๑๒ สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ

Long-Live-Her-Majesty-Queen-Sirikit-b

[box type=”note”]วันแม่แห่งชาติ๑๒ สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย) ตรงกับวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 87 พรรษา โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙[/box]

 

 

วันแม่แห่งชาติ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ นับแต่นั้นมา

วันแม่แห่งชาติทรงเป็นต้นแบบอันงดงาม ทั้งในฐานะของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในฐานะของพระมารดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา และผู้เป็นแม่ของปวงชนชาวไทย พระองค์ได้ทรงปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เอง เยี่ยมราษฎรในชนบท ทั่วทุกภูมิภาค แม้ตรากตรำพระวรกาย ก็มิได้ทรงย่อท้อ เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ

วันแม่แห่งชาติพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีกว้างขวางครอบคุมสาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์และสาธารณสุข การต่างประเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ อีกมากมาย พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโครงการอาชีพเสริมต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎร ซึ่งโครงการที่ที่เป็นรู้จักอย่างแพร่หลาย คือ “โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เพื่อส่งเสริมอาชีพเสริมแก่ราษฎรยากไร้ให้กับคนไทยในชนบท พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่กับสืบไป โดยได้ดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จวบจนปัจจุบัน

วันแม่แห่งชาติ-ราชินีผ้าไหมไทย

นอกจากนั้นยังทรงดำรงตำแหน่ง “สภานายิกาสภากาชาดไทย” ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะกุศลที่ก่อตั้งขึ้น โดยมีภารกิจในการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา

ในฐานะ “แม่ของแผ่นดิน” จึงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงทุ่มเทอุทิศกำลังพระวรกาย พระสติปัญญา และพระราชทรัพย์ในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เพื่อเกื้อกูลประโยชน์สุขของพสกนิกรตลอดมา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้ ได้หยั่งรากลึกลงในผืนแผ่นดินไทย และประทับอยู่ในใจของคนไทยทั้งชาติสืบไป

[quote arrow=”yes”]สัญลักษณ์วันแม่[/quote] ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ สีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมอย่าง “ดอกมะลิ” ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ “วันแม่” แทนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย เหมือนกับความหอมของดอกมะลิที่หอมนาน และออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิ จึงเปรียบเสมือนการบูชาแม่ผู้มีพระคุณของลูก ๆ ทุกคน บรรดาๆ ลูกจึงนิยมนำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่ผู้สร้างทางชีวิต

[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote arrow=”yes”]กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ[/quote]
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

 

[quote arrow=”yes”]ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ (ในประเทศไทย)[/quote]

ละเอียด-แปลก พิบูลสงคราม
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม(คนกลาง) ภรรยาของท่าน จอมพล ป. พิบูล สงคราม(คนขวา)

การจัดงานวันแม่แห่งชาติในครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งริเริ่มโดย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภรรยาของท่าน จอมพล ป. พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่จัดได้ไม่กี่ปีก็ยกเลิกไป  เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ ๑๒ สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ

 

 

 

 

ความหมายของคำว่า “แม่”

คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า “แม่” ไว้ดังนี้

แม่ หมายถึง หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน

“แม่” เป็นผู้ให้กำเนิด เลี้ยงดูและอบรมลูกด้วยความรัก ห่วงใยและเสียสละ เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งดีงาม และความสมบูรณ์ให้แก่ลูกในทุกด้านจนสุดความสามารถ ลูกจึงควรตระหนักภาระอันยิ่งใหญ่นี้สนองคุณความกตัญญูกตเวที ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามที่ได้รับคำสั่งสอน ซึ่งจะนำมาให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต และนั่นคือ ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจของ “แม่” [divide icon=”circle” width=”medium”] [quote arrow=”yes”]ความเป็นมาของวันแม่ สากล[/quote]

Anna Marie Jarvis-วันแม่แห่งชาติ

ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ ๒ ปี พอดีในปี พ.ศ.๒๔๕๗ โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

 


  • กระปุกดอทคอม.  (2550).  วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม ประวัติวันแม่แห่งชาติ.  เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/39880
  • มายโหรา.  (2561).  วันแม่ 2561.  เข้าถึงได้จาก https://www.myhora.com/ปฏิทิน/วันแม่.aspx
  • ราชบัณฑิตยสถาน.  (2556).  พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
  • ศิริวรรณ คุ้มโห้.  (2546).  วันและประเพณีสำคัญ.  กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.
  • สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.  (2531).  วันแม่แห่งชาติ ปี 2531.  กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

วันแม่แห่งชาติ Mother’s day