มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ฮาร์ดคอข่าว ข่าวช่อง 5 online

มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน (University of Sustainability) ข่าวช่อง 5 online  รายการ ฮาร์ดคอข่าว (HARDCORE ข่าว) ดำเนินรายการโดย ธนัญญา พิพิธวณิชการ

สัมภาษณ์ ดร.พรชัย มงคลวนิช, อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม นายแพทย์เปรม สุรัตน์, คณะแพทยศาสตร์ และนายนราวิชญ์ ธนเมธี, วิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตร 4 ปี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมรายการในชุดครุย เพื่อเข้าสู่พิธีซ้อมรับประสาทปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2560-2561 วันที่ 18 ก.พ. 2563 เพื่อพูดถึงทิศทางการขับเคลื่อน การรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และตลาดแรงงาน มหาวิทยาลัยจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร และความสำคัญของการเป็น มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน

ธนัญญา พิพิธวณิช, นายเปรม สุรัตน์, นราวิชญ์ ธนเมธี มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ฮาร์ดคอข่าว ข่าวช่อง 5 online

ธนัญญา พิพิธวณิชการ:   สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นแหล่งบ่มเพาะคนคุณภาพที่สําคัญของสังคม แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างไม่หยุดยั้ง แน่นอนว่าเป็นโจทย์ท้าทายที่ทำให้มหาวิทยาลัยเอง จะต้องมีการปรับตัว ในการขับเคลื่อนที่จะรองรับสังคมให้มากที่สุด

เพื่อเป็นการแบ่งปันทัศนะในเรื่องทิศทางการขับเคลื่อนการศึกษา และมหาวิทยาลัยไทย จึงได้เชิญมหาวิทยาลัยสยาม มาร่วมแบ่งปันข้อมูลกัน โดย ได้รับเกียรติจาก ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม ดร.พรชัย มงคลวนิช รวมถึงว่าที่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสยามนายแพทย์เปรม สุรัตน์, คณะแพทยศาสตร์ และนายนราวิชญ์ ธนเมธี, วิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้มาร่วมรายการ อาจสงสัยว่า ทำไมถึงใส่ชุดครุย เพราะว่าพรุ่งนี้จะมีพิธีประสาทปริญญาพอดี 

 

เรื่อง ทิศทางการพัฒนาการขับเคลื่อนการศึกษา 

อธิการบดี: มหาวิทยาลัยมีไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ของเศรษฐกิจ และสังคม วันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่ Disruption เรียกว่าหักศอก  ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะต้องสามารถ นำเทคโนโลยี เข้าไปพัฒนาในสาขาวิชาต่างๆ ที่เราเปิดสอน ซึ่งจะต้องสามารถเปิดสอนข้ามคณะ ข้ามสาขาวิชาได้ แล้วบูรณาการการจัดการศึกษา เข้าสู่ความเป็นสากล หรือความเป็นนานาชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย ค่อนข้างมาก แต่ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่ง จำเป็นต้องดำเนินการ เพราะมิฉะนั้นก็คงจะไม่สามารถมั่นใจได้ว่า บัณฑิตที่จบไปเหล่านั้น จะตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้หรือไม่ 

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

ม.สยามได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง?

อธิการบดี:  แต่เดิมเราเน้นเรื่องทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ และได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ อย่างเช่น สาขาวิชาทางด้านสาธารณสุข ในอนาคต เราก็จะมีการบูรณาการระหว่างสาขาเดิม กับสาขาวิชาใหม่ เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากหลายสาขาวิชา ได้เรียนข้ามคณะ ข้ามสาขาวิชาได้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นศูนย์กลางในการที่จะทำให้สาขาวิชาต่างๆ สามารถมีพัฒนาการต่อไปได้ รวมทั้งการเปิดให้มีการจัดการศึกษานานาชาติ โดยให้แต่ละหน่วยสามารถมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ขณะนี้เราดำเนินการไปมากพอสมควร แต่ยังยังต้องดำเนินงานไปตลอดเวลา

มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก Sustainable University Rankings

รางวัลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน

อธิการบดี:  มหาวิทยาลัยสยามได้มีการเน้นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติหรือที่เราเรียกว่า SCG ซึ่งเราก็เป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย ที่เชียงใหม่ ได้มีการประกวดผลงานโครงการต่างๆ ปรากฏว่าในปีที่แล้ว เราไปประกวดโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดการขยะ นำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ และโครงการนี้ได้เป็นที่หนึ่งในเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน แล้วก็คิดว่า อันนี้ก็เป็นกำลังใจให้กลับมาพัฒนา คือ นอกจากเทคโนโลยีแล้ว อีกส่วนที่สำคัญ ก็คือ การพัฒนาสู่โลกแห่งความยั่งยืน อย่างที่เราทราบ ในขณะนี้เรามีปัญหาหลายเรื่อง มีปัญหาเรื่องอากาศ PM 2.5 เรื่องสิ่งแวดล้อม อากาศเปลี่ยนแปลง เรื่องโรคระบาด จะเห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมานี้ ส่วนหนึ่งก็จะต้องโทษการศึกษาด้วยว่า เรายิ่งมีการศึกษามาก แต่สิ่งแวดล้อมของโลกเราเนี่ยไม่ดีขึ้นมาด้วย และมหาวิทยาลัยสยามได้นำแนวคิดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน เข้าไปสู่สาขาวิชาต่างๆ และก็สร้างโปรเจคต่างๆ ขึ้นมารองรับ นี่เป็นสาเหตุที่ว่า การประกวดโครงการที่เชียงใหม่ ที่ผ่านมา เราโชคดีที่ได้รางวัลที่ 1 แล้วก็ได้รางวัลอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 3 รางวัล แล้วก็เป็นรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เราก็อยากจะให้คืน นอกจากเทคโนโลยีแล้ว การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาวิถีชีวิตที่ดี จะเป็นเทรนด์ใหม่ของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ว่ามีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่กลับพบว่าสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยมีปัญหา ชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้น ถ้าเรามาคิดในเรื่องนี้ และพยายามปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้ไปสู่สังคมที่ดีกว่า ตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน สิ่งนี้น่าจะป็นแนวทางของสถาบันอุดมศึกษา

 ม.สยาม มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก Sustainable University Rankings

การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก  Sustainable University Rankings (เดิมใช้ชื่อ Green Metric World University Rankings หรือ UI Green Metric

การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนไทยที่มีคุณภาพในด้านการจัดการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ซึ่งทาง Sustainable University Rankings มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติของอินโดนีเซีย จะมีการจัดอันดับในทุกๆ ปี มหาวิทยาลัยสยามเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน อยู่ในอันดับที่ 7 ของมหาลัยของรัฐและเอกชนทั้งหมดที่เข้ารับการจัดอันดับ ส่วนในระดับโลกนั้น เราอยู่ในอันดับที่ 168 ของสถาบันอุดมศึกษาของโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยประมาณประมาณ 800 กว่าแห่ง ทั่วโลก ในด้านการวัดคุณภาพในการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ความยั่งยืนที่ว่า ไม่ได้หมายถึงแค่เพียงสิ่งแวดล้อมด้านเดียว มันมีหลายๆ เรื่องเช่น ด้านคุณภาพทางการศึกษา ด้านความเท่าเทียมกันในสถานศึกษา เพศชาย เพศหญิง การที่เราเน้นเรื่องการบูรณาการ ระหว่างวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ มีหลายมีหลายเกณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการที่เราสามารถที่จะใช้วิชาการกับการรักษาความสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่ทางมหาลัยสยาม ได้ทำมาหลายปีแล้ว และมีความภูมิใจมากๆ

 

(เทป 2) การปรับตัวของนักศึกษาในโลกยุคใหม่

แนะนำหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

นายแพทย์เปรม สุรัตน์:  นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จะได้ความรู้ที่ครบถ้วน ครอบคลุมในการประกอบวิชาชีพ ได้ปฏิบัติ ได้มีการทดลองปฏิบัติจริง ได้พบกับคนไข้จริงๆ ที่สำคัญที่สุดที่ทางคณะมุ่งเน้นอย่างที่สุด ก็คือ ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ ที่จะต้องนำไปใช้ในการทำงานทุกครั้ง

ดร.พรชัย มงคลวนิช:  ทางมหาวิทยาลัยสยามได้เปิดการเรียนการสอน วิชาแพทยศาสตร์ ถือเป็นแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย และได้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีความหลากหลาย มีกรณีศึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์อย่างมากมายมาสนับสนุน ในอนาคต เราได้ติดต่อมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำเรื่องเทคโนโลยี Bending เข้าไปด้วย นอกจากนั้นเราก็มีความร่วมมือกับพันธมิตรอีกแห่ง คือ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย หลักสูตรแพทยศาสตร์ของเรา เน้นเรื่องความครอบคลุม และจริยธรรม เป็นสำคัญ ในอนาคต เราจะมี Livestrong Learning ทางด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ก็ยังจะมีเรื่องแพทย์ชุมชนสู่การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน เข้าไปเสริมด้วย

รับปริญญา แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

รู้สึกอย่างไรกับการเป็นนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยสยาม?

นายแพทย์เปรม สุรัตน์:  แรกเริ่มที่เข้ามาศึกษาแพทยศาสตร์ที่นี่ จะมีความเชื่อมั่นน้อยสักนิดหนึ่ง แต่ ณ ปัจจุบัน เรียนจบ ได้ออกไปทำงาน ไปใช้ความรู้ไปทำงานเพื่อสังคม ทำให้รู้สึกมั่นใจ แล้วก็ภูมิใจที่ได้จบจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้

ความประทับใจที่ได้จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม?

นายแพทย์เปรม สุรัตน์:  อาจารย์แพทย์ปลูกฝังความเป็นแพทย์ให้เราในทุกๆ ชั้นปี ที่เราเรียน เพื่อทำให้เราได้เข้าใจว่า ความทุกข์ยากของคน มันหมายถึงอะไร และเราควรจะพยายามเข้าไปช่วยเขาได้ยังไง

ปัจจุบันจบแพทย์เอกชน รับราชการได้หรือไม่?

นายแพทย์เปรม สุรัตน์: ปัจจุบันนักศึกษาแพทย์จบใหม่ สามารถที่จะเลือกเข้าประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐได้ นักศึกษาแพทย์ รุ่น 1 ของมหาวิทยาสยาม ก็เลือกเข้ารับราชการเกือบทุกท่าน

ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคม และรองอธิการดี

เกี่ยวกับเรื่อง ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม?

ดร.พรชัย มงคลวนิช:  นักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสยาม ณ ตอนนี้มีผู้ที่ผ่านการสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ร้อยละ 95 ถือเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง ตอนนี้ยังเหลืออีกสองท่าน ก็จะตามมาเร็วๆ นี้ ก็จะครบ 100% อันนี้เป็นผลของความพยายามของคณาจารย์ แล้วก็ของนักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเป็นบัณฑิตรุ่นแรกเองด้วย ซึ่งคณาจารย์ของเรารุ่นแรก มีท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม คือ ศาตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี ปัจจุบันก็มีท่านคณบดีท่านใหม่ ก็คือท่านศ.คลินิก นพ. สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์  ท่าน ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ของมหาวิทยาลัยสยาม และยังดำรงตำแหน่งเป็น นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ อีกด้วย โดยท่านยังได้ให้เกียรติมาเป็นผู้มอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้กับ บัณฑิตแพทย์มหาวิทยาลัยสยามรุ่นที่ 1 ทั้ง 40 คน อีกด้วย


แนะนำหลักสูตร ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ความประทับใจในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม?

นราวิชญ์ ธนเมธี:  ประทับใจอาจารย์ที่นี่ ท่านเป็นกันเองมาก ทำให้การถ่ายทอดความรู้ วิธีปฏิบัติ เทคนิคต่างๆ ให้เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก

รางวัลและความสำเร็จ ล่าสุด?

นราวิชญ์ ธนเมธี:  สามารถทำคะแนนรวม และคว้ารางวัลอันดับที่ 2 ของประเทศ จากการเข้าร่วมแข่งขัน TSAE Auto Challenge 2019-2020 ชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สนามปทุมธานีสปีดเวย์ เมื่อวันที่ 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีรถเข้าร่วมแข่งขัน 35 ทีม แล้วยังได้รับอีก 2 รางวัลย่อย จากการแข่งขันประเภท Statics กับ Dynamics อีกด้วย 

SAE Auto Challenge 2019-2020 siam university

อะไรคือ TSAE Auto Challenge 2019-2020?

นราวิชญ์ ธนเมธี:  มันเป็นกิจกรรม Formula student  ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามาสร้างรถ 1 คัน คิดคอนเซ็ปต์กันเองว่าจะสร้างแบบไหน ใช้เครื่องยนต์อะไร มีการพรีเซนต์การตลาดยังไง หากทำออกไปขายแล้ว ลูกค้าสนใจจะซื้อมั้ย 

รถคันที่นักศึกษา ม.สยาม ส่งประกวด เป็นอย่างไร?

นราวิชญ์ ธนเมธี:  รถที่ส่งเข้าประกวดจะเป็นเครื่องยนต์สูบเดียว เน้นการทำให้รถเคลื่อนที่เข้าโค้งได้ดี และเน้นออกแบบให้มีน้ำหนักเบา โดยอาศัยแรงบันดาลใจ และประสบการณ์จากรุ่นพี่ที่เคยทำเอาไว้อย่างดี

ดร.พรชัย มงคลวนิช:  ขอแสดงความยินดี กับทีม Exceed AE ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ทีมนี้เป็นทีมที่ค่อนข้างเข้มแข็ง แม้ไม่ได้รางวัลชนะเลิศ แต่ก็ภาคภูมิใจที่คว้าอันดับที่ 2 มาได้ เพราะที่ 1 ก็คือ ทีมดงตาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  ส่วนที่ 3 คือ ทีม Black Peral จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

WINNER SAE Auto Challenge 2019-2020 siam university

 ดร.พรชัย มงคลวนิช:  ประโยชน์ที่เราได้รับจากการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ ก็คือ ได้ข้อมูลการออกแบบยานยนต์ อุปกรณ์อะไหล่ต่างๆ และที่สำคัญก็คือ ขณะนี้ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ ได้ตั้งเป้าไปถึงยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จริงๆ เราก็เคยทำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามาแล้ว ต่อไปนี้เราก็จะมาเน้นเรื่องนี้ให้มากขึ้น 


พิธีประสาทปริญญาบัตร 2563

พิธีประสาทปริญญาประจำปีการศึกษา 2560-2561 18 ก.พ.2563 เริ่มในเวลา 14.00น. โดยจะมีการมอบปริญญาแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นที่รู้จักอย่างยิ่ง นั่นคือ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี หรือท่านเจ้าคุณธงชัย มารับปริญญาเอกด้วย นอกจากก็ยังมีท่านอธิการบดี Asia e University (AEU) จากประเทศมาเลเซียแล้วก็มี คุณกระทิง หรือคุณเรืองโรจน์ พูนผล กูรูด้านสตาร์ทอัพ ผู้ก่อตั้ง Disruption University ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณสุพัตรา จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารในเครือเซ็นทารา และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และสมาชิกวุฒิสภา คุณสายสม วงศาสุลักษณ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์และการกุศล ก็จะมาร่วมงานในพิธีรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ส่วนประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรปีนี้ ก็คือท่านพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี และเป็นนายกสภาของมหาวิทยาลัยสยาม ปีนี้มีบัณฑิตจบใหม่เกือบ 3,000 คน

live สด พิธีประสาทปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยสยาม 18 ก.พ. 63คลิกดูบันทึกการถ่ายทอดสด พิธีประสาทปริญญาบัตร 2563

อธิการบดีฝากแง่คิดสำหรับทุกท่านว่า การรับปริญญานี้ มันไม่ใช่การสิ้นสุดของการเรียน แต่เป็นการสิ้นสุดของบทแรกของการเรียน การเรียนรู้ยังคงจะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้ ต้องอัพสกิล รีสกิล อยู่ตลอดเวลา


โพสที่เกี่ยวข้อง:

มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน University of Sustainability