วันพืชมงคล 2563 ในปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 โดยในปีนี้รัฐบาลงดจัดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่จะมีพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูก เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทั่วประเทศ ในวันที่ 10 พฤษภาคม เวลา 17.00 น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพิธีหว่านข้าวในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ในวันที่ 11 พฤษภาคมเวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นพิธีภายใน ไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วม
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางเกษตรได้ระลึกความสำคัญของการเกษตร โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปจะได้ระลึกถึง ความสำคัญของข้าว และธัญพืชที่มีคุณอเนกอนันต์ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตสมบูรณ์ทั้งกายและใจ นอกเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างทางด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎรชักนำให้มีใจมั่นในการประกอบอาชีพ และ เป็นเหตุของความตั้งมั่นความเจริญ ไพบูลย์ของประเทศมาโดยตลอด
วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่ โบราณที่เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อ เศรษฐกิจไทย โดยมีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวงประกอบด้วย ๒ พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัย และให้อุดมสมบูรณ์เจริญ งอกงาม ดี พิธีแรกนาขวัญเป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ ฤดูกาลแห่งการทำนาและการเพาะปลูกได้เริ่มต้นแล้ว
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันพืชมงคล[/quote]
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน ซึ่ง วิธีนี้ ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ได้โปรดให้ข้า ราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ประกอบพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง เว้นแต่เมื่อมีพระราชประสงค์ จะทอดพระเนตร สถานที่ประกอบพิธีในตอนแรก ๆ จึงไม่ตายตัวแล้วแต่จะทรงกำหนดให้ ครั้งถึงในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่ม ขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ดังนั้น “พระราชพิธีพืชมงคล” จึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”
ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่าง ตามที่ทรงจำแนกไว้ ๓ อย่าง ๒ อย่างแรก ที่ว่า “อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระ พุทธศาสนาบ้าง” นั้น ทรงหมายถึง “พิธีพืชมงคล” อันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า “บูชาเช่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง” นั้น ทรงหมายถึงพิธีจรดพระนังคัลแรก นาขวัญอันเป็นพิธีของพราหมณ์ ดังนั้น จึงพอสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ได้ว่าพิธีแรกนามุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักนำให้มีความมั่นใจ ในการทำนาอันเป็นอาชีหลักที่สำคัญของคนไทยที่มีมาแต่ช้านานสืบมาจนถึงปัจจุบันอังคงเป็นอยู่อย่างนัั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้น เป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศ ทุกสมัย
ส่วนวันประกอบพิธีนั้น ต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วัน อันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖ เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะ เวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา เมื่อโหรหลวงคำนวณ ได้วันอุดมมงคล พระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวง ที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปีและได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรก นาขวัญ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะ รัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ ๑ วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การประกอบพระราชพิธีวันพืชมงคล[/quote]พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐาน เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งข้าวที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าว เปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนา บรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล
พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะ บรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืช ผลที่จะเพาะปลูก
ทั้งนี้ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันนี้ได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรี โสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับ ๓-๔ คือขั้นโทขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนได้มาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก
สำหรับการประกอบพิธีนั้นก็จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ก็จะมีการทำนาย ปริมาณน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง และแล้วพระยาแรกนาก็จะทำการเลือกผ้า ๓ ผืน ที่มีความยาว ต่างขนาดกัน ตามชอบใจ ผ้าทั้ง ๓ ผืน นี้จะดูคล้ายกัน
- ผ้า ๔ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
- ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
- ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้างไม่ได้ผลเต็มที่
หลังจากสวมเสื้อผ้าเรียกว่า “ผ้านุ่ง” เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนา ก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง ซึ่งลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้ง ๔ ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือก นอกจากนี้ก็มีคณะ พราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปพร้อมกัน
เมื่อเสร็จจากการไถแล้วพราหมณ์ในพิธีจะเป็นผู้นำอาหารมาตั้งเลี้ยงพระโค โดยจะใส่มาในกระทงวางบนถาดอาหาร ของพระโคมีทั้งหมด ๗ สิ่ง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว เมล็ดงา หญ้า น้ำ และเหล้า เมื่อพระโคเลือกสิ่งใดก็จะมีคำทำนายจากโหรหลวง ดังต่อไปนี้ (ศิริวรรณ คุ้มโห้, ๒๕๔๖)
- ข้าวเปลือกหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
- ถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
- เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้นทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
- น้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนา เพราะว่าเมล็ดข้าว นี้ถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นสิริมงคล แก่ผู้ที่มี ไว้ในครอบครอง ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวนี้ผสมกับเมล็ดข้าวของตนเพื่อให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์
สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญ จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีในทุ่งหญ้าที่จังหวัดราชบุรี พระโค ที่ใช้ในพระราชพิธีจะต้องมีลักษณะที่ดีขาดเกินไม่ได้คือ หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ ละคู่ต้องสีเหมือนกัน ซึ่งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสีเท่านั้น คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง และเจาะจง แต่ พศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ “ตอน” เสียก่อนด้วย
อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืช มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึก ถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็น สิริมงคลแก่อาชีพของตน
[quote arrow=”yes”]กิจกรรมทางวัฒนธรรม (สมบัติ จำปาเงิน, ๒๕๔๗)[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๑[/dropcap]จัดสัมมนา/ เสวนาทางวิชการ รณรงค์เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้คามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวันพืชมงคลและความสำคัญ[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]๒[/dropcap]คัดเลือก ประกวด แข่งขัน พันธุ์ข้าวและผู้ผลิต
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]๓[/dropcap]ยกย่องเชิดชูเกียรติเกษตรกรดีเด่นในรอบปี
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]๔[/dropcap]ให้ทุนอุดหนุนเกษตรกรที่ขยันหมั่นเพียรแต่ขาดแคลนเงินทุน
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]๕[/dropcap]กิจกรรมอื่นตามสมควร
ภาพ: ข้าว แหล่งกำเนิดวัฒนธรรมไทย. ม.ป.ป. กรุงเทพมหานคร: กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
- ศิริวรรณ คุ้มโห้. (ผู้เรียบเรียง). (๒๕๔๖). วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.
- สมบัติ จำปาเงิน. (๒๕๔๗). วันสำคัญของเรา. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
- สำนักงานศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). วันพืชมงคล. เข้าถึงได้จาก https://www.coj.go.th/day/pmk/puedmongkol.html