โรคกระดูกพรุน ดูแลป้องกันได้แต่เนิ่นๆ

ปัจจุบันโรคกระดูกพรุนนับเป็นโรคกระดูกเมตาบอลิก (Metabolic bone disease) ที่พบบ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบว่าในปีหนึ่ง ๆ
มีผู้สูงอายุนับล้านคนที่กระดูกสะโพกหักจากการหกล้มธรรมดา และอีกนับล้านคนมีกระดูกส่วนอื่นหักประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่กระดูกหัก 1 ครั้งจากโรคกระดูกพรุนมักเกิดกระดูกหักซ้ำอีกทั้งหลายโรงพยาบาลเมื่อเจอผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกก็ละเลยการตรวจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีโรคกระดูกพรุนหรือไม่ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกยังไม่เคยตรวจหรือรักษาโรคกระดูกพรุน

osteoporosis
ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกโดยการริเริ่มของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation, IOF) จึงได้กำหนดวันกระดูกพรุนโลกขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโรคกระดูกพรุน ทั้งด้านการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งปัจจุบันมี 90 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมกิจกรรมรณรงค์นี้ (วิรชัช สนั่นศิลป์, 2555)  โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักว่า

1. กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนไม่ใช่อุบัติเหตุ
2. การที่กระดูกหักถือว่าเป็นสัญญาณเตือน หักหนึ่งครั้งทำให้หักซ้ำได้อีก
3. ถ้ากระดูกหักเกิดขึ้นเมื่ออายุเกินห้าสิบ จงไปตรวจและรับการรักษา

คำจำกัดความของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือ โรคของกระดูกที่มีคุณลักษณะสำคัญสองประการ คือ มีมวลกระดูกลดลงและมีโครงสร้างทางจุลภาคภายในของเนื้อเยื่อกระดูกเสื่อมสลายลง  ยังผลให้กระดูกมีความเปราะเพิ่มขึ้นและทำให้กระดูกหักได้ง่าย (ศุภศิลป์ สุนทราภา, 2545, น. 228)
โรคกระดูกพรุน เป็นความผิดปกติของกระดูก ที่ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลงไปส่งผลทำให้ความแข็งแรงของกระดูกเสื่อมถอยลงไปเช่นกัน เพราะโครงสร้างภายในของ กระดูกถูกทำลาย  จนเกิดเป็นรูพรุนลักษณะ คล้ายกับฟองน้ำ อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือ หรือ เริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น ซึ่งผู้หญิงจะมีโอกาสสูญเสียเนื้อกระดูก ได้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า เอสโตรเจน  ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนในการสร้างเนื้อกระดูก และเมื่อเข้าสู่วัยหมด ประจำเดือน ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน
จะลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้การสร้างเนื้อกระดูกลดลงมากเช่นกัน ในที่นี้ จะตรงข้ามกับผู้ชาย ซึ่งมีฮอร์โมนชื่อ เทสโทสเตอโรน อันมีส่วนในการสร้างกระดูกเช่นกัน แต่ปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ทำให้โรคกระดูกพรุนในผู้หญิงเกิดขึ้นได้เร็วกว่าผู้ชายนั่นเอง

วันโรคกระดูกพรุน

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน (สมโภชน์ อิ่มเอิบ, 2552, น. 10) ได้แก่

  1. กรรมพันธุ์ โดยในครอบครัวอาจจะมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน
  2. การมีอายุมกขึ้นมีผลให้การดูดซึมแคลเซียมของร่างกายลดลงทั้งผู้ชายและผู้หญิง
  3. การรับประทานอาหารที่ไม่มีแคลเซียมหรือมีไม่เพียงพอ
  4. การดำเนินชีวิต ไม่ชอบออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัดเป็นประจำ ดื่มสุราเป็นประจำ
  5. การขาดฮอร์โมนเพศใน ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ออก และผู้ชายสูงอายุ
  6. โรคต่างๆ อาทิ โรคต่อมพำรำไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต
  7. การใช้ยาบ้างชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาฮอร์โมนไทรอยด์ ยาขับปัสสาวะบางตัว และ ยาเคมีรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น

osteoporosis

 

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การป้องกันโรคกระดูกพรุน (สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, 2556)[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]กินแคลเซียมให้พอเพียงทุกวัน อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพู) งาดำคั่ว แนวทางปฏิบัติ สำหรับเด็กและวัยรุ่นควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดื่มนมวันละ 1-2 แก้วเป็นประจำ
จะทำให้ได้รับแคลเซียมร้อยละ 50 ของปริมาณที่ต้องการ ส่วนแคลเซียมที่ยังขาดให้กินจากอาหารแหล่งอื่นๆ ประกอบ ผู้ใหญ่บางคนที่มีข้อจำกัดในการดื่มนม (เช่น มีภาวะไขมันในเลือดสูง อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด) ให้เลือกกินเนยแข็ง
นมเปรี้ยว นมพร่องมันเนย แทน หรือบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงในแต่ละมื้อให้มากขึ้น


[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังที่มีการถ่วงหรือต้านน้ำหนัก (Weight bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยให้มีมวลกระดูกมากขึ้น และกระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขน ขา และกระดูกสันหลัง


[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูกในบ้านเราคนส่วนใหญ่จะได้รับแสงแดดเพียงพออยู่แล้ว นอกจากในรายที่อยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา ก็ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ 10-15นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ถ้าอยู่แต่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดด อาจต้องกินวิตามินดีเสริมวันละ 400-800 มก.


[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อยเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้                                                                                                                                .


[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น                                                                                                                                                   .

 

  • ไม่กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะอาหารพวกนี้จะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินปกติ
  • ไม่กินอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเกลือโซเดียมจะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง และเพิ่มการขับแคลเซียมทางไตมากขึ้น
  • ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์ และกาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก (กาแฟไม่ควรดื่มเกินวันละ 3 แก้ว แอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 หน่วยดื่ม ซึ่งเทียบเท่าแอลกอฮอล์สุทธิ 30 มล.)
  • งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น (เนื่องจากลดระดับเอสโทรเจนในเลือด)
  • ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสตีรอยด์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย

[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]6[/dropcap]รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง                                                                                                         .


วิรชัช สนั่นศิลป์.  (2555).  บทวิเคราะห์สถานการณ์โรคกระดูกพรุน ปี 2555 และบทความโรคกระดูกพรุน : วันกระดูกพรุนโลก (World Osteoporosis Day 2012).  เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2218-2555.html

ศุภศิลป์  สุนทรภา.  (บ.ก.).  (2545).  โรคกระดูกพรุน.  ศรีนครินทร์เวชสาร, 17(4), 228-230.

สมโภชน์  อิ่มเอิบ.  (2552).  รายงานการวิจัยการเสริมสร้างกระดูกด้วยไข่แคลเซียมสูงเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน (รายงานการวิจัย).  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ.  (2556).  กระดูกพรุน.  นิตยสารหมอชาวบ้าน, 396.  เข้าถึงได้จาก  https://www.doctor.or.th/article/detail/15450

 

โรคกระดูกพรุน ดูแลป้องกันได้แต่เนิ่นๆ-วันกระดูกพรุนโลก World Osteoporosis Day