกชีวิต ในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน”
พ.ศ. ๒๕๕๑ คำขวัญ คือ “Protecting Health from Climate Change” เป็นภาษาไทยว่า “รักษ์สุขภาพอนามัยพร้อมใจต้านโลกร้อน”
พ.ศ. ๒๕๕๐ คำขวัญ คือ ” Invest in Health, Build a Safer Future” เป็นภาษาไทยว่า “ประชาคมโลกปลอดภัย ต้องร่วมใจพัฒนาสาธารณสุข”[divide icon=”circle” width=”medium”]
ความสำคัญของวันอนามัยโลก World Health Day
องค์การอนามัยโลก นับเป็นองค์กรระหว่างประเทศองค์กรหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และสังคมขององค์การสหประชาชาติ โดยอาศัยแนวความคิด และการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนามัยที่มีมาก่อน
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การอนามัยโลก[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๑[/dropcap]เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วโลกให้มีพลานามัยอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่สามารถจะทำได้ทั้งร่างกายและจิตใจ[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]๒[/dropcap]เพื่อประสานงานส่งเสริมการอนามัยระหว่างชาติ และร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสมาชิกในการดำเนินงานตามโครงการอนามัยต่างๆ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานยา และวัคซีน
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๓[/dropcap]เพื่อให้บริการทางวิชาการในด้านอนามัยระหว่างประเทศและส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์
งานขององค์การอนามัยโลก
- พยายามอำนวยความช่วยเหลือให้แก่ประเทศต่างๆ ตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอมา
- จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
- ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆ อันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังแต่ละประเทศ
กิจกรรมวันอนามัยโลก
๑. จัดกิจกรรมการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ร่างกายแข็งแรงให้เกิดการบริโภคที่สมดุลสามารถป้องกันปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ได้ ทั้งโรคอ้วน โรคหัวใจ
๒. จัดกิจกรรมกำหนดคำขวัญ และแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ประเทศสมาชิกทั้ง ๑๙๔ ประเทศได้มีแนวทางทำกิจกรรมในแนวเดียวกัน
๓. จัดนิทรรศการให้ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพและถ่ายทอดความรู้เรื่องสุภาพให้ประชาชนได้รับความรู้
กระปุกดอทคอม. (๒๕๕๖, ๙ เมษายน). ๗ เมษายน วันอนามัยโลก. เข้าถึงได้จาก
https://hilight.kapook.com/view/84491
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (๒๕๒๘). การสาธารณสุข. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๙ (น.๗๗-๑๐๓). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.
Myhora.com (ม.ป.ป.). วันอนามัยโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.myhora.com/ปฏิทิน/วันอนามัยโลก.aspx