วันพระบิดาแห่งฝนหลวง

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เนื่องจากเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ซึ่งโครงการฝนหลวงนี้ มีประโยชน์ต่อราษฏรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิธีการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนได้ในยามแล้งน้ำ

ความเป็นมาโครงการฝนหลวง

พระบิดาแห่งฝนหลวงโครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคและ บริโภค รวมไปถึงการใช้ในทางเกษตรกรรม เนื่องมาจากสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งพบได้บ่อยในฤดูหนาวและ ฤดูร้อน ซึ่งความแห้งแล้งนี้เกิดจากการคลาดเคลื่อนของฤดูตามธรรมชาติ  เช่น ฤดูฝนล่าช้าหรือหมดไวกว่าปกติ

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงศึกษาสภาพอากาศ ลักษณะต่างๆ รวมไปถึงภูมิประเทศของไทย ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ทำให้อยู่ในอิทธิพลของมรสุมทวีปเอเซีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝน  และเป็นฤดูเพราะปลูกประจำปีของประเทศไทย พระองค์จึงดำริคิดว่าจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดฝนตกได้ นั้นเอง

ดังนั้นตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนมั่นประทัย ก่อนที่จะพระราชทานแนวคิดนี้ให้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล หาลู่ทางทำให้เกิดการทดลองต่อไปบนท้องฟ้า

จนกระทั่ง พ.ศ. 2512 พระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อสนับสนุนโครงการฝนหลวง อีกทั้งในปีเดียวกันนี้เอง ที่ได้มีการทดลองปฏิบัติจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 1512 โดยเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรกในภารกิจโครงการฝนหลวง

พระบิดา-ฝนหลวงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของโครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวง มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาราษฏรที่ประสบปัญหากับภัยแล้ง ช่วยบรรเทาความทุกข์ยาก  อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในส่วนต่างๆ ทั้งด้านเศรษกิจและสังคมของประเทศได้ เช่น

  1. ด้านการเกษตร : เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการประกอบอาชีพเกษตรกร อันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงยาวนาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้ช พันธุ์ ต่างๆ ของประชาชนที่ทำอาชีพเพาะปลูก
  2. ด้านแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ : เนื่องจากภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือจำนวนมาก ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ เกิดอาการเป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มได้  ดังนั้น การทำฝนหลวงจึงมีความจำเป็นในการรักษาสมดุลของน้ำ และบรรเทาความทุกข์ยากของราษฏรในพื้นที่เหล่านั้นได้
  3. ด้านการอุปโภค บริโภค : การทำโครงการฝนหลวงเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำไว้ใช้ดื่ม-กิน ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบถึงภัยแล้งอยู่บ่อยครั้ง
  4. ด้านการเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ : เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง จนไม่สามารถสัญจรไปมาทางเรือได้ จึงต้องมีการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าว เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางน้ำยังเป็นอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบก ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมาก
  5. ด้านการป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม : หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่องเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อย และสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการทำฝนหลวง จึงช่วยบรรเทาภาวะดังกล่าว อีกทั้งการทำฝนหลวงยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษให้ออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
  6. ด้านการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า : เนื่องจากบ้านเมืองเราเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะวิกฤต โดยระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำฝนหลวงจึงมีความสำคัญในด้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าโครงการฝนหลวงนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งช่วยเหลือในด้านการเกษตรกรรม สังคม เศรษฐกิจของประเทศ และคุณภาพชีวิตของผู้ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เพราะฉะนั้นในวัน 14 พฤศจิกายน เราจะมารำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวงกัน

 


กระปุกดอทคอม.  (2555).  วันพระบิดาแห่งฝนหลวง 14 พฤศจิกายน โครงการฝนหลวง.  เข้าถึงได้จาก  https://guru.sanook.com/4490/

ศุภวิชญ์ พิชารัฐ.  (2537).  จารึกรอยเบื้องพระยุคคลบาท: ฝนหลวง.  กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สถาพรบุ๊คส์.  ฝ่ายวิชาการ.  (ผู้เรียบเรียง).  (2560).  โครงการพระราชดำริฝนหลวง.  กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

MTHAI.  (2559).  วันพระบิดาแห่งฝนหลวง 14 พฤศจิกายน.  เข้าถึงได้จาก http://scoop.mthai.com/specialdays/5412.html

 

ม.สยาม+มหาวิทยาลัยสยาม+siam university-logo+ห้องสมุด

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง Father’s Day of Rain