วันประมงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] วันประมงแห่งชาติ มีที่มาจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาครทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ถึงนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ซึ่งคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีจึงได้คำสั่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบเรื่องต่อให้กับกรมประมง เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง
นอกจากนี้ยังขอให้ราชบัณฑิตยสถาน และกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม จากที่กรมประมงพิจารณาว่า อาชีพการประมงทางทะเลเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละมากมาย อีกทั้งยังต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยแจ้งข่าวสารทางทะเล ที่อาจเป็นภัยอันตรายต่อประเทศ ให้แก่หน่วยงานราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ จึงจัดให้มีวันสำคัญวันนี้ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง โดยจัดตั้งวันประมงขึ้น ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี
มติคณะรัฐมนตรี — พุธที่ 7 มิถุนายน 2549 10:24:21 น. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ[divide icon=”circle” width=”medium”]
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มกราคม 2527 โดยจัดงานวันประมงแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน รวม 22 ครั้ง หมุนเวียนจัดงานระดับประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ นิทรรศการความรู้ด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง การประกวดวาดภาพ ประกวดคำขวัญ / เรียงความ รวมทั้งการแข่งขันต่าง ๆ
- ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมในช่วงเดือนเมษายนแล้งมากในทุกจังหวัด แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย และจากการขยายตัวของเมืองและชุมชนทำให้ไม่มีสัตว์น้ำค้างอยู่ตามปลักโคลนหรือทำนบปลาตามทางสัญจร สภาพอากาศที่ร้อนทำให้พันธุ์สัตว์น้ำที่กรมประมงเตรียมมาให้ ประชาชนปล่อยในวันที่ 13 เมษายนมีอัตราการตายสูง ประกอบกับในช่วงวันที่ 13 — 15 เมษายนของทุกปีตรงกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการประจำปี โดยเน้นให้เป็นวันครอบครัว ประชาชนที่อยู่ห่างไกลภูมิลำเนา เดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้แต่ละปีมีผู้เข้าร่วมงานวันประมงแห่งชาติไม่มากเท่าที่ควร ผลที่ได้รับจากการจัดงานไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย
- จากสิ่งที่ต้องดำเนินการตามข้อ 1. และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการจัดงานวันประมงแห่งชาติในปัจจุบันตามข้อ 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของ ทุกปีเป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี โดยมีเหตุผลประกอบ 3 ประการ ดังนี้
- เดือนกันยายนเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำมาก สภาพทางธรรมชาติของแหล่งน้ำเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน
- วันที่ 21 กันยายน เป็นวันสถาปนากรมประมง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหา
กรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประมงและกรมประมงตามลำดับ และเพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่สนพระทัยในกิจการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาให้แก่ข้าราชการหรือนักเรียนไปศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลาในต่างประเทศ - จากการขอความคิดเห็นหน่วยงานต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กองทัพเรือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การสะพานปลา และ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกหน่วยงานเห็นชอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
กิจกรรม วันประมงแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ได้ดำเนินการ โดยจัดงานวันประมงแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน หมุนเวียนจัดงานระดับประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
เนื่องในวันประมง มีการจัดกิจกรรมด้านการประมงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านนี้ เช่น กรมประมง กิจกรรมที่สำคัญเช่น การปล่อยพันธุ์ปลาหายากหรือขยายพันธุ์ได้ยากลงสู่แหล่งน้ำ และวันนี้ยังเป็นที่รู้กันว่าจะมีการหยุดการทำประมง หยุดการหาปลา ทำร้ายและฆ่าปลาหนึ่งวัน และส่งเสริมให้มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งในทะเล เพื่อเป็นการชดเชยสำหรับการที่ได้ทำการประมงมาตลอดปี
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]จัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ
มีการนิทรรศการความรู้ด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการจำหน่ายการแปรรูปสัตว์น้ำ การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]กิจกรรมประกวดวาดภาพ
การประกวดวาดภาพ ประกวดคำขวัญ เรียงความ รวมทั้งการแข่งขันต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กๆ เยาวชน ได้รู้จักสัตว์ประมง และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ทำบุญตักบาตร
ชาวประมงจะไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งหลังจากที่มีการทำประมงมาตลอด วันประมงแห่งชาติ จะมีการหยุดหาปลาและจับสัตว์น้ำหนึ่งวัน
ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะเน้นความสำคัญ การพัฒนาอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง การดูแล และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นต้น
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันประมง
การพัฒนาอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง อาทิ การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่พิจารณาดำเนินกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยง ตามศักยภาพของพื้นที่
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]ส่งเสริมแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อส่งเสริมให้ชาวประมงมีความรู้ด้านการประมงพัฒนาอาชีพของเกษตรกรด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ สามารถผลิตสัตว์น้ำเพื่อบริโภคในครัวเรือน
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]ถ่ายทอดความรู้
การถ่ายทอดความรู้ เป็นวิธีที่ให้ความรู้ความเข้าใจได้ง่ายที่สุด คือการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมงกับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมง เพราะได้เข้าถึงปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง แต่มีข้อเสียคืออาจจะใช้เวลาและงบประมาณมาก จึงทำการส่งเสริมได้น้อย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]จัดเจ้าหน้าที่ให้ความรู้แก่กลุ่มประมง
การจัดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเข้าไปให้คำแนะนำซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรวมตัวกันยากสักหน่อย เพราะการจัดกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาหรือความสนใจในการประมงที่เหมือนกันหรือคล้ายกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน มีมาก แต่กว่าจะทำให้เกิดการรวมตัวกันนั้น แต่ละคนมักจะไม่ค่อยมีเวลา
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]การส่งเสริมโดยการผ่านสื่อต่างๆ
ซึ่งการส่งเสริมทางโทรทัศน์จะได้ผลมากที่สุดเพราะบ้านส่วนใหญ่มีโทรทัศน์ทำให้ได้รับข่าวสารง่ายที่สุด เพราะการส่งเสริมการประมงผ่านสื่อ อย่างเป็นโทรทัศน์จะมีรายการเกี่ยวกับเกษตรกร ส่วนวิทยุจะมีคลื่นวิทยุให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประมง หนังสือพิมพ์ก็จะมีคอลัมน์เกี่ยวกับเกษตรกร นิตยสารการเกษตร การจัดนิทรรศการส่งเสริมการประมง การจัดการประกวดต่างๆเกี่ยวกับผลผลิตทางการประมง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการให้ข้อมูล และความรู้แก่เกษตรกร และชาวประมงได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ ทางราชการได้ถือว่าเป็น “วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ” โดยสนับสนุนให้ประชาชนนำพันธุ์ปลา ไปปล่อยตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งโดยมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงสมควรกำหนดให้ วันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็น “วันประมงแห่งชาติ” และเห็นสมควรให้หยุดทำการประมง มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งในทะเลด้วย เพื่อเป็นการชดเชยสำหรับการที่ได้ทำการประมงมาตลอดปี[divide icon=”circle” width=”medium”]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรการประมง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงว่าประชาชนในชนบทยังขาดสารอาหารโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ปลาน้ำจืดเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีน หาได้ในท้องถิ่นแต่แหล่งน้ำธรรมชาติมีความเสื่อมโทรม ทำให้ปริมาณการผลิตปลาจากแหล่งน้ำ ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้เกิดแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมง
พระราชทานพันธุ์ปลาไปทั่วประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพันธุ์ปลาไปทั่วประเทศ บ่อยครั้งที่ทรงปล่อยปลาลงตามแหล่งน้ำต่างๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และมีพันธุ์ปลาพระราชทาน มีบ่อเพาะพันธุ์จำนวน 6 บ่อ
ทรงศึกษาและทำการทดลองการจัดทรัพยากรการประมง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใยถึงการทำประมงของราษฎรและทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการทรัพยากรประมง จึงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองวิจัยทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง โดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง ศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมาใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติได้จริง นำความรู้ที่ค้นพบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพของประชาชนโดยให้จัดระเบียบในด้านการบริหารการจับปลา และไม่ทำลายพันธุ์ปลา ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
พระองค์ทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ การสงวนพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมเร่งรัดปล่อยพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโตเร็วที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ลงในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้มีสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆไว้บริโภค รวมถึงพันธุ์ปลาที่หายาก และทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้า จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริ ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา ด้วยการกำหนดเขตการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ให้เป็นสัดส่วน
กระปุกดอทคอม. (2556). วันประมงแห่งชาติ 21 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/84558
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). วันประมงแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/
Myhora. (ม.ป.ป.). วันการประมง 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.myhora.com/ปฏิทิน/วันการประมง.aspx