เนื่องด้วยวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๑ มีผลใช้บังคับ เป็นการจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ให้เป็นมาตรฐาน จึงกำหนดเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็น วันข้าราชการพลเรือน (Civil servant day)
[box type=”note”]
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน
เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘
งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน.
งานทุกอย่างจึงต้องมีผู้ปฏิบัติและมีผู้รับช่วง เพื่อให้งานดำเนินต่อเนื่องไปไม่ขาดสาย.
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติบริหารงานราชการทุกฝ่ายทุกระดับจึงไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้ทำมาก่อน
หรือใครเป็นผู้รับช่วงงานขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่
แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำ ด้วยความอุตสาหะเสียสละและด้วยความสุจริตจริงใจ.
งานทุกอย่างจึงจะดำเนินไปได้ อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด และสำเร็จผลเป็นประโยชน์ได้แท้จริง และยั่งยืนตลอดไป.
อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
[/box]
[divide icon=”circle” width=”medium”]ข้าราชการคำโบราณมีความ หมายถึง คนที่ทำราชการตามทำเนียบผู้ปฎิบัติราชการในส่วนราชการความหมายปัจจุบันตามกฎหมาย คือ บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
คำว่า พลเรือน พจนานุกรมให้ความหมายว่า ผู้ซึ่งไม่ใช่ทหาร หรือที่ไม่ใช่ทหาร ความหมายอาจเนื่องมาจากการแบ่งกลุ่ม คือ ฝ่ายพลเรือน (มีเจ้าพระยาจักรีเป็นหัวหน้าที่ เรียกว่า สมุหนายก) และฝ่ายทหาร (มีเจ้าพระยามหาเสนาเป็นหัวหน้าที่เรียกว่า สมุหกลาโหม) เป็นต้น
ข้าราชการพลเรือน เป็นคนหลวงที่ความเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของราษฎรมากกว่าพวกอื่น ๆ เป็นประดุจเครื่องมืออันมีประสิทธิภาพของรัฐ ที่อาจดลบันดาลทุกข์สุข ความเจริญ ความเสื่อมให้แก่ราษฎรโดยตรง จึงนับเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากต่อบ้านเมืองมากทุกยุคทุกสมัย
วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๑ เป็นวันที่พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน ได้ประกาศใช้มีผลบังคับเป็นครั้งแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้จัดการวางระเบียบข้าราชการพลเรือนให้เป็นมาตรฐานกลางระดับสากล แม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขอีกหลายครั้ง เพื่อความทันสมัย และสะดวกในการปฎิบัติ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรม ถือว่าเป็นฉบับประวัติศาสตร์ที่ข้าราชการพลเรืองทุกคนไม่ควรลืม เพื่อย้ำให้ข้าราชการพลเรือนทั้งหลายมีความสามัคคี สำนึกในหน้าที่ต่อชาติบ้านเมืองและประชาชน ทางราชการจึงได้จัดในมีงานที่ระลึกข้าราชการพลเรือนขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นครั้งแรกโดยกำหนด วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันงาน
[quote arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน[/quote]มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน Civil servant day ให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในการเป็น ผู้ให้บริการ เสียสละ และอุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]เพื่อให้ข้าราชการได้ตระหนักถึงเกียรติ หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าราชการ อันจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ ทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อข้าราชการให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อเผยแพร่ผลงานใหม่ ๆ ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]เพื่อยกย่องส่งเสริมข้าราชการที่มีความประพฤติและผลปฏิบัติงานดีเด่น รวมถึงการเผยแพร่เกียรติคุณข้าราชการดีเด่นให้ปรากฏ อันจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการกระทำความดีตลอดไป
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]เพื่อให้วันข้าราชการพลเรือน (๑ เมษายน) เป็นวันที่มีความหมายอยู่ในความทรงจำและเป็นที่ยอมรับของข้าราชการ และประชาชน โดยทั่วไป[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote arrow=”yes”]วันข้าราชการพลเรือน Civil servant day[/quote]
การมอบเกียรติบัตรยกย่องสดุดีข้าราชการดีเด่น ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผูู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ประธานของงาน
[quote arrow=”yes”]กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติ ในวันข้าราชการพลเรือน[/quote]ข้าราชการพลเรือนจะร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้านต่างๆ เป็นต้นว่า การบริจาคโลหิต การช่วยเหลือสงเคราะห์ในองค์กรต่างๆ และกิจกรรมเชื่อมความสามัคคีในหมู่ข้าราชการพลเรือนด้วยกัน เช่นการแข่งขันกีฬา ฯลฯ
สมบัติ จำปาเงิน. (2547). วันสำคัญของเรา. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
สำนักงานข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2560). วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsc.go.th/blog/2018/03/วันข้าราชการพลเรือน-ประจำปี-พศ-2561
พิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2558. เข้าถึงได้จาก http://oldweb.most.go.th/main/index.php/organization-news/6111–2558-.html