Praphaphorn Palakawong Na Ayudthaya

หนังสือแนะนำประจำวันอังคารที่ 15 เมษายน 2568 ชื่อหนังสือ : รับมืออารมณ์ได้ ใจก็สบายขึ้นเยอะ MAINICHI MENTAL KIKI NO SHOHOSEN ผู้เขียน : Dr.Mai Uchida* ผู้แปล : ดนพ ลีนุกูล เลขเรียกหนังสือ : พ 152.4 ม961ร 2567 รายละเอียด : หลายคนอาจมีวันที่เหนื่อยล้า โกรธ เครียด เศร้า จนรู้สึกว่าเดินต่อไปไม่ไหว และคิดว่าอารมณ์ด้านลบเป็นสิ่งที่ควรหลีกหนีหรือกำจัดไปให้หมด ทั้งที่จริงอารมณ์ด้านลบอาจมีประโยชน์ที่เราคาดไม่ถึง โดยคุณหมอ Mai Uchida จะพาไปทำความรู้จักกับกลไกของอารมณ์และชี้ให้เห็นถึงวิธีการรับมือกับอารมณ์ที่ได้ผลอย่างแท้จริง ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างกรณีศึกษาในการจัดการกับอารมณ์ที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน *แพทย์แผนกจิตเวชเด็ก ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ Harvard University และเป็นหัวหน้าศูนย์โรคซึมเศร้าในเด็ก Massachusetts General Hospital (MGH) ผู้ที่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์อเมริกา หรือ USMLE […]

รับมืออารมณ์ได้ ใจก็สบายขึ้นเยอะ MAINICHI MENTAL KIKI NO SHOHOSEN Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันจันทร์ที่ 14 เมษายน 2568 ชื่อหนังสือ : การปฏิบัติการพยาบาลทางอายุรกรรม เล่มที่ 1 บรรณาธิการ : รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร วงศ์หงษ์กุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ ปานอุทัย เลขเรียกหนังสือ : 616 ก469 2562 รายละเอียด : ตำรา “การปฏิบัติการพยาบาลทางอายุรกรรม เล่มที่ 1” เรียบเรียงโดยคณาจารย์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาพยาบาลทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อใช้ประกอบการศึกษาในกระบวนวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทางอายุรกรรม Content notes : บทที่ 1 บทบาทของพยาบาลในการบริหารยา บทที่ 2 การเก็บสิ่งส่งตรวจ บทที่ 3 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจพิเศษทางอายุรกรรม บทที่ 4 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจและรักษาโดยการเจาะ บทที่ 5 การดูดเสมหะ

การปฏิบัติการพยาบาลทางอายุรกรรม เล่มที่ 1 Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568 ชื่อหนังสือ : เตรียมพร้อมจิตใจก่อนวัยเกษียณ ผู้เขียน : Tsuneko Nakamura (สึเนะโกะ นะกะมุระ) ผู้แปล : จิตรลดา มีเสมา เลขเรียกหนังสือ : พ 613.0438 น366ต 2567 รายละเอียด : หนังสือบอกเล่าผ่านจิตแพทย์ 2 คนที่อายุต่างกันมาเผยเคล็ดลับในการยิ้มรับและก้าวข้ามให้กับผู้ที่กำลัง “ก้าวเข้าสู่วัยชรา” และ “ผู้ที่กำลังจะเกษียณ” ว่าควรรับมือกับความแก่ชราและการอยู่กับความรู้สึกนี้ได้อย่างไร หากไม่ทำงานแล้วควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านได้เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความพร้อมก่อนเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข หนังสือที่ขายดีที่มียอดการันตีกว่า 300,000 เล่มในญี่ปุ่น Content notes : บทที่ 1 : ยิ่งยอมรับความแก่ชราได้มากเท่าใด ก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น บทที่ 2 : ค่อยๆ ปล่อยวางความสัมพันธ์ บทที่ 3 :

เตรียมพร้อมจิตใจก่อนวัยเกษียณ Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2568 ชื่อหนังสือ : พิษวิทยาเชิงชีวเคมีและโมเลกุลเบื้องต้น : พิษวิทยาพันธุศาสตร์ = Basic Biochemical and Molecular Toxicology : Genetic Toxicology ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีทิพย์ รัตนวรชัย เลขเรียกหนังสือ : 615.9 ต 2567 รายละเอียด : ตำราจัดทำเพื่อให้ความรู้พื้นฐานของพิษวิทยาโมเลกุลเชิงชีวเคมี โดยเน้นเรื่องของพิษวิทยาพันธุศาสตร์และการประยุกต์ใช้ เริ่มพื้นฐานด้านสารพิษหรือสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ตัวอย่างของสารพิษที่สำคัญ กระบวนการmetabolismทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับ เฟส I เฟส II และเฟส III มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นพิษให้มากขึ้นหรือน้อยลง วิธีป้องกันความเป็นพิษและการแก้ไขโดยสังเขป เป็นต้น โดยตำราเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำผลงานวิชาการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2562

พิษวิทยาเชิงชีวเคมีและโมเลกุลเบื้องต้น : พิษวิทยาพันธุศาสตร์ = Basic Biochemical and Molecular Toxicology : Genetic Toxicology Read More »

หนังสือ“Vouch for”ประจำวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 Title : Convention Management and Service Author : Milton T. Astroff, James R. Abbey Call Number : 658.456 A859C 2011 Book Review : Textbook ของ The American Hotel and Lodging Education Institute สถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้เรื่องการฝึกอบรม การต้อนรับ การรับรองการจัดการโรงแรมโดยมีการเรียนรู้ทางออนไลน์ด้วยหลักสูตรที่มีตำราและเครื่องมือดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ระดับโลก โดยภายในเล่มแบ่งเนื้อหาออกเป็น 18 บท  อธิบายพร้อมกำหนดขอบเขตการแบ่งส่วนของตลาดธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการประชุม การวางแผนกลยุทธ์การขายเพื่อดึงดูดตลาดที่มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง นอกจากนั้นยังนำเสนอเทคนิคเพื่อตอบสนองความต้องการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมและการให้บริการ ซึ่งอยู่ใน Programs “Guest Service Gold® Training and Certification” https://ahlei.servsafebrands.com/training-and-certification-overview

Convention Management and Service Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2568 ชื่อหนังสือ : การบัญชีขั้นกลาง 2 ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิศรุต ศรีบุญนาค เลขเรียกหนังสือ : 657.044 พ717ก 2567 รายละเอียด : หนังสือเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการบรรยายวิชา 2601213 การบัญชีขั้นกลาง 2 ซึ่งเป็นวิชาบังคับของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงินและมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี โดยใช้วิธีการนำนโยบายบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติโดยแสดงผลกระทบสะสมในกำไรและไม่ปรับปรุงงบการเงินย้อนหลัง (Modified retrospective approach) Content notes : บทที่ 1 หนี้สินหมุนเวียน –

การบัญชีขั้นกลาง 2 Read More »

หนังสือ“Vouch for”ประจำวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568 Title : Criminal Law Author : Michael Jefferson  https://www.sheffield.ac.uk/law/people/law-academic-staff/michael-jefferson Call Number : 345.42 J45C 2006 Book Review : This book is written for law students for foundation subjects required to be studied on law degrees, LLB (Bachelor of Legislative Law or Legum Bacclaureus), CPE (Common Professional Examination)/Graduate in Law, Institute

Criminal Law Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2568 ชื่อหนังสือ : คู่มือการดำเนินคดีอาญา : ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ฯลฯ ฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จ ผู้แต่ง : สหรัฐ กิติ ศุภการ เลขเรียกหนังสือ : 345.072 ส459ค 2568 รายละเอียด : หนังสือแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่ 1 เป็นการอธิบายฐานความผิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนที่ 2 เป็นขั้นตอนการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการทำงานในสายกฎหมายอาญาได้เห็นถึงแนวทางการดำเนินคดีในชั้นก่อนฟ้อง ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองว่าผู้ที่มาแจ้งความร้องทุกข์นั้นเป็นผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับความเท็จนั้นหรือไม่ เขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนซึ่งจะส่งผลถึงอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ รวมไปถึงเขตอำนาจศาลด้วย แสดงให้เห็นถึงแนวทางการบรรยายฟ้อง เพื่อมิให้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) เป็นต้น

คู่มือการดำเนินคดีอาญา : ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ฯลฯ ฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จ Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันพุธที่ 12 มีนาคม 2568 ชื่อหนังสือ : ซ่อมแซมใจแล้วไปต่อ = How to Fix a Broken Heart ผู้เขียน : ดร.กาย วินช์ (Dr.Guy Winch) ผู้แปล : ศิริกมล ตาน้อย เลขเรียกหนังสือ : พ 158 ว617ซ 2567 รายละเอียด : หนังสือ “ซ่อมแซมใจแล้วไปต่อ” เปรียบเสมือนการส่งมอบแสงสว่างแห่งการเยียวยาให้แพร่หลายไปยังบุคคลทั่วไปที่มีโอกาสเปิดอ่าน โดยมุ่งเน้นไปยังการเยียวยาอาการใจสลายอันเนื่องมาจากการสูญเสียคนรักและการสูญเสียสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นเรื่องที่คนในสังคมบางส่วนประเมินความรุนแรงไว้ในระดับต่ำ ทั้งที่เป็นปัจจัยซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกโศกเศร้าแสนสาหัสและกินเวลายาวนาน หนังสือเล่มนี้จะเพิ่มความตระหนักรู้ของคนในสังคมว่า การเข้าอกเข้าใจและการสนับสนุนทางอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่เผชิญเหตุการณ์สูญเสีย ผลงานโดย Dr.Guy Winch นักจิตวิทยา นักเขียน และนักพูด เจ้าของผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 23 ภาษา แปลภาษาไทยโดย แองเจิ้ล – คุณศิริกมล ตาน้อย

ซ่อมแซมใจแล้วไปต่อ = How to Fix a Broken Heart Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2568 ชื่อหนังสือ : ฉันตกลงสงบศึกกับจิตใจ ผู้เขียน : Tsuneko Nakamura (สึเนะโกะ นะกะมุระ) ผู้แปล : จิตรลดา มีเสมา เลขเรียกหนังสือ : พ 152.4 น366ฉ 2567 รายละเอียด : ในแต่ละวันคนเราต้องพบเจอกับเรื่องราวมากมาย ต่างต้องพบเจอกับความแตกต่างของชีวิต ต่างความคิด ต่างความเข้าใจ และอีกหลายเรื่องที่ประดังประเดเข้ามา อยากหักห้ามความคิดลบ หรือปรับเปลี่ยนตนเองให้มองโลกในแง่ดีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หนังสือเล่มนี้จะมาบอกว่า “การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไม่ใช่เรื่องยาก” ผ่านเรื่องราวของคุณหมอนะกะมุระ สึเนะโกะ จิตแพทย์-แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ผู้ทำงานมานานกว่า 70 ปี โดยเธอได้ถ่ายทอดทั้งทุกข์และสุขในชีวิตของตนเองผสมผสานกับเรื่องราวของผู้ป่วย ซึ่งล้วนมีปัญหาแตกต่างกัน เพราะไม่ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดแล้วคนที่ตัดสินใจก็คือตัวเราเอง ที่เลือกจะจดจ่อกับความทุกข์หรือโอบรับความสุข หนังสือที่ขายดีที่มียอดการันตีกว่า 190,000 เล่มในญี่ปุ่น

ฉันตกลงสงบศึกกับจิตใจ Read More »

หนังสือแนะนำประจำวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ชื่อหนังสือ : กายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤต = Physical Therapy in Critical Patients ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.วีระพงษ์ ชิดนอก กภ.เอกลักษณ์ กอบสาริกรณ์ เลขเรียกหนังสือ : 615.82 ว252ก 2564 รายละเอียด : นักกายภาพบำบัด มีบทบาทสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อการบำบัดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและข้อต่อติดการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจ การระบายเสมหะด้วยเทคนิคแบบต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้นจากภาวะวิกฤตของผู้ป่วยด้วยพยาธิสภาพของโรค การนอนบนเตียงเป็นเวลานาน และไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมต่าง ๆ และสามารถหายใจเองได้เร็วขึ้น ทั้งนี้นักกายภาพบำบัดควรทำการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย วางแผนการรักษา และทำการรักษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว Content Notes : บทที่ 1 การซักประวัติทางกายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยภาวะวิกฤต – – บทที่ 2 การตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยภาวะวิกฤต –

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤต = Physical Therapy in Critical Patients Read More »

หนังสือ “Vouch for” ประจำวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ชื่อหนังสือ (Title) : Drugs for the Heart  ผู้แต่ง (Author) : Emeritus Professor Lionel H. Opie, Professor Bernard J. Gersh  เลขเรียกหนังสือ (Call Number) :  615.71 D794 2013 รายละเอียด (Book Review) : Drugs for the Heart ให้รายละเอียดในเรื่องเกี่ยวกับยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจ  โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย  พร้อมอธิบายถึงความสำคัญทางเภสัชวิทยา  ข้อห้ามและผลข้างเคียงของยาขยายหลอดเลือด  รวมไปถึงการจัดการกับ โรค“Comorbid” (โรคที่เป็นการวินิจฉัยร่วม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อมๆ กันกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก)  ผลงานความร่วมมือของ 1Emeritus Professor Lionel

Drugs for the Heart Read More »