วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ National scout day
ลูกเสือได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐โดยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys และคำว่า “Scout” จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือซึ่งมีความหมายมาจาก
S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด
และในปีนี้เอง ได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นกองแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการลูกเสือได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ ๑ ทรงรับอุปภัมภก เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของลูกเสือ จึงได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ ๒[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจการลูกเสือในประเทศไทย[/quote]
ใน พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนได้เข้ารับการอบรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งอบรมจิตใจให้คนไทยรู้จักรักชาติมีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญู เมื่อกิจการของเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้วพระองค์จึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะได้มีการอบรมของเสือป่าด้วย ดังนั้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ ๓ ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก เป็นสื่อผูกมิตรไมตรีกันโดยใช้กฎของลูกเสือ ๑๐ ประการ ผูกสัมพันธ์กันไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ลูกเสือกองแรกของไทย[/quote]
ลูกเสือกองแรกของไทยตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก “ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๑” ต่อมาขยายตัวออกไปจัดตั้งที่โรงเรียนหรือสถานที่ใดสุดแต่สภากรรมการคณะลูกเสือแห่งงชาติจะเห็นสมควร เด็กที่จะเป็นลูกเสือจะต้องทำพิธีเข้าประจำกอง กล่าวคำปฏิญาณตนตามคำมั่นสัญญานั้น พระองค์ผู้ทรงให้กำเนิดลูกเสือได้พระราชทานคำขวัญไว้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติว่า “พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง” ถึงกับกองลูกเสือที่ ๘ ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามนามลูกเสือกองนี้ว่า “กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม” พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้งสองข้างและยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟื้นฟูอีก โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นครั้งแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ จากนั้นได้จัดให้มีการอบรมลูกเสืออีกหลายรุ่นกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นปีสุดท้ายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว กิจการลูกเสือได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย สมัยนั้นได้ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าราชการ ทหาร ในการปราบจราจล รัฐบาลจึงจัดตั้งหน่วยยุวชนทหารฝึกวิชาทหารขึ้นโดยรับเด็กที่ได้เป็นลูกเสือมาแล้ว ส่วนกิจการลูกเสือก็ขยายให้กว้างขวางขึ้น มีการจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าเสนาและลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาขึ้นโดยฝึกร่วมกับยุวชนทหารการลูกเสือจึงซบเซาลงบ้างในยุคนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางราชการได้ฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้ง มีการจัดชุมนุมของลูกเสือแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่ในกองการลูกเสือไปเข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐานสากล และตามแบบนานาประเทศตามลำดับ มีพระราชบัญญัติลูกเสือใช้บังคับโดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับการปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจนรัดกุมยิ่งขึ้น มีความว่า “คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ”
แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับ จนเป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้ขจรขจายเป็นที่รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ ๑ กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ” หรือ “วันลูกเสือ”[divide icon=”circle” width=”medium”]
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประเภทของลูกเสือ[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๑[/dropcap]ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ ๘ – ๑๑ ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)
[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]๒[/dropcap]ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ ๑๑ – ๑๖ ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๓[/dropcap]ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ ๑๓ – ๑๘ ปี คติพจน์: มองไกล (Look Wide)
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]๔[/dropcap]ลูกเสือวิสามัญ (Rover) อายุ ๑๖ – ๒๕ ปี คติพจน์: บริการ (Service)[divide icon=”circle” width=”medium”]
กฎของลูกเสือ มีทั้งหมด ๑๐ ข้อ คือ
- ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
- ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
- ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
- ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
- ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
- ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเตตากรุณาต่อสัตว์
- ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
- ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
- ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
- ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
คำปฏิญาณของลูกเสือ
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า”
- ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
- ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
- ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
๑. ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
๒. จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
๓. ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทางราชการกำหนด
๔. เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ
กระปุกดอทคอม. (๒๕๕๒). ๑ กรกฎาคม วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติเข้าถึงได้จาก
https://hilight.kapook.com/view/38711
ประยุทธ สิทธิพันธ์. (๒๕๒๗). ลูกเสือ ๔ แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: คณะกองบรรณาธิการ น.ส.พ.รวมข่าว.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สำหอสมุดกลาง. (๒๕๔๙). วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/jul/jul01-BoyScout.html
ศิริวรรณ คุ้มโห้. (๒๕๔๖). วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.