Post Views: 983
ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากร
เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน
เกณฑ์มาตรฐาน |
ผลการดำเนินงาน |
ข้อมูลหลักฐาน |
1. มีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรสำหรับการให้บริการ |
สำนักฯ มีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการ ไว้ใน “คู่มือปฏิบัติงานแผนกบริการและประชาสัมพันธ์” ซึ่ง สมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการประกอบด้วย
- ความรู้ความสามารถในการให้บริการแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้ (ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์ ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ประกอบการให้บริการแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการได้)
- ทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ (ผู้ให้บริการต้องมีทักษะในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการทำงานเป็นทีม เพื่อใช้ประกอบการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ได้)
- คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดีและมีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) (ผู้ให้บริการต้องไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในการให้บริการผู้ใช้อย่างเท่าเทียมกัน มีความอดทน อดกลั้น มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเสียสละ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน และมีความสุภาพ เรียบร้อย ยิ้มแย้ม มีอัธยาศัยไมตรี กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ)
นอกจากการกำหนดสมรรถนะทั้ง 3 ด้านข้างต้น สำนักฯยังได้กำหนด สมรรถนะเฉพาะของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และสมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งในห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย ไว้ด้วย รวมทั้งบรรณารักษ์ ต้องมี “จรรยาบรรณวิชาชีพบรรณารักษ์” และสำหรับบุคลากรที่มิใช่บรรณารักษ์ มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการไว้ในเอกสาร “คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ” ซึ่งอยู่ใน “คู่มือการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานฯ”
|
เอกสารหมายเลข 1.6
คู่มือปฏิบัติงานแผนกบริการและประชาสัมพันธ์–“สมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการ”
เอกสารหมายเลข 8.1
คู่มือการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยสยาม-จรรยาบรรณบรรณารักษ์ (https://e-library.siam.edu/wp-content/ uploads/2019/09/janyaban_librarian.pdf) และ “คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ” (https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2019/09/janyaban-hr.pdf)
|
2. มีการจัดทำแผนอัตรากำลัง
|
สำนักฯ ได้การจัดทำแผนอัตรากำลังไว้ใน แผนงานบริหารและการพัฒนาบุคลากร ภายใต้แผนงานดังกล่าวได้กำหนดแผนอัตรากำลังสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ โดยกำหนดแนวทางการจัดทำแผนอัตรากำลัง หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์อัตรากำลัง การตรวจสอบกำลังคน และการจัดสรรอัตรากำลังตามภาระงาน เพื่อชี้ให้เห็นจำนวนและความชำนาญของบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน และได้ให้บุคลากรจัดทำ แบบบันทึกรายละเอียดภาระงานส่วนบุคคล (Job Description) เพื่อให้บุคลกรแต่ละคนได้ทราบขอบเขตและภาระงานของตนเอง
|
เอกสารหมายเลข 1.8
แผนงานบริหารและการพัฒนาบุคลากร สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ
|
3. มีการสรรหาบุคลากร
|
สำนักฯ มีนโยบายการตรึงกรอบอัตรากำลังในปีการศึกษา 2564 จึงไม่ได้มีการสรรหาบุคลากรเพิ่ม แต่จากการสรรหาบุคลากรที่ผ่านมา เมื่อปีการศึกษา 2560-2564 มีการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งและจัดสรรบุคลากร ในตำแหน่งต่างๆ ทั้งในระดับผู้บริหารห้องสมุด ระดับหัวหน้าฝ่าย/แผนก ผู้ปฏิบัติงานระดับวิชาชีพ ทั้งบรรณารักษ์และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ โดยต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานตาม “มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึก ษา พ.ศ.2544” ดังนี้
1. สรรหาตำแหน่งผู้บริหารห้องสมุดทดแทนอัตราเกษียณ 1 อัตรา ซึ่งผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทและควรมี ความรู้พื้นฐานทางบรรณารักษศาสตร์และ/หรือสารสนเทศศาสตร์และจะต้องมีประสบการณ์ในการบริหารงาน ไม่น้อยกว่า 5 ปีหรือให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ของสถาบัน
2. สรรหาโดยรับย้ายเข้าตำแหน่งนักวิชาการ ปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าฝ่าย/แผนก (ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาระบบสารสนเทศ) และทำหน้าที่บริการวิชาการแก่สังคม ควรมีวุฒิอย่างต่ำปริญญาโท และมีพื้นความรู้ในสาขาที่ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี กับมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดอย่างน้อย 2 ปี หรือเป็นผู้ที่มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดไม่น้อยกว่า 3 ปี
3. สรรหาโดยรับย้ายเข้าทดแทนอัตราย้ายออก 1 อัตรา ซึ่งทดแทนผู้ปฏิบัติงานระดับเจ้าหน้าที่งานธุรการ ที่ได้ย้ายออก
4. การจัดสรรอัตรากำลังตามภาระงาน สำนักฯ มี นโยบายการตรึงกรอบอัตรากำลัง เนื่องจากมีบุคลากรย้ายออกและลาออก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560-2564 รวม 9 อัตรา สำนักฯ จึงได้ปรับโครงสร้างการบริหารงาน และจัดสรรบุคลากรและมอบหมายงานเพิ่มทดแทนอัตราที่ย้ายออกและลาออกในตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งในระดับวิชาชีพและตามความเหมาะสม เพื่อให้ครอบคลุมตามภาระงานของห้องสมุดในระดับสถาบันอุมดมศึกษา ซึ่งอัตราที่มีเปลี่ยนแปลงตามภาระงาน ได้แก่
- 1) ตำแหน่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (ย้ายออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราคงอยู่
- 2) ตำแหน่งบรรณารักษ์งานผลิตคู่มือสืบค้นพิเศษและงานผลิตสาระสังเขปค้นเรื่องทั่วไป (ย้ายออก 1 อัตรา) มอบหมายงานให้กับอัตราที่คงอยู่
- 3) ตำแหน่งบรรณารักษ์งานสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ย้ายออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราที่คงอยู่
- 4) ตำแหน่งบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ลาออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราที่คงอยู่
- 5) ตำแหน่งบรรณารักษ์งานบริการอ้างอิงและให้คําปรึกษา (ลาออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราที่คงอยู่
- 6) เจ้าหน้าที่งานพัฒนาเว็บไซต์ (ลาออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราที่คงอยู่
- 7) เจ้าหน้าที่งานเทคนิคและรักษาสภาพทรัพยากรสารสนเทศ (ย้ายออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราที่คงอยู่
- 8) เจ้าหน้าที่งานรักษาความปลอดภัย-ตรวจทางเข้า-ออก (ย้ายออก 1 อัตรา) มอบหมายงานเพิ่มให้กับอัตราที่คงอยู่
- 9) เจ้าหน้าที่งานธุรการ (ย้ายออก 1 อัตรา) มอบหมายงานให้อัตราที่รับย้ายเข้า
|
เอกสารหมายเลข 8.1
คู่มือการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยสยาม- มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2544 https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2021/06/1-31-library-standard-2544.pdf
เอกสารหมายเลข 1.8
แผนงานบริหารและการพัฒนาบุคลากร สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ-การจัดสรรอัตรากำลังตามภาระงาน
|
4. มีการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามที่กำหนด
|
สำนักฯ มีการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามที่กำหนด ดังนี้
1. ในปีการศึกษา 2564 สำนักฯ ได้จัดทำโครงการ “เสริมทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ“ โดยกำหนดตัวชี้วัดโครงการไว้ 3 ตัวชี้วัด ซึ่งบรรลุผลสำเร็จ 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
- 1) จำนวนบุคลากรของสำนักฯที่ได้รับการพัฒนาเป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะ ทั้งทางด้านความรู้และทักษะต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อ 1 ปี บุคลากรทุกระดับของสำนักฯ มีโอกาสได้รับการศึกษา ฝึกอบรม และเข้าร่วมการประชุม สัมมนา ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งได้รับการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะทั้งทางวิชาการและวิชาชีพระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสะท้อนต่อ ความก้าวหน้าทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยดําเนินการสอน วิจัย และให้บริการแก่สังคม (บรรลุผลสำเร็จ) บุคลากรเข้าร่วม อบรม/ประชุม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ศึกษาด้วยตนเองทางออนไลน์ จำนวน 14 คน จากจำนวนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 ได้รับการพัฒนาเฉลี่ยคนละ 5 ครั้ง/ปีการศึกษา จากจำนวนเรื่องขององค์ความรู้ที่ได้เข้าร่วมทั้งหมด 72 เรื่อง
- 2) บุคลากรสำนักฯ อย่างน้อย 8 คน (ร้อยละ 53.33) ต้องเรียนออนไลน์ และได้รับประกาศนียบัตร/ E-Certification จำนวน 2 รายวิชา (บรรลุผลสำเร็จ) บุคลากรเรียนออนไลน์ จำนวน 11 คน จากจำนวนทั้งหมด 15 คน (คิดเป็นร้อยละ 73.33) และได้รับประกาศนียบัตร/ E-Certification เฉลี่ยคนละ 3 รายวิชา/ปีการศึกษา จากจำนวนรายวิชาทั้งหมด 41 รายวิชา
- 3) บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านภาษาอังกฤษ เป้าหมายร้อยละ 50 ที่ได้รับการอบรมหรือเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาอังกฤษ และได้รับประกาศนียบัตร/ E-Certification อย่างน้อยคนละ 2 ใบ/ปีการศึกษา (ไม่บรรลุผลสำเร็จ) บุคลากรอบรมหรือเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 12 คน จากจำนวนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และได้รับประกาศนียบัตร/ E-Certification เฉลี่ยคนละ 1 ใบ/ปีการศึกษา จากจำนวนรายวิชาและเรื่องที่อบรมทั้งหมด 7 เรื่อง/รายวิชา
2. มหาวิทยาลัย ได้จัดสวัสดิการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดี ในข้อของการมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร อาทิช่น
- การส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมให้บุคลากรมีพื้นฐานสุขภาพที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีกับการปฏิบัติงาน เช่น การเรียนโยคะฟรี การเต้นแอโรบิค ฯ
- การดูแลสุขภาพและการพยาบาลเบื้องต้น จากศูนย์สุขภาพของมหาวิทยาลัย
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้กับบุคลากรและญาติ
- การลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคลากรที่โรงพยาบาลธนบุรี 15 %
- การประกันอุบัติเหตุสำหรับบุคลากร ในวงเงินคนละไม่เกิน 15,000.-บาทต่อปี
- การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อประเมินผลตอบแทนให้มากขึ้น (การขึ้นขั้นเงินเดือน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สำนักฯ มีการส่งเสริมให้บุคลากรนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา (อบรม/ประชุม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้) รายงานผลด้วยการเขียนรายงาน (Post) วิธีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือเผยแพร่องค์ความรู้ทางเว็บไซต์สำนักฯ https://e-library. siam.edu
|
เอกสารหมายเลข 11.5-6)
เว็บไซต์ของสำนักฯ https://e-library. siam.edu ที่เมนู การพัฒนาบุคลากร สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 หรือที่ https://e-library.siam.edu/hr-development-2564/
|
5. มีการประเมินบุคลากรตามสมรรถนะที่กำหนดโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หัวหน้างาน/ผู้รับบริการ/ อาจารย์/นักศึกษา)
|
สำนักฯ มีการประเมินบุคลากรตามสมรรถนะที่กำหนดโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้
1. ผู้อำนวยการ ประเมินบุคลากรระดับหัวหน้าแผนก และหัวหน้าแผนกประเมินบุคลากรในสายงาน ตาม แบบฟอร์มการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุน ประจำปี ของมหาวิทยาลัย
2.ผู้ใช้บริการ (ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษา) ประเมินความพึงพอใจประจำปี ตาม แบบสอบถามความต้องการและความพึงพอใจผู้ใช้บริการสำนัหอสมุดฯ ด้านบุคลากร/ผู้ให้บริการ โดยได้ประเมินบุคลากรตามสมรรภนะที่กำหนดไว้ในข้อคำถามย่อย 5 ข้อ ซึ่งผู้รับบริการมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากคะแนนเฉลี่ย 3.82 คะแนน โดยได้ประเมินความพึงพอใจในข้อของสมรรถนะต่างๆของบุคลากร/ผู้ให้บริการ ได้แก่
- มีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) ยิ้มแย้ม สุภาพ เรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรี กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.86
- มีสมรรถนะ ด้านทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.82
- มีสมรรถนะ ด้านความรู้ ความสามารถในการให้บริการแนะนำ และช่วยเหลือผู้ใช้ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.89
- มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดี ไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในการให้บริการผู้ใช้อย่างเท่าเทียมกัน มีความอดทน อดกลั้น มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความเสียสละ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.80
- บุคลากรมีเพียงพอต่อการให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.76
|
เอกสารหมายเลข 18
สรุปผลการประเมินความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2564
|
6. มีการนำผลการประเมินไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
|
สำนักฯ นำผลการประเมินไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น โดยได้วางแผนเข้าร่วมกับกลุ่มงาน ของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งทั้งสองกลุ่มงานได้คัดเลือกประธานกลุ่มงานจากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม (เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2565) โดยทั้ง 2 กลุ่มงานได้มีโครงการด้านการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ดังนี้
- การพัฒนาสมรรถนะด้านการมีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) สำนักฯ ได้วางแผนให้บุคลากรผู้ให้บริการ เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) โดยมี ดร.คมเดช บุญประเสริฐ จากสำนักหอสมุดฯ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นประธานกลุ่มงานฯ ซึ่งกลุ่มงานดังกล่าว ได้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์เรื่อง ทักษะการโค้ชเพื่อการให้บริการอย่างเข้าใจ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีบุคลกรผู้ให้บริการของสำนักหอสมุดฯ เข้าร่วม จำนวน 2 คน ได้แก่อาจารย์คมเดช บุญประเสริฐ และนางสาวอรชร ยิ่งใหญ่
- การพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สำนักฯ ได้วางแผนให้บุคลากรผู้ให้บริการ เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) โดยมี ดร.คมเดช บุญประเสริฐ จากสำนักหอสมุดฯ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นประธานกลุ่มงานฯ ซึ่งกลุ่มงานดังกล่าว ได้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ โดยการจัดอบรมออนไลน์เชิงปฎิบัติการหัวข้อ “การสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรห้องสมุด” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 โดยมีบุคลกรผู้ให้บริการของสำนักหอสมุดฯ เข้าร่วมจำนวน 10 คน ได้แก่อาจารย์สุธน สุภาวงศ์ อาจารย์คมเดช บุญประเสริฐ นางพรรณี จิวพุทธิธรรม นางสุดา ทองชิว นายสุทธิพจน์ ลิ้มอุดมพัฒน์ นางณัชชา เดชาเต็งประทีป นางสาวพรพิศ องค์ศรัทธา นางสาวกัลยา ศุภพันธุ์มณี นางสาวอรชร ยิ่งใหญ่ นาง อารี แก้วพิพัฒน์ นางสาวประภาพร ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา
- การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ ความสามารถในการให้บริการแนะนำ และช่วยเหลือผู้ใช้ สำนักฯ ได้วางแผนให้บุคลากรผู้ให้บริการ เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) โดยมี นางพรรณี จิวพุทธิธรรมจากสำนักหอสมุดฯ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นประธานกลุ่มงานฯ ซึ่งกลุ่มงานดังกล่าว ได้มี กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว”เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 โดยมีบุคลกรของสำนักหอสมุดฯ เข้าร่วมจำนวน 3 คน ได้แก่ นางพรรณี จิวพุทธิธรรม นางสุดา ทองชิว นายสุทธิพจน์ ลิ้มอุดมพัฒน์
- การเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส.ซึ่งมีกิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล กำหนดไว้ในโครงการ ซึ่งในปีการศึกษา 2565 กลุ่มงานพัฒนาฯ ได้จัดกิจกรรมครั้งที่ 1: เรื่อง การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด ในวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 โดยมีบุคลกรผู้ให้บริการของสำนักหอสมุดฯ เข้าร่วมจำนวน 7 คน ได้แก่ นางพรรณี จิวพุทธิธรรม นางสุดา ทองชิว นายสุทธิพจน์ ลิ้มอุดมพัฒน์ นางสาวพรพิศ องค์ศรัทธา นางสาวกัลยา ศุภพันธุ์มณี นางสาวอรชร ยิ่งใหญ่ นางอารี แก้วพิพัฒน์
จากผลการสำรวจผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด ประธานของกลุ่มงานพัฒนาฯ คาดว่าจะมีการจัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรอีกในครั้งต่อๆไป ซึ่งสำนักฯ ได้วางแผนการเข้าร่วมกิจกรรมกับทั้ง 2 กลุ่มงาน ต่อไป เพื่อการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะทั้งความรู้และทักษะในด้านวิชาชีพโดยตรงและในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ/ความคาดหวังของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด |
เอกสารหมายเลข 3.1
แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2565: ภาคผนวก แบบฟอร์มเสนอโครงการ ปีการศึกษา 2565 – โครงการ “เสริมทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากร ปีการศึกษา 2565” |
ผลการดำเนินงาน………6……….ข้อ |
|
เกณฑ์การประเมิน
1 คะแนน |
2 คะแนน |
3 คะแนน |
4 คะแนน |
5 คะแนน |
1 ข้อ |
2 ข้อ |
3 ข้อ |
4 ข้อ |
5-6 ข้อ |
เป้าหมายของสำนัก : ….6……ข้อ
ผลการดำเนินงาน : ….6……ข้อ
ผลการประเมินตนเอง : …..5…… คะแนน