Deadpool ภาพยนตร์ฮีโร่สุดเกรียน ที่ผนวกตัวเองเข้าไปกับเรื่องราวของ X-Men และกลายเป็นภาพยนตร์ที่สร้างกระแสหนังฮีโร่เรท R ที่ผู้ชมทั่วโลกนิยมเป็นอันดับ 1 ทำให้ทางสตูดิโอรีบทำภาคต่อออกมาในทันที ในชื่อ Deadpool 2 เปิดตัวสัปดาห์แรกด้วยรายได้จากทั่วโลกกว่า 300 ล้านเหรียญ มันจึงเป็นภาพยนตร์ที่น่าจับตาที่สุดในปี 2018
Deadpool 2 ไรอัน เรย์โนลด์ส กลับมารับบท Deadpool อีกครั้ง เข้าฉายในไทย 16 พ.ค. 61 เป็นหนังภาคต่อที่ไม่รู้ว่าจะเขียนหาความดีงามอะไรเอามาแสดงให้ดูได้ เพราะมันเป็นหนังเรท R (Restricted) อย่างนั้นหรือ ..? ซึ่งเราต่างก็รู้ว่าหนังเรท R หมายถึง ห้ามเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชม ถ้าไม่มีผู้ปกครองไปให้คำแนะนำด้วย เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงระดับมาก ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่มีความรุนแรงระดับมาก การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ การใช้ยาเสพติด การดื่มของมึนเมา และการใช้ภาษาไม่เหมาะสม
แต่นี่จะไม่ใช่หนังเรทอาร์ที่เราเข้าใจกันเพราะเมื่อรับชมจบแล้วเดินออกมา เราจะมึนงงกับมุขตลกและคำสบถที่ฟุ่มเฟือย แล้วก็มานึกขึ้นได้ว่านี่มัน “หนังครอบครัว” นี่หว่า ซึ่งปัญหาครอบครัวกลายเป็นประเด็นใหญ่ในภาพยนต์ Deadpool 2 ไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันยิงตรงเข้าสู่ปฐมเหตุของปัญหาครอบครัว หรือความขัดแย้งในครอบครัว รวมไปถึงองค์กรได้อย่างถึงแก่นนั่นคือ “อย่าทิ้งใครไว้” นั่นเอง เพราะหากเราทิ้งใครไว้ให้โดดเดี่ยว ในอนาคตมันจะไปสร้างปัญหาที่ซับซ้อน การล้างแค้นจะเกิดตามมาไม่จบสิ้น หลายคนอาจมีครอบครัวที่พังทลาย หากย้อนเวลากลับไปแก้ไขอะไรได้ ก็คงจะดี แต่ในชีวิตจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทันทีที่หันหลังให้กับครอบครัว นั่นคือจุดเริ่มต้นแห่งความเลวร้ายทั้งปวงที่จะตามมา ซึ่งเราจะพบว่านี่อาจจะเป็นการล้อเลียนความคิด หรือคำพูดในภาพยนตร์ Black Panther และ Avengers Infinity War ที่กำลังฉายโกยรายได้ไปก่อนหน้าภาพยนตร์ Deadpool 2
[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”]
[accordion title=”คลิกอ่านเพิ่มเติม การกำหนดเรทภาพยนตร์” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”]
[box type=”note”]
สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (The Motion Picture Association of America หรือ MPAA) เป็นองค์กรระดับโลกของประเทศอเมริกาที่ทำหน้าที่จัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) ในประเทศไทยก็มีองค์กรที่กำหนดเรทแบบนี้เช่นกันก็คือ กบว. MPAA เริ่มมีการจัดเรทหนังมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 1968 โดยทำหน้าที่พิจารณาให้ เรท ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่จะนำเผยแพร่สู่สาธารณะ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ระดับจี (G: General Audiences) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ อาจประกอบไปด้วยความรุนแรงทางจินตนาการหรือความรุนแรงทางอารมณ์ขัน แต่ต้องไม่มีภาพโป๊ ภาพเปลือย เรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบอาจพบได้ในปริมาณน้อย แต่ไม่สามารถพบได้ในวัยเด็กและเยาวชน ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Toy Story, Cars และ Monsters, Inc.
ระดับพีจี (PG: Parental Guidance Suggested) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่แนะนำให้เด็กและเยาวชนนั้นมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงเพียงเล็กน้อย การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ยาเสพติด ภาพโป๊ ภาพเปลือย และ/หรือกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Moana (ความรุนแรงและสนุกและภาพน่ากลัว), How to Train Your Dragon (ความรุนแรงและสนุกภาพน่ากลัว) และ Harry Potter and the Socerer’s Stone (ความรุนแรง, ภาพน่ากลัวและการใช้ภาษาไม่เหมาะสม)
ระดับพีจี-13 (PG-13: Parents Strongly Cautioned) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่เนื่องจากเนื้อหาบางส่วนอาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำเตือน เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรงระดับปานกลาง การใช้ภาษาที่รุนแรง การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติดเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น The Avengers (ความรุนแรง, การใช้ภาษาพูดไม่เหมาะสม, การทำลายล้าง, การใช้แอลกอฮอล์และภาพน่ากลัว), Star Wars Episode VII: The Force Awakens (ความรุนแรงและภาพน่ากลัว) และ 10 Things I Hate About You (การใช้ภาษาไม่เหมาะสม, การใช้สิ่งเสพติด/แอลกอฮอล์และเนื้อหาทางเพศ)
ระดับอาร์ (R: Restricted) เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีจะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงระดับมาก ภาพสหยดสยอง การใช้ภาษาที่มีความรุนแรงระดับมาก การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Fifty Shade of Grey (กิจกรรมทางเพศและเนื้อหาทางเพศ, การใช้แอลกอฮอล์และการใช้ภาษาไม่เหมาะสม), The Conjuring (ความรุนแรงมากและภาพน่ากลัว) และ The Matrix (การใช้ภาษาและความรุนแรงมาก)
ระดับเอ็นซี-17 (NC-17: Adults Only; No One 17 and Under Admitted) ไม่อนุญาตให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชมโดยเด็ดขาด เพราะเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจนและเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่เท่านั้น เนื้อหาประกอบไปด้วย ความโหดร้าย ความรุนแรงระดับมากที่สุด ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่รุนแรงระดับมากที่สุด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Blue is the Warmest Color (กิจกรรมทางเพศ, การใช้ภาษาและการใช้สิ่งเสพติด/แอลกอฮอล์), The Dreamers (กิจกรรมทางเพศและการใช้ภาษา) และ Shame (กิจกรรมทางเพศและการใช้ภาษา)
การกำหนด เรท(rate) เนื้อหาของภาพยนตร์เพื่อแบ่งระดับ มีข้อสังเกตโดยย่อดังนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์: https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์
ระดับ PG-13 ถือเป็นระดับกลาง บรรดาผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์จึงต้องการให้ภาพยนตร์รักษาไม่ให้เกินจากระดับนี้ด้วยเหตุผลทางการตลาดให้ภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มคนวงกว้างที่สุด หากผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์เสนอต่อสมาคมภาพยนตร์อเมริกันเพื่อจัดแบ่งระดับ (ก่อนนำภาพยนตร์ออกฉาย) แล้วได้ระดับสูงกว่านี้ ทางผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์อาจถึงกับต้องตัดต่อเพื่อขอจัดระดับใหม่ก็ได้
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ระดับอาร์หมายถึงโป๊ แต่แท้จริงแล้วยังรวมถึงฉากสยองขวัญ การต่อสู้หรือทำร้ายรุนแรง (ทำร้ายกันง่าย ๆ หน้าเบี้ยว เลือดสาด อวัยวะกระจาย) การใช้คำหยาบคาย การใช้ยาเสพติด การลักพาตัว เนื้อหาที่อาจก่อความเข้าใจผิดทางศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ การเมือง เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม แต่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
ถ้ามีคำหยาบคายไม่เกินห้าคำ และไม่มีฉากโป๊หรือเปลือย มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13 ถ้ามีคำหยาบคายเกินห้าคำ มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
ถ้ามีเนื้อหาอ้างอิงเกี่ยวกับยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13 ถ้ามีฉากในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้หญิงมักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายเพียงเล็กน้อย มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายระดับปานกลาง มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายที่มุ่งเน้นทางเพศสัมพันธ์ มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์ ถ้ามีฉากข่มขืนทางเพศสัมพันธ์ มักถูกจัดอยู่ในระดับเอ็นซี-17
ระดับเอ็นซี-17 จัดเป็นระดับต้องห้าม ถ้าไม่โป๊หรือโหดร้ายที่สุดก็ไม่ถึงกับถูกจัดเข้าระดับนี้ ส่วนใหญ่เน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก เนื้อหาคล้ายระดับอาร์ แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องโดยตรงหรือมีเนื้อหาเกินครึ่งเรื่องที่เข้าข่าย เช่น เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
ซึ่งการกำหนดเรทหนังที่สมาคมภาพยนตร์อเมริกันกำหนดขึ้นนี้ จะมีความเคร่งครัดมาก มีการตรวจบัตรประชาชนของเยาวชน ก่อนซื้อตั๋วเข้าชม หากไม่มีผู้ปกครองไปด้วย ในประเทศไทยก็มีการกำหนดเรท แต่ไม่ได้มีระบบระเบียบบังคับใดๆ
[/box]
[/accordion][/accordions]
อันความพินาศของครอบครัวหลายๆ ครอบครัวในสังคมเราทุกวันนี้ ล้วนเกิดมาจากเหตุนี้แทบทั้งสิ้น คือ “การทอดทิ้ง” ในภาพยนตร์ Deadpool 2 ได้ขยายขอบเขตของคำว่าครอบครัวออกไปไม่ได้จำกัดอยู่ที่ความเป็นพ่อแม่พี่น้อง แต่ตีความกว้างไปถึงความเป็นองค์กรที่มีความเป็นครอบครัวเดียวกันแฝงอยู่ ซึ่งในกรณีนี้คือ ครอบครัว X-Men หรือโรงเรียนรวมเหล่าสมาชิกคนที่มีพลังเหนือโลก นั่นเอง ใครจะไปคิดว่าคนอย่าง Deadpool จะได้เป็นสมาชิกของบ้าน X-Men ได้ เอาละถึงแม้จะมีเสียงกร่นด่าตลอดทั้งเรื่อง แกมหยิกแกมว่า หาว่า Deadpool เป็นเพียงแค่เด็กฝึกงานบ้าน X-Men เท่านั้น ยังไม่ได้เป็นสมาชิกจริงๆ สักหน่อย
ช่างเถอะน่า..! จะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกบ้าน X-Men แล้วไง..! แต่ตอนจบที่ไม่อยากสปอย บอกได้คำเดียวว่า ทำเอาผู้ชมน้ำตาร่วงกันเลยทีเดียว แม้จะสะดุดร้องไห้ไม่สุด เพราะดันแทรกมุข “คู่กรรม” ใส่เขามาเรื่อยๆทำให้ผู้ชมยากที่จะแสดงความรู้สึกร่วมกับตัวละครตัวนี้ได้ และสิ่งสำคัญสำหรับผู้ชมที่เฝ้ารอดูตอนจบที่มี ฉากสรุปแทรกเข้ามาใน เครดิต (END Credit) ที่สรุปจบด้วยมุขเสียดสีล้อเลียน ซึ่งคนที่จะเข้าใจมุขเหล่านี้จะต้องมีความเป็นนักดูหนังพอสมควร ซึ่งเด็กๆ หรือวัยรุ่น อาจจะไม่เข้าใจ หลายคนออกมาจากโรงภาพยนตร์ต่างก็ตั้งข้อสังเกตว่า “ตกลงเขาเป็นคนดี หรือแค่นักต้นตุ๋นสุดเพี้ยนกันแน่..?” เอาละความสับสนในตัวซุปเปอร์ฮีโร่วิกลจริตสายฮาคนนี้ คงไม่ต้องมานั่งคิดให้ปวดหัว เพราะในฉบับหนังสือการ์ตูนเอง นักวิจารณ์ก็จัดให้เขาเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีความคิดซับซ้อนมากที่สุด และไม่อาจไปจัดระเบียบ หรือจำแนกให้ได้ว่าควรจะเป็นแนวไหนได้ ระหว่างเป็นคนดีจริงๆ หรือเป็นคนดีจอมปลอมที่จำเป็นต้องเป็นคนดี จะว่าไปฮีโร่แนวไม่ยึดมั่นในคุณธรรมสุดโต่ง และก็ไม่ชั่วซ่อนร้ายสุดติ่ง มันก็ไปโดนใจคนยุคปัจจุบันที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก ไม่ได้สำเร็จรูปแบบซุปเปอร์ฮีโร่แบบชาวบ้านเขา เดทพูล (Deadpool) คือ ผู้ที่ฉีกออกจากความจำเจของโลกซุปเปอร์ฮีโร่สำเร็จรูปเหล่านั้น ความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างอย่างชัดเจน บุคคลิกแบบนี้มันคงไปโดนกระดองใจ และยกย่องให้เป็นฮีโร่ในดวงใจของใครหลายคน จนให้คะแนนความดีงาม 8.5 คลิกดูเว็บIMDb
ความดีงามของภาพยนตร์เรทอาร์เรื่องนี้ ก็คงต้องยกให้กับการเผาชั่วโมงไปกับฉากที่เน้นคำว่าครอบครัวๆ ๆ จนมันอาจดูน่ารำคาญสำหรับผู้ชมที่ไม่ได้ศรัทธากับคำว่าครอบครัวซึ่งมองว่าการพูดคำว่า “ครอบครัว” เป็นคำหยาบคายด้วยซ้ำ ซึ่งเราจะได้ยินตัวละครเดทพูลพยามพูดย้ำบ่อยๆ จนติดหูในภาพยนตร์ มันเกิดอะไรขึ้นกับวงการภาพยนตร์ของอเมริกัน ที่พูดถึงครอบครัว การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และในDeadpool 2 ถือว่า “ครอบครัว” เป็นวัตถุประสงค์ที่ซุปเปอร์ฮีโร่เรทอาร์คนนี้พยายามทำ
[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”] [accordion title=”คลิกอ่านเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับDeadpool 2” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”]- ภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่เรื่องแรกที่เคยได้รับเรทอาร์ ได้แก่ The Matrix จากบทของ NEO ที่แสดงโดย คีอานู รีฟ
- นักแสดง Josh Brolin ที่รับบทเป็น Cable คู่ปรับที่กลายมาเป็นเพื่อน Deadpool 2 คือคนๆเดียวกันกับที่แสดงเป็น Thanos ตัวร้ายอันดับ 1 ในภาพยนตร์ Avengers Infinity War มันก็แปลกดี..!
- Deadpool 2 เข้าฉายต่อจาก Avengers Infinity War 3 สัปดาห์ และอีกสัปดาห์ต่อมาก็มีหนัง Solo: A Star Wars Story และอีกสัปดาห์ถัดไป ก็จะมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ Jurassic World: Fallen Kingdom เข้ามา ก็คงต้องจับตาดูความเกรียนของ Deadpool ว่าจะพาหนังของตัวเองทำรายได้ และทำลายสถิติอะไรได้บ้าง
Director: Tim Miller
Producer: Simon Kinberg, Ryan Reynolds
Cast: Ryan Reynolds, Mackenzie Davis, Kyle Chandler
Script: Rob Liefeld, Fabian Nicieza, Rhett Reese, Paul Wernick
Camera: Ken Seng
Editing: Craig Alpert, Elísabet Ronaldsdóttir, Dirk Westervelt
Music: Tyler Bates
Production Design: David Scheunemann
Costume Design: Kurt and Bart
Visual FX: Thomas Elder-Groebe, Sabrina Gagnon, Sara Moore
https://www.imdb.com/title/tt5463162/
https://www.facebook.com/DeadpoolMovieThailand/
[/accordion][/accordions]