เนื่องจากวันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญ และทรงได้กรอบกู้อิสรภาพของไทย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลองจนปกป้องรักษาเอกราชของราชของชาติจนทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาตราบจนถึงปัจจุบันนี้
ภายหลังจากการยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา ไม่นาน ขณะที่กรีฑาทัพไปตีเมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมก แล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบล เอกราชไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ffcc99″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote]
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ ทรงเป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทร์เมื่อ ปีพ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก ขณะที่พระบิดาทรงดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองประเทศราช ครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคิณี คือ พระสุพรรณกัลยา พระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๑๓๓ สิริรวมการครองราชย์สมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ สิริรวมพระชนม์มายุรวม ๕๐ พรรษา
พระนามของ พระนเรศวร นั้นนองจากที่ขานกันว่า พระองค์ดำ แล้วยังปรากฏในเอกสารทั้งของไทย และจดหมายเหตุต่างชาติ เช่น พระนเรศวรราชาธิราช พระนเรส องค์ดำ พระนริศ แต่สรุปไม่ได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิฐานว่ามาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช (พะ-นะ-เหรด วะ-ระ-รา-ชา-ทิ-ราด) เป็น พระนเรศวร ราชาธิราช (พะ-นะ-เร-สวน รา-ชา-ทิ-ราด)
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงกระทำสงคราม ทำให้มีเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ
สรุปพระราชกรณียกิจ
- พ.ศ.๒๑๑๓ เสด็จออกร่วมรบกบทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
- พ.ศ.๒๑๒๔ ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกทับเข้าตีเมืองคังจนได้รับชัยชนะ
- พ.ศ.๒๑๑๗ เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
- พ.ศ.๒๑๒๑ ทำทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันทตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ.๒๑๒๔ ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกทับเข้าตีเมืองคังจนได้รับชัยชนะ
- พ.ศ.๒๑๒๗ ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกับพระนคร
- พ.ศ.๒๑๒๗-๒๑๓๐ พม่ายกทับมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
- พ.ศ.๒๑๓๓ ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๔ พรรษา
- พ.ศ.๒๑๓๕ ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
- พ.ศ.๒๑๓๖ ทรงยกทับไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพีธีปฐมกรรม
- พ.ศ.๒๑๓๘ และ พ.ศ.๒๑๔๑ ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และ ๒
- พ.ศ.๒๑๔๘ ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยาไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนาเข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คน เมื่อยกทับหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้งกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน
และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวงก็ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็งซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]เกร็ดความรู้[/quote]
[box]ทักษิโณทก
ทักษิโณทก (อ่านว่า ทัก-สิ-โน-ทก) เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ทกฺษิณา (อ่านว่า ทัก-สิ-นา) แปลว่า ของทำบุญ กับคำว่า อุทก (อ่านว่า ทุ-ทะ-กะ) แปลว่า น้ำ คำว่าทักษิโณทก เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย มีความหมาย ดังนี้
- ความหมายที่ ๑ หมายถึง น้ำที่หลั่งในเวลาทำบุญเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย
- ความหมายที่ ๒ หมายถึง น้ำที่ใช้เทเพื่อแสดงว่าให้ ใช้กับสิ่งของที่ใหญ่โต หรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่น วัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น
- ความหมายที่ ๓ หมายถึง น้ำที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด
ยุทธหัตถี
ยุทธหัตถึ หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติดึกดำบรรพ์ว่ายุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของการรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ชนช้าง โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติในการทำสงครามที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติสูงสุดและแม้แต่ผู้ใดแพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้ ในสมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม ๓ ครั้ง คือ
- ครั้งที่ ๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระอินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอ ได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์
- ครั้งที่ ๒ ในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัยต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต
- ครั้งที่ ๓ ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล หลังจากนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานถึง ๑๕๐ ปี
ธานัฐ ภัทรภาคว์. (2544). เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. นนทบุรี: ก้าวไกล.
วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). สมเด็จพระนเรศวรมหาราช. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนเรศวรมหาราช