AUN-QA

สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ได้จัดส่งบุคลากรเข้าร่วม การประชุมทบทวนแนวทางการดำเนินงานหลังการประเมินคุณภาพภายใน (After Action Review : AAR) ระหว่างหน่วยงานสนับสนุนร่วมกับหลักสูตร/คณะวิชา ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ณ ห้อง 19-1009 ชั้น 10 อาคาร 19  จัดโดยสำนักประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสำนักฯ จำนวน 2 คน ได้แก่ ดร.คมเดช บุญประเสริฐ และ นางพรรณี จิวพุทธิธรรม  วัตถุประสงค์ เพื่อหารือแนวทางพัฒนาการดำเนินงาน และการจัดเตรียมข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนที่สอดคล้องกับเกณฑ์ AUN-QA เพื่อให้หลักสูตรนำข้อมูลไปใช้สำหรับการประเมินคุณภาพภายในต่อไป เพื่อร่วมกันให้ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตที่จะนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป เอกสารการประชุม: คู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับหน่วยงาน มหาวิทยาลัยสยาม 2564 ข้อมูลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ AUN-QA ใน“รายงานการประเมินตนเอง หน่วยงานสนับสนุน SELF-ASSESSMENT REPORT […]

การประชุม: ทบทวนแนวทางการดำเนินงานหลังการประเมินคุณภาพภายใน (After Action Review : AAR) Read More »

สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ได้จัดส่งบุคลากรเข้าร่วม การประชุมทบทวนและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานหน่วยงานสนับสนุนตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์(โปรแกรม Zoom) จัดโดยสำนักประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสำนักฯ จำนวน 3 คน ได้แก่ อาจารย์สุธน สุภาวงศ์ นางพรรณี จิวพุทธิธรรม นางสาวพรพิศ องค์ศรัทธา วัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานสนับสนุนที่จะต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2565 ได้มีการปรับปรุงพัฒนาเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ AUN-QA และสำหรับหน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ ที่ไม่ต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน จะต้องจัดส่งรายงานประจำปี เป็นประจำทุกปีการศึกษา อีกทั้งการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA จำเป็นต้องใช้ข้อมูลการดำเนินงานจากหน่วยงานสนับสนุน เอกสารการประชุม คู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับหน่วยงาน มหาวิทยาลัยสยาม 2564 แผนการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2565 การดำเนินการสำหรับ หน่วยงานสนับสนุน ภายหลังการอบรม หน่วยงานสนับสนุนที่ต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน ของแต่ละหน่วยงาน ตาม คู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับหน่วยงาน

การประชุม: ทบทวนและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนตามเกณฑ์ AUN-QA Read More »

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3  ระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากร เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน 1.      มีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรสำหรับการให้บริการ สำนักฯ มีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการ ไว้ใน “คู่มือปฏิบัติงานแผนกบริการและประชาสัมพันธ์” ซึ่ง สมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการประกอบด้วย ความรู้ความสามารถในการให้บริการแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้ (ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์  ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ภาษาอังกฤษ  เพื่อใช้ประกอบการให้บริการแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการได้) ทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ (ผู้ให้บริการต้องมีทักษะในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการทำงานเป็นทีม เพื่อใช้ประกอบการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ได้) คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดีและมีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) (ผู้ให้บริการต้องไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในการให้บริการผู้ใช้อย่างเท่าเทียมกัน มีความอดทน อดกลั้น มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเสียสละ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน และมีความสุภาพ เรียบร้อย ยิ้มแย้ม มีอัธยาศัยไมตรี กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ) นอกจากการกำหนดสมรรถนะทั้ง 3 ด้านข้างต้น สำนักฯยังได้กำหนด สมรรถนะเฉพาะของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และสมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งในห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย ไว้ด้วย รวมทั้งบรรณารักษ์ ต้องมี “จรรยาบรรณวิชาชีพบรรณารักษ์” และสำหรับบุคลากรที่มิใช่บรรณารักษ์ มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการไว้ในเอกสาร “คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ” ซึ่งอยู่ใน “คู่มือการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานฯ” เอกสารหมายเลข

ระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากร Read More »

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เกณฑ์การประเมินและผลการดำเนินงาน   เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน 1. มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการของหน่วยงานด้านสมรรถนะของบุคลากรผู้ให้บริการ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ได้สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักฯ ด้านบุคลากร/ผู้ให้บริการ โดยได้ประเมินความพึงพอใจในข้อของสมรรถนะต่างๆของบุคลากร/ผู้ให้บริการ ได้แก่ มีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) ยิ้มแย้ม สุภาพ เรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรี กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.86 มีสมรรถนะ ด้านทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.82 มีสมรรถนะ ด้านความรู้ ความสามารถในการให้บริการแนะนำ และช่วยเหลือผู้ใช้ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.89 มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดี ไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในการให้บริการผู้ใช้อย่างเท่าเทียมกัน มีความอดทน อดกลั้น มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความเสียสละ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.80 บุคลากรมีเพียงพอต่อการให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.76 เอกสารหมายเลข 18

การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ Read More »

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1  กระบวนการพัฒนาแผน เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน 1. มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน มีการนำแผนกลยุทธ์ไปเป็นแผนปฏิบัติการ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงาน และได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย       สำนักฯได้จัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของสำนักฯ ตามที่ปรากฎใน “แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564 : หน้า 6” โดยมีกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับ พันธกิจ 4 ด้าน วัตถุประสงค์ 4 ข้อ และเป้าหมายของสำนักฯ 6 ข้อ และมีตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งประกอบด้วยแผนงานและโครงการต่างๆ ที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม กับแผนกลยุทธ์ของสำนักหอสมุดฯ โดยบุคลากรในแต่ละแผนก/งานเป็นผู้นำเสนอแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสำนักฯ ที่ได้กำหนดไว้ ตามที่ปรากฎใน “แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan :

กระบวนการพัฒนาแผน Read More »

สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ได้จัดส่งบุคลากรเข้าร่วมประชุมชี้แจง แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนตามเกณฑ์ AUN-QA และแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2564  จัดโดยสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม จัดอบรมในวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565 เวลา 14.00-16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์(โปรแกรม Zoom) โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 2 คน ได้แก่ อาจารย์สุธน สุภาวงศ์ (ผู้อำนวยการ) และนางพรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพ (QA) ของสำนักฯ วัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานสนับสนุนที่จะต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2564 ได้มีการปรับปรุงพัฒนาเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ AUN-QA และสำหรับหน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ ที่ไม่ต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน จะต้องจัดส่งรายงานประจำปี เป็นประจำทุกปีการศึกษา อีกทั้งการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA จำเป็นต้องใช้ข้อมูลการดำเนินงานจากหน่วยงานสนับสนุน เอกสารการประชุม (ร่าง) เกณฑ์การประเมินหน่วยงาน 2564 ข้อมูลของหน่วยงานสนับสนุนสำหรับการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ AUN-QA ของหลักสูตร การดำเนินการสำหรับ

การประชุม: แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนตามเกณฑ์ AUN-QA Read More »

AUN-QA Overview

การประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance – AUN-QA)-ห้องสมุด-2563 ในส่วนของหน่วยงานสนับสนุน มี Criteria และเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้ Criteria / Requirements Current Practice Evidences AUN 6: Student Support Services (การบริการเพื่อการสนับสนุนนักศึกษา) 6.5 The competences of the support staff rendering student services are shown to be identified for recruitment and deployment. These competences are shown to be evaluated to ensure their continued relevance

AUN-QA-ห้องสมุด-2563 Read More »