วันพยาบาลแห่งชาติ ๒๑ ตุลาคม

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ 21 ตุลาคม 2443(ค.ศ.1900) เป็นวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นวันพยาบาลแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย โดยได้จัดตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชาวไทยผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ชนบท หรือผู้ที่ไม่กำลังทรัพย์ในการเข้ารักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วยได้ ทรงอุทิศตนเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับการรักษา พยาบาลได้อย่างทั่วถึงทุกคน สร้างสุขภาพที่ดีให้ประชาชน

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวแล้วนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะ รัฐมนตรี ให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2533 สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในนามของพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งประเทศถือเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่ง และได้ร่วมกันจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ในวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา

วันพยาบาลแห่ง่ชาติ-วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า สังวาลย์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ณ จังหวัดนนทบุรีเป็นบุตรคนที่ 3 ในพระชนกชูและพระชนนีคำ มีพระภคินีและพระเชษฐา 2 คน  ซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ 2 ปี คือ คุณถมยา

วันพยาบาลแห่ง่ชาติ-วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเข้าศึกษาที่ โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ ในปี พ.ศ.2456 และทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2459 นับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดของโรงเรียน จากนั้นได้รับพระราชทานทุนการศึกษาจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา  พร้อมกับนางสาวอุบล  ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์  และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงพบกับ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ 1  ทรงพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. 2463 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้วทั้ง 2 พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอทีเมืองบอสตัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์เมืองบอสตัน หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชธิดาและพระราชโอรส ดังนี้

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466
  2. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468
  3. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจ ด้วยทรงห่วงใยราษฎรที่อยู่ห่างไกลความเจริญ  ทรงเสด็จเข้าเยี่ยมเยียนชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือ  และได้พระราชทานความช่วยเหลือ ด้านสาธารณสุข เสื้อผ้า และอาหาร ผ่านเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามแก่พระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง”

เสด็จสวรรคต

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระอาการทรุดลง เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ(ตับ) และพระวักกะ(ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย(หัวใจ) ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำ คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ แต่พระอาการคงอยู่ในภาวะวิกฤต  จนกระทั่ง เวลา 21.17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุ 94 พรรษา

วันพยาบาลแห่ง่ชาติ-วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชกรณียกิจทางด้านการแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.)
เป็นหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ที่เดินไปในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล แพทย์แผนไทย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบอีกคณะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับสิ่งตอบแทน และ เบี้ยเลี้ยง เงินเดือน
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
จัดตั้งเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เพื่อทำขาเทียมและพระราชทานให้แก่ผู้พิการขาขาดที่ยากจนในชนบท โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และไม่คิดมูลค่า ซึ่งมูลนิธิขาเทียมฯนี้ ทรงก่อตั้งร่วมกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยพระองค์ท่านพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิมในการก่อตั้งมูลนิธิและทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์อีกด้วย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]มูลนิธิถันยรักษ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ทรงบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนกว่า 185 โรงเรียน และทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]เสด็จเยี่ยมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2510 โดยการนี้ได้ทรงม้าเสด็จเยี่ยมชม “สวนนอก” มี ศ.บรรเจิด คติการ และ ศ.ระพี สาคริก กราบทูลรายงาน อนึ่งในขณะเสด็จอยู่ในมหาวิทยาลัยนี้ สมเด็จพระราชชนนีทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งกับผู้ติดตามว่า “เกษตรนี้น่าอยู่จริง ๆ ฉันควรจะได้มาเยี่ยมที่นี่ตั้งนานแล้ว..”

โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์และการพยาบาลไข้
เป็นสถาบันการศึกษาด้านพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช เมื่อปี พ.ศ.2439 และได้ดำเนินการจัดการศึกษามาเป็นเวลา 117 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.2515 ได้รับการยกฐานะเป็น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา จึงต้องรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ประสบปัญหาความไม่เพียงพอของสถานที่ ทางคณะฯ จึงมีโครง การปรับปรุงอาคาร “พระศรีนครินทร์” (อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์) ภายในโรงพยาบาลศิริราช ช่วงปี พ.ศ.2543-2545 เพื่อให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นสำหรับจัดการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัย และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการพยาบาลแก่นักเรียนในประเทศและต่างประเทศ

วันพยาบาลแห่ง่ชาติ-วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

การพยาบาล คือ การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาแข็งแรง มีสุขภาพที่ดีเหมือนเช่นเดิม ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะประกอบอาชีพด้านพยาบาล จะต้องมีความขยัน อดทน มีการเรียนรู้ และฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย นั่นเอง

สัญลักษณ์พยาบาลไทย
สภาการพยาบาลได้กำหนดให้  “ดอกปีบ” เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก ดอกปีบ เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของดอกปีบ นั่นเอง

ดอกปีบ หรือ ดอกกาสะลอง Cork Tree

คำขวัญวันพยาบาลแห่งชาติ

“การพยาบาลก้าวไกล เพราะน้ำใจเหล่าพยาบาล เสียสละและบริการ ตามปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนนี”

 


  • แคมปัสสตาร์.  (ม.ป.ป.).  21 ตุลาคม วันพยาบาลแห่งชาติ สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จย่า.  เข้าถึงได้จาก  https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/86453.html
  • ซาบซ่าส์ดอทคอม.  (2556).  วันพยาบาลแห่งชาติ 9 กรกฎาคม 2013.  เข้าถึงได้จาก   https://www.zabzaa.com/day/วันพยาบาลแห่งชาติ/
  • วันพยาบาลแห่งชาติ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐.  (2560).  เข้าถึงได้จาก  http://www.bcnpy.ac.th/bcnpy/images/files/pdf/2560/day-nurse-60.pdf

วันพยาบาลแห่งชาติ  National Nurses Day