วันกองทัพเรือ 20 พฤศจิกายน

วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น วันกองทัพเรือ ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญต่อเหล่าทหารเรือ และกองทัพเรือที่เป็นกองกำลังหลักทำหน้าที่ดูแลและปกป้องพื้นน้ำของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานบริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกรุณาและทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อ กรมทหารเรือ เป็น กองทัพเรือ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ และได้พระราชทาน ลายพระราชหัตถเลขา ไว้ในสมุดเยี่ยมว่า

” วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบไปในภายหน้า”

ความเป็นมาของกองทัพเรือ

ในสมัยโบราณกำลังที่ปกป้องประเทศไทยยังรวมกันทั้งภาคพื้นดินและพื้นน้ำ แต่ภายหลังรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทัพเรือออกจากทัพบก เมื่อครั้งแรกเริ่มการตั้งกรมทหารเรือ ยังขาดบุคคลที่ขาดความรู้ ความชำนาญด้านการทัพเรือ จึงจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการหน้าที่ต่างๆ แทน

ต่อมาใน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า กิจการทหารเรือควรที่จะมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านกิจการทหารเรือ จึงได้มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ ความสามารถในหน้าที่ต่างๆ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ

ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ จนต่อมาใน พ.ศ. 2442 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือ ขึ้นเป็นครั้งแรก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

บิดาทหารเรือไทย
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ (ต้นราชสกุล อาภากร) ทรงเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราชสกุลวงศ์เป็นพระองค์ที่ 28 พระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์”  ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออังกฤษ

[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”] [accordion title=”ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ คลิก…” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ[/quote] ขนบธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือนั้น เป็นประเพณี พิธี หรือรูปแบบการปฏิบัติที่ได้รับการปฏิบัติสืบช่วงต่อกันมาและเป็นหน้าที่ของทหารเรือรุ่นหลังทุกคน โดยเฉพาะผู้น้อยควรลงมือปฏิบัติก่อนเสมอ ดังนี้
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]1[/dropcap]การเคารพด้วยนกหวีดเรือ

ในสมัยหนึ่งนกหวีดเรือ เป็นเครื่องประดับสำหรับตำแหน่งราชการ ใช้เมื่อออกคำสั่ง และยังใช้สำหรับการรับรองบุคคลชั้นสูง

[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]การกระทำความเคารพท้ายเรือ

การทำความเคารพท้ายเรือนี้เป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากสมัยโรมัน เพราะจัดเป็นห้องผู้บังคับการเรือและที่อยู่ของนายทหารประจำเรือ จึงถือว่าเป็นตอนที่สำคัญและได้รับเกียรติสูงสุดของเรือ เมื่อผู้ใดขึ้นมาบนเรือจะต้องทำความเคารพท้ายเรือก่อนเสมอ ปัจจุบันได้จัดให้ชักธงราชนาวีขึ้นที่เสาท้ายเรือ ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นราชนาวีไทยได้ใช้พระพุทธรูปแทนการทำความเคารพท้าย สำหรับบุคคลพลเรือนนั้น กระทำด้วยการถอดหมวกและโค้งคำนับ

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ประเพณีการเคารพของทหารเรือ

การทำวันทยหัตถ์สำหรับทหารเรือขึ้นโดยแบมือเหยียดตรง ยกขึ้นแตะที่ขอบหมวกหรือกะบังหมวก และปัจจุบันมีการทำวันทยาวุธด้วยกระบี่ คือ ทำจากท่าบ่าอาวุธ และทำจากท่าซึ่งกระบี่สวมในฝัก
การถอดหมวก กรณีการทำพิธีทางศาสนา การเข้าไปในสถานที่เคารพ การกราบไหว้พระพุทธรูป หรือพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น

[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]การเคารพระหว่างเรือต่อเรือ

การแสดงความเคารพ ให้เรือสินค้าชักธงชาติลง 2 ใน 3 เรียกว่า สลุตธง และเรือรบรับสลุตธง ด้วยการชักธงราชนาวีลง 1 ใน 3 อย่างไรก็ดี เมื่อเรือรบผ่านกับเรือสินค้าแล้ว จะต้องระวังการสลุตธงด้วย

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]การยิงสลุต

การยิงสลุตนั้นเป็นการเคารพที่ต้องได้รับตอบนัดต่อนัด คือ ยิงคำนับจำนวนเท่าใด ต้องได้รับตอบจำนวนเท่ากัน เว้นแต่การยิงเคารพผู้บังคับบัญชา ไม่มีการยิงสลุตตอบการแสดงความเคารพด้วยการยิงสลุต จำนวน ๒๑ นัด ตามที่นิยมถือกันเป็นสากล การยิงที่มีจำนวนมากกว่านี้อีก คือ ยิงถึง 101 นัด เรียกว่า “สลุตหลวงพิเศษ”

[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]6[/dropcap]การอวยพรระหว่างเรือ

เรือรบทุกลำไม่ว่าจะเป็นชาติเดียวกันหรือต่างชาติ เมื่อได้มาจอดร่วมอ่าวกันหรือผ่านกันในทะเล และทราบว่า จะต้องจากไปไกลหรือนานวัน ฝ่ายอยู่จะต้องชักธงหรือส่งวิทยุอวยพร “ให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ” ฝ่ายจากไป จะต้องชักธงหรือวิทยุตอบ “ขอบใจ”

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]พิธีวางกระดูกงูเรือ

เป็นพิธีแรกในการสร้างเรือ กระดูกงู คือ “ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง”
พิธี ประกอบด้วย การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงูโดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรก หรือกดปุ่มสวิตซ์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า
ผู้ประกอบพิธี ในประเทศ ควรเป็น ผบ.ทร. หรือผู้ที่ ผบ.ทร. พิจารณาเห็นสมควร ต่างประเทศ ควรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้น ๆ โดยให้กรรมการตรวจการจ้างเป็นผู้เสนอแนะ ทร.
กำหนดพิธี แล้วแต่ฤกษ์

[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]8[/dropcap]พิธีปล่อยเรือลงน้ำ

ก่อนปล่อยเรือลงน้ำจะต้องประกอบพิธีทางศาสนา
พิธี ประกอบด้วย การนำขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ หรือใช้ขวานทองตัดเชือกหัวเรือ
ในประเทศ มีพิธีทางศาสนา ผู้ประกอบพิธี เป็นสุภาพสตรี อาจเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือภริยานายทหารเรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ ทร.พิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ ไม่ว่าเรือนั้นจะสร้างโดย กรมอู่ ทร. รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชน
ต่างประเทศ เป็นสุภาพสตรี อาจเป็นภริยาข้าราชการ ทร. ชั้น พล.ร.อ.ขึ้นไป หรือภริยาเอกอัครราชทูตที่ ทร.พิจารณาเห็นสมควร
กำหนดเวลาทำพิธี แล้วแต่ฤกษ์

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]9[/dropcap]พิธีรับมอบเรือ

เป็นพิธีที่ได้มีขั้นภายหลังจากบริษัทผู้สร้าง หรือกรมอู่ ทร. ได้สร้างเรือเสร็จแล้ว ส่งมอบเรือที่ตนสร้างให้กับกองทัพเรือพิธีรับมอบเรือ รวมไปถึงเรือที่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ได้ให้แก่กองทัพเรือ หรือเรือที่ซื้อมาจากต่างประเทศ
พิธี
ในประเทศ ทหารเดินแถวลงประจำเรือ ชักธงหัว-ท้าย ประธาน ฯ ให้โอวาท มีพิธีทางศาสนา มีการมอบเอกสาร บัญชี ประวัติต่าง ๆ ตลอดจนตัวเรือ การดูแลรับผิดชอบจากผู้สร้างให้ผู้ใช้โดยสมบูรณ์
ต่างประเทศ ทหารเดินแถวลงประจำเรือ มีการชักธงหัว-ท้าย มีการมอบความรับผิดชอบจากผู้สร้าง ให้แก่ทหารประจำเรือ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรือที่ ทร.สั่งสร้างหรือต่างชาติมอบให้
ผู้ประกอบพิธี
ในประเทศ ควรเป็น ผบ.ทร. หรือผู้ที่ ผบ.ทร.พิจารณาเห็นสมควร
ต่างประเทศ ควรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้น ๆ หรือผู้ที่ ผบ.ทร.พิจารณาเห็นสมควร
กำหนดเวลาทำพิธี ไม่กำหนดฤกษ์ยาม

[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]10[/dropcap]พิธีขึ้นระวางประจำการ

เป็นพิธีที่แสดงถึงการรับเรือเข้าระวางประจำการของทางราชการ
พิธี มีการแถว อ่านคำสั่งกระทรวงกลาโหม หรือกองทัพเรือ ทหารเดินแถวลงประจำเรือ ชักธง หัว-ท้าย
ผู้ประกอบพิธี
ในประเทศ  ควรเป็น ผบ.ทร. หรือผู้ที่ ผบ.ทร.พิจารณาเห็นสมควร
ต่างประเทศ  ควรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้น ๆ หากเป็นเรื่องที่สั่งสร้างให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง (กตจ.) เป็นผู้เสนอแนะ ทร. แต่ถ้าเป็นเรือที่ต่างชาติมอบให้ ควรเป็นผู้ที่ ผบ.ทร.พิจารณาเห็นสมควร
กำหนดเวลาทำพิธี ไม่กำหนดฤกษ์ยาม

[/accordion] [/accordions]
วันกองทัพเรือ
การขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีของทางกองทัพเรือ เนื่องในวันกองทัพเรือ 20 พ.ย. 2560 เป็นการแสดงความอาลัย และแสดงออกถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ และเหล่าพสกนิกรนานับประการมาโดยตลอดช่วงรัชสมัย

ดอกไม้ประจำกองทัพเรือ

ดอกประดู่เป็นเสมือนเครื่องหมายที่ใช้แทน “ทหารเรือ” ของเหล่าราชนาวีไทย
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเห็นว่าชีวิตของชาวเรือจะต้องดำเนินไปเหมือนดอกประดู่ คือ ดอกของมันจะค่อยๆ บานและโรยพร้อมกันทั้งต้น เพื่อปลูกฝังชีวิตจิตใจของนายทหารเรือทุกคนและทุกระดับให้มีความรัก ความสามัคคีกัน “ประดู่” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของทหารเรือไทย 3 สัญลักษณ์ คือ
1. กองทัพที่เข้มแข็ง อันประกอบไปด้วย กำลังพลที่มีศักยภาพและวิชาการทางเทคนิคสูง เช่นเดียวกับแก่นของประดู่
2. กองทัพ อันประกอบด้วย กำลังพลที่มีความรักความสามัคคีสูง ดังเช่นดอกประดู่ที่บานและโรยร่วงพร้อมกัน
3. กองทัพที่แสดงออกให้ปรากฎ ด้านสามัคคีธรรม ดังที่เคยได้ใช้ดอกประดู่เป็นเครื่องหมายแทนชั้นยศในชุดลำลองมาแล้ว

[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”] [accordion title=”ยุทธการต่าง ๆ ที่สำคัญของทหารนาวิกโยธินกองทัพเรือ คลิก…” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”]

ยุทธการต่าง ๆ ที่สำคัญของทหารนาวิกโยธินกองทัพเรือ

ยุทธการสามชัย
ปลายปี พ.ศ. 2515 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2516 มีการปฏิบัติการจริง ที่แฝงมาในคำว่า “ฝึก” มีชื่อเป็นทางการว่า “การฝึกร่วม 16” เป็นการปราบในพื้นที่ ภาคเหนือบริเวณ รอยต่อ 3 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และ เลย
ยุทธการผาภูมิ
หลังฝึกร่วม ปี พ.ศ. 2516 ตามแผนยุทธการสามชัย ที่ภูหินร่องกล้าแล้วอย่างได้ผล บก.ทหารสูงสุด ได้มี คำสั่งให้มีการฝึกร่วม ในปี พ.ศ. 2517 อีกครั้งหนึ่ง ตามแผนยุทธการผาภูมิ เพื่อปราบปรามในพื้นที่ดอยผาจิ ซึ่งเป็น พื้นที่รอยต่อของ เชียงราย และน่าน
ยุทธการกรุงชิง
ปี พ.ศ. 2520 กองทัพบก พิจารณา เห็นว่า นาวิกโยธิน สามารถปฏิบัติการบนบกได้ดี จึงได้พิจารณาจัดนาวิกโยธินไปปฏิบัติการปราบปรามใน พื้นที่ กองทัพภาค 4 ในชื่อ “ฉก.นย. 201” หรือ “หน่วยเฉพาะกิจ ทักษิณ”

[/accordion] [/accordions] [accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”] [accordion title=”ประเทศไทยเคยมีแสนยานุภาพทางด้านเรือดำน้ำ คลิก…” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”]

ประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำในปี พ.ศ.2478 กองทัพเรือได้ตกลงสร้างเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ จากอู่ต่อเรือมิตซูบิชิโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล ซึ่งกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำ 2 ลำแรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2480 และต่อมากองทัพเรือจึงได้กำหนดให้วันที่ 4 กันยายนของทุกปีเป็น “วันเรือดำน้ำ”

เรือดำน้ำไทย
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง กองทัพเรือมีการปรับโครงสร้างโดยกระทรวงกลาโหม จากเหตุการกบฏแมนฮัตตัน และได้ลงคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2494 และกองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 กองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ จำนวน 4 ลำ ได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยหลังจากประจำการรับใช้ชาติอยู่เป็นเวลาเกือบ 13 ปี

[/accordion] [/accordions]

กองทัพเรือ.  (2555).  ประวัติกองทัพเรือ.  เข้าถึงได้จาก https://www.navy.mi.th/index.php/history/detail/history_id/73
วันกองทัพเรือ 20 พฤศจิกายน (กองทัพไทย).  (2559).  เข้าถึงได้จาก  https://scoop.mthai.com/hot/5426.html

 

วันกองทัพเรือ Royal Thai Navy Day